สรุปสาระสำคัญของงานวิจัยเล่มที่ 8


องค์การแห่งการเรียนรู้

ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป้นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

ผู้วิจัย: ดิศกุล    เกษมสวัสดิ์

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศุนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

2. เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์

3. เพื่อนำเสนอแนวทางการนำตัวบ่งชี้รวมไปใช้ในการสร้างศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตเนื้อหา

      การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด โดยใช้แนวคิดขององค์ประกอบตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เชิงทฤษฎีของ Senge 1990 Garvin 1993 Marquardt and Reynolds 1994 Marquardt 1996 Pedler et al.1997 Kaiser 2000 ได้แก่ 1)องค์ประกอบหลักด้านการเรียนรู้ประกอบด้วย ระดับการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ ทักษะและวินัยการเรียนรู้และโอกาสในการเรียนรู้ 2) องค์ประกอบหลักด้านองค์การ ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ วิสัยทัศน์องค์การ วัฒนธรรมองค์การ กลยุทธ์องค์การ ภาวะผู้นำ พันธกิจ การดำเนินงานด้านการจัดการ ระบบองค์การ บรรยากาศการทำงาน การจูงใจ การเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การและ 3) องค์ประกอบย่อยการแสวงหาความรู้ ประกอบด้วย การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ การถ่ายโอนความรู้และใช้ความรู้

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

      2.1 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จำนวน 926 คน และเจ้าหน้าที่จำนวน 1,527 คน จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดและศูนย์การบริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดทั่วปะเทศจำนวน 79 แห่ง รวมประชากรผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 2,453 คน ในปีการศึกษา 2549

      2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ผู้อำนวยการศูนยฺบริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดและศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จำนวน 480 คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศุนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดภายใต้กรอบความคิดองค์ประกอบหลักความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 3 องค์ประกอบหลัก และ 20 องค์ประกอบย่อย

วิธีการดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นกำหนดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สร้างเป็นตัวแบบเชิงทฤษฎี(Theorical Model) ความเป้นองคืการแห่งการเรียนรู้ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

         1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความเป้นองค์การแห่งการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ

         2. ศึกษาสภาพการดำเนินงานในบริบทของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในแง่มุมของนโยบาย ยุทธศาสตร์ พันธกิจ และการบริหารงาน

        3. นำแนวคิดของSenge แนวคิดของ Marquardt ผลงานวิจัยของ Kaiser และคนอื่นๆ มาสังเคราะห์เป็นกรอบความคิดเบื้องต้นในความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กำหนดกรอบแนวความคิดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สร้างเป็นตัวแบบเชิงทฤษฎี

       4. นำกรอบแนวคิดองคืประกอบของตัวบ่งชี้ร่างตัวแบบเชิงทฤษฎีผ่านกระบวนการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นจากนักวิชาการในวงการจัดการความรู้ทาง Weblog http://gotoknow.org

       5. ปรับปรุงโครงสร้างกรอบแนวคิดองค์ประกอบตัวบ่งชี้เป็นตัวแบบเชิงทฤษฎีและสร้างแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ

       6. รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในระดับนโยบายของการบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนและกลุ่มนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียนที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษานอกโรงเรียนไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกสาขาการศึกษานอกโรงเรียนหรือการศึกษาผู้ใหญ่ สาขาการบริหารการศึกษา หรือสาขาการวิจัยและวัดผลการศึกษา จำนวน 18 คน ด้วยเทคนิคเดลฟายประยุกต์โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่พัฒนาจากโครงสร้างแนวคิดองค์ประกอบตัวแบบทฤษฎี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย 2 รอบ ในรอบแรกเพื่อให้ผู้เชื่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ พร้อมด้วยข้อเสนอแนะเพิ่มเติมและผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของการจัดหมวดหมู่ตัวบ่งชี้ความถูกต้องและความถุกต้องของสำนวนภาษา รวมถึงการปรับแก้ตามคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รอบที่ 2 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นเดิมหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นในเรื่องความเหมาะสมของตัวบ่งชี้พร้อมด้วยข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลรอบแรกและผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของการจัดหมวดหมู่ตัวบ่งชี้ความถูกต้องและความชัดเจนของสำนวนภาษาโดยผู้วิจัยจะคัดเลือกตัวบ่งชี้ตรงตามเกณฑ์ มีค่ามัธยฐาน 2.50 ขึ้นไป ค่าความแตกต่างระหว่างค่าฐานนิยม และค่ามัธยฐานของตัวบ่งชี้มีค่าไม่เกิน 1.00 ค่าพิสัยควอไทล์ ของตัวบ่งชี้ไม่เกิน 1.50

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์

     1. สร้างเครื่องมือเป็นแบบสอบถามเพื่อสำรวจความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ประกอบด้วย 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ ภูมิหลังทางวิชาการ ได้แก่ วุฒิทางการศึกษา และสาขาที่จบการศึกษา ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ลักษณะแบบสอบถามเป้นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบ Likert

     2. นำเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความชัดเจนของภาษาและปรับแก้ตามข้อเสนอของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แล้วนำแบบสอบถามไปหาคุณภาพของเครื่องมือต่อไป

     3.การพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยดำเนินการ ดังนี้

         3.1 ผู้วิจัยดำเนินการโดยคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เพื่อตรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต้องมีคุณสมบัติดังนี้

               3.1.1 เป้นบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางการบริหารการศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผู้ใหญ่ หรือการศึกษานอกโรงเรียน ปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา จำนวน 3 คน

               3.1.2 เป็นผู้บริหารหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนและมีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาจำนวน 3 คน

        3.2 การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถาม นำแบบสอบถามที่ผ่านการหาค่าความเที่ยวตรงตามเนื้อหาแล้วนำไปทดลองใช้กัลกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเหมือนกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ติงานในสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสระแก้ว ซึ่งมิใช่กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ จำนวน 30 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าอำนาจจำแนก โดยเรียงจากคะแนนสูงไปต่ำแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างรายข้อโดยการทดสอบค่าที(t-test) คัดเลือกข้อที่มีอำนาจจำแนกสูงกว่า 1.75 ไว้ หากข้อใดมีค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดปรับปรุงข้อถามอีกครั้งแล้วหาค่าความเชื่อมั่น โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของแบบสอบถามทั้งฉบับครั้งที่ 1

      4. การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

          4.1 การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

             4.1.1 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2,543 คน ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 79 แห่ง

            4.1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ จำนวน 480 คน ในสถานศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด จำนวน 79 แห่ง ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ดังนี้

                 ขั้นตอนที่ 1 จัดกลุ่มจังหวัด ผู้วิจัยดำเนินการ แบ่งกลุ่มจังหวัดตามภาคต่างๆที่มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ตั้ง 5 ภาค

                 ขั้นตอนที่ 2 สุ่มจังหวัดในภาคต่างๆ โดยการสุ่มอย่างตามสัดส่วนตามภาคต่างๆจำนวนทั่งสิ้น 24 จังหวัด

                ขั้นตอนที่ 3 สุ่งกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดๆละ 20 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 480 คน

               4.1.2.1 ผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงรวม 2 คนและผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ใช้การสุ่มแบบง่าย ได้จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้นจังหวัดละ 5 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน

               4.1.2.2 เจ้าหน้าที่ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจังหวัดละ 15 คน ได้กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 360 คน

              เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีนี้ ต้องใช้ผู้ตอบเท่ากับหรือมากกว่า 100 คน นอกจากนี้ Stevens(1996,p.372)ได้กล่าวว่ากลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบควรใช้อย่างน้อย 5 หน่วยต่อหนึ่งตัวแปร หรือต้องมีจำนวน 5 เท่าของตัวแปร

               4.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

               4.2.1 ผู้วิจัยนำหนังสือจากสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพาไปแจ้งยังศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อขอความร่วมมือในการหาข้อมูลเพื่อการวิจัย

              4.2.2 ผุ้วิจัยทำหนังสือถึงผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายจุดมุ่งหมายและความสำคัญของการวิจัย

              4.2.3 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและทางไปรษณีย์

   การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วน จำนวน 480 ฉบับ

          4.3 การวิเคราะห์ข้อมูล

          4.3.1 การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย นอกจากนี้จะนำผลที่ได้จากแบบสอบถามมาคำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบสหสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้

         4.3.2 การกำหนด น้ำหนักตัวบ่งชี้และรวมตัวบ่งชี้ขั้นตอนการกำหนดน้ำหนักตัวบ่งชี้และรวมตัวบ่งชี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ จะได้ตัวบ่งชี้ย่อยจากนั้นนำมากำหนดน้ำหนักตัวบ่งชี้และทำการรวมตัวบ่งชี้ การกำหนดน้ำหนักกระทำได้โดยการสร้างสเกลองค์ประกอบซึ่งคำนวณได้จากผลคูณระหว่างสัมประสิทธิ์คะแนนองค์ประกอบกับคะแนนมาตรฐานของตัวบ่งชี้

        4.3.3 การตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลเป็นขั้นตอนของการตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดล และกำหนดน้ำหนักตัวแปรย่อยที่ใช้ในการสร้างตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์โมเดลลิสเรลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป AMOS เพื่อหาค่าน้ำหนักตัวแปรย่อยที่ใช้ในการสร้างตัวบ่งชี้และทำการตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลการวิจัยที่เป็นตัวแบบเชิงทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป้นข้อมูลเชิงประจักษ์

            ค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์คือ ค่าสถิติไค-สแควร์(Chi-square) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน(Goodness of Fit Index =GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(Adjusted Goodness of Fit Index = AGFI)

     5. การนำโมเดลตัวบ่งชี้รวมความเป้นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดไปตรวจสอบในภาคสนามที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดทั่วประเทศ 1 จังหวัด และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดต้นแบบดีเด่น 1 จังหวัด รวม 2 จังหวัด โดยการสนทนากลุ่มย่อย(Focus Group) และสรุปเป็นตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ที่เหมาะสมเผยแพร่ต่อไป ทั้งนี้ได้เลือกพื้นที่ภาคตะวันออก โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดต้นแบบดีเด่นปี 2550 ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดที่ไม่ใช่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดต้นแบบดีเด่นปี 2550 คือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชลบุรี

ผลการวิจัยพบว่า

        ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบหลักที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักได้แก่องค์ประกอบหลักด้านการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักด้านองค์การ องค์ประกอบหลักด้านการจัดการความรู้ ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักจะต้องปฏิบัติผ่านตัวแปรที่เป้นองค์ประกอบย่อย ทั้งหมด 20 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป้นองค์การแห่งการเรียนรู้ 80 ตัว

      ตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดประกอบด้วยตัวบ่งชี้ที่เป็นองค์ประกอบหลักรวม 3 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามน้ำหนัก องค์ประกอบจากมากไปหาน้อย ได้แก่ องค์การ การจัดการความรู้ และการเรียนรู้

     ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการทดสอบพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 319417เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้ามาทักทายเยี่ยมผลงานครับ ชื่อผู้วิจัย ท่านอาจารย์ สอนเรานี่เอง ขออ่านอีกรอบนะครับ น่าสนใจมาก

ต้องชื่นชมท่าน ท่านเก่งมากครับ

ทั้งสรุปงานวิจัย ทั้งทำงาน walk rally พักผ่อนบ้างนะครับ เดียวหัวปั่นนะ อิอิ

สุดยอดครับ ส่งงานครบเป็นคนที่ 2....แต่เนื้อหาโดนใจอาจารย์ดิษกุลเป็นคนที่ 1 เก่งจริง ๆ น้องเรา แล้วเวลาที่เหลืออย่าลืมช่วยพี่ ๆ บ้างนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง ให้มีแต่ความสุขตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท