สรุปงานวิจัย เล่ม 3


ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

ชื่อเรื่อง  ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
                สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี
ผู้วิจัย     สุภาวิตา  ทองชิง

พ.ศ.        2551

ความมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จำแนกตามวิชาและขนาดโรงเรียน

1. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการระหว่างครูสอนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ กับวิชาภาษาอังกฤษ

2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการระหว่างครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่

สมมติฐานการวิจัย

ครูสอนวิชาภาษาไทย  วิชาคณิตศาสตร์กับวิชาภาษาอังกฤษ มีประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  แตกต่างกัน

ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา แตกต่างกัน

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ครูสอนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2547 จำนวน 168 คน

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูสอนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2547 จำนวน 117 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan,1970,  pp. 607-609)

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

ตัวแปรต้น

1. วิชาที่สอน

                1.1 วิชาภาษาไทย

                1.2 วิชาคณิตศาสตร์

   1.3 วิชาภาษาอังกฤษ

2. ขนาดโรงเรียน

                 2.1 ขนาดกลาง

                 2.2 ขนาดใหญ่

ตัวแปรตาม

ได้แก่  ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ 8 ด้าน

                 1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

                 2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

                3. การวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน

                 4. การประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา

                 5. การพัฒนาและใช้สื่อ  และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

6. การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้

                 7. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                 8. การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการจำนวน 43ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ และนำมาวิเคราะห์หา

ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อโดยวิธีการหา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมและหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา  ของ ครอนบาค(Cronbach,1990,pp 202-204)-ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .42-.88-ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .97

 

วิธีประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

                การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS FOR WINDOWS

1. วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่เป็นร้อยละ

2. ข้อมูลประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการเป็น      รายข้อ รายด้านและภาพรวมวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน  คะแนนเฉลี่ย(means) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

3. เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูสอนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์

และวิชาภาษาอังกฤษโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี โดยใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

4. เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่โดยการทดสอบค่าที  (t-test)

ผลการวิจัย

1 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำแนกตามวิชาที่สอน โดยรวมและรายด้าน  แตกต่างกัน

อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ยกเว้นด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ (p< .05) โดยครูโรงเรียนขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการสูงกว่าโรงเรียนขนาดกลาง

หมายเลขบันทึก: 319374เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท