ความรู้เกี่ยวกับCAI


มาทำความรู้จักสื่อการเรียนการสอน CAI

สวัสดีค่ะบันทึกที่เขียนเป็นงานที่กำลังเรียนอยู่

              CAI  ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า  “Computer Assisted Instruction”  ซึ่งราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ดังกล่าวเป็นภาษาไทยว่า  “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย”    แต่ผู้คนส่วนใหญ่จะนิยมเรียกว่า  “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” 

               คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI   หมายถึง   สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง   ซึ่งใช้ความสามารถคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสม  อันได้แก่ข้อความ  ภาพนิ่ง  กราฟฟิก  แผนภูมิ  กราฟ  ภาพเคลื่อนไหว  วีดีทัศน์  และเสียง  เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด  โดยที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะนำเสนอเนื้อหาทีละหน้าจอภาพ  โดยเนื้อหาความรู้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของเนื้อหา โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ 

 

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

- ปี ค.ศ. 1950  ศูนย์วิจัยของ IBM   ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านจิตวิทยาจึงนับเป็นจุดเริ่มต้น

- ปี ค.ศ. 1958  มหาวิทยาลัยฟลอริดา  สหรัฐอเมริกา   พัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์

   และสถิติ  พร้อมๆกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์   และ

   ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

- ปี ค.ศ. 1960  มหาวิทยาลัยอิลินอยจัดทำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิศวกรรมศาสตร์

  ภายใต้ชื่อ  n PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI                                                                        

- ปี ค.ศ. 1970  มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในทวีปยุโรป   โดยฝรั่งเศษและอังกฤษเป็นผู้เริ่มต้น                                    

- ปี ค.ศ. 1671  มหาวิทยาลัย Taxas   และ   Brigcam Young   ร่วมกันพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับมินิ 

  คอมพิวเตอร์     โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ภายใต้

  โครงการ  TICCIT - Time - shared Interactive Computer Controlled Information Television            

 

     ลักษณะสำคัญ 4 ประการ   ( 4-I )

 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ   ซึ่งเรียกย่อๆว่า  4-I   คือ

Information    ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญ

Individualized    ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

Interactive    ต้องมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับบทเรียนได้

Immediate Feedback    ต้องให้ผลย้อนกลับโดยทันที         

การนำเสนอเนื้อหาสาระ  (Information)

              มีการนำเนื้อหาสาระมาจัดกระทำและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ      ตามหลักที่สอดคล้องกับแนวคิด  ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบใช้เป็นฐานในการออกแบบ เพื่อให้ผู้เรียนรู้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

 

การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล  (Individualization)

              มีการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมากพอ ที่จะให้ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนรู้แตกต่างกัน  มีอิสระในการควบคุมการเรียนหรือเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได้  โดยมีรายการ  มีปุ่มควบคุมต่างๆ    มีลักษณะการเรียนเนื้อหาแบบโยงใย    หรือสื่อหลายมิติ  (Hypermedia)    หรือข้อความหลากหลาย  (Hypertext)  ให้ผู้เรียนมีอิสระในการสืบไปในบทเรียนด้วยเวลาที่แตกต่างกัน  มีอิสระในการเลือกเนื้อหา  เลือกลำดับของการเรียน  เลือกการฝึกปฏิบัติหรือเลือกการทดสอบที่สอดคล้องกับระดับความสามารถ  และความสนใจของผู้เรียน  หรือมีการออกแบบให้ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน   ต้องผ่านขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกันเป็นต้น

 

การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน  (Interaction)

              มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ ประหนึ่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนอย่างต่อเนื่องตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ออกแบบให้เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด  ซึ่งการอนุญาตให้ผู้เรียนเพียงแค่คลิกเปลี่ยนหน้าจอไปเรื่อยๆทีละหน้า ไม่ถือว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้

 การให้ข้อมูลป้องกลับทันที  (Immediate Feedback)

              CAI  มีการให้ผลป้อนกลับทันที  ซึ่งเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง  และให้ผู้เรียนได้ตรวจความเข้าใจของตน  การให้ผลป้อนกลับมีได้หลายรูปแบบ  เช่น  การบอกว่า  ถูก – ผิด  การให้คำชม  การขอให้ลองคิดดูใหม่  การให้คะแนน  และการประเมินผลการทดสอบ  ถ้าออกแบบกิจกรรมเป็นเกม  ผลป้อนกลับอาจเป็นการแพ้ - ชนะ    ถ้ากิจกรรมเป็นการแก้ปัญหา  ผลป้อนกลับอาจเป็นสภาพที่ปัญหานั้นถูกคลี่คลาย  ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจในความสามารถของตน และเป็นแรงจูงใจภายในให้มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ ปัญหาอื่นๆอีก    ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทางปัญญาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด                                                      

     คุณลักษณะของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.  เป็นสื่อการสอนลักษณะมัลติมีเดีย   ประกอบด้วย   ตัวอักษร  ภาพ  เสียง

2.  สื่อการสอน CAI  แต่ละเรื่องอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

            2.1  หน้านำเรื่อง  (Title Page)

            2.2  การบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียน

            2.3  แบบทดสอบความรอบรู้ในเรื่องที่จะนำเสนอใหม่  (Pretest)

            2.4  การทบทวนความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานของเนื้อหาใหม่ที่จะนำเสนอ

            2.5  การนำเสนอเนื้อหาใหม่

            2.6  กิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

            2.7  มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ  (Feedback)   และการเสริมแรง  (Reinforcement)

            2.8  แบบทดสอบหลังเรียน  (Posttest)

            2.9  การนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ

3.  การนำเสนอข้อมูลในแต่ละจอภาพต้องเร้าความสนใจ   เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนต้องการที่จะศึกษา

     บทเรียนต่อไป

4.  การนำเสนอเนื้อหาใหม่ต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

5.  เนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง  ถูกต้องตามหลักวิชาการ  ใช้ภาษาถูกต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การ

     เรียนรู้

6.  กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนตอบสนอง  ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์  และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์

     กับบทเรียนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนอย่างต่อเนื่อง 

7.  แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน  มีความครอบคลุมและสอดคล้องกับเนื้อหา  และ

     มีปริมาณเพียงพอที่จะประเมินความสามารถของผู้เรียน

8.  มีการออกแบบหน้าจอเหมาะสม  สวยงาม

9.  ขนาด  และสีตัวอักษรชัดเจน  สวยงาม  อ่านง่าย  เหมาะกับระดับผู้เรียน

10. ภาพประกอบเหมาะสม  ชัดเจน  สวยงาม  สอดคล้องกับเนื้อหา

11. เสียงเหมาะสม  ชัดเจน  สอดคล้องกับเนื้อหา

12. การออกแบบปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนต้องง่าย   สะดวก    ผู้เรียนสามารถควบคุมเส้นทางการเดินของ

      บทเรียน  (Navigation)  ไปยังจุดต่างๆได้อย่างเหมาะสม  ง่าย   และสะดวก

13. การให้ข้อมูลป้องกลับ  (Feedback)   และการเสริมแรง  (Reinforcement)  เหมาะสม

 

    ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทได้   ดังนี้

สอนเนื้อหารายละเอียด  (Tutorials)
              โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้ เรียนรู้

เนื้อหา หรือหลักการใหม่ๆด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบระหว่างบทเรียนและนักเรียน  โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอน แล้วตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ ต่อจากนั้นโปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่าจะแสดงเนื้อหาต่อไป  หรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่  หรือจะแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม  และโปรแกรมช่วยสอนนี้ยังรวมถึงวิธีการแนะนำให้นักเรียนตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ด้วยการให้แนวทางแก่นักเรียนเพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง   เช่น  การสอนเนื้อหาเรื่องการหามุมของสามเหลี่ยม

 การฝึกทักษะ  (Drill and Practice)

              หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหารายละเอียดแล้ว  สิ่งจำเป็นคือการมีโอกาสได้ฝึกทักษะ หรือฝึกปฏิบัติซ้ำๆ  เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนแล้วไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว หรือที่เรียกกันว่าใช้ได้โดยอัตโนมัติ  การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการฝึกทักษะได้เป็นที่นิยมกันมาก  เนื่องจากมีความชัดเจนในการนำมาใช้เฉพาะวัตถุประสงค์ นอกจากนี้โปรแกรมการฝึกทักษะยังสร้างได้ง่ายกว่าโปรแกรมการสอนเนื้อหารายละเอียดที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อก่อน  โปรแกรมการฝึกทักษะอาจเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะเฉพาะอย่าง  เช่น  ทักษะการบวกเลขทักษะด้านคำศัพท์  ทักษะการอ่านแผนที่  เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้นิยมใช้กันมากในวิชาคณิตศาสตร์  การเรียนภาษา  หรือภาษาต่างประเทศ  การฝึกทักษะเหล่านี้มักจะใช้คำถามเป็นจำนวนมาก  ซึ่งบางครั้งเรียกว่า  คลังข้อคำถาม (Item Pool)  นอกจากนี้ข้อคำถามที่ดีควรได้ผ่านการวิเคราะห์ค่าสถิติ  เช่น ระดับความยาก-ง่าย  อำนาจจำแนก  เป็นต้น  โปรแกรมการฝึกทักษะที่ดีควรมีการประเมินข้อบกพร่องของนักเรียนว่าจำเป็นต้องฝึกหัดที่ระดับความรู้ระดับใด  และบอกสาเหตุของความบกพร่องในการตอบผิด   เช่น   การฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องของรูปทรง

 การจำลองสถานการณ์ (Simulations) …………………………………………………………………….
              โปรแกรมการจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอนเป็นวิธีการเลียนแบบ หรือสร้างสถานการณ์เพื่อทดแทนสภาพจริงในชีวิตประจำวันสำหรับการเรียนรู้ในชั้น
เรียน  เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเนื่องจากในบางครั้งการฝึกและทดลองจริงอาจมีราคาแพง  หรือมีความเสี่ยงอันตรายสูง  เช่น  การจำลองสถานการณ์การบิน  การจำลองการเกิดปฏิกิริยาของนิวเคลียร์  หรือการจำลองการทำงานของแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น   ซึ่งการจำลองสถานการณ์ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วย   เช่น  การควบคุมเหตุการณ์การตัดสินใจ  การโต้ตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จำลองได้โดยที่ในชีวิตจริงนักเรียนไม่อาจสามารถแสดงปฏิกิริยาเหล่านี้ได้   อย่างไรก็ตามในสถานการณ์จำลองย่อมลดความยุ่งยากซับซ้อนให้น้อยกว่าเหตุการณ์จริง  เช่น  ลดรายละเอียด  ลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น เป็นต้น  และในสถานการณ์จำลองนี้นักเรียน   ต้องแก้ใขปัญหา โดยการเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการด้วยตนเองจนเกิดความเข้าใจในคุณลักษณะต่างๆในที่สุด รวมทั้งการเรียนรู้วิธีการควบคุมเหตุการณ์เหล่านั้น หรือเรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  จุดมุ่งหมายของการใช้โปรแกรมสถานการณ์จำลอง เพื่อช่วยให้นักเรียนได้สร้างรูปแบบการทดสอบเหตุการณ์ต่างๆอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ    เช่น    การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับต่อวงจรไฟฟ้า 

เกมการสอน  (Instructional games) ……………………………………………………………………….
              การใช้โปรแกรมเกมเพื่อการสอนกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ท้าทายความมานะพยายามและสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดยง่าย นอกจากนี้การใช้เกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น เนื่องจากมีภาพ แสง สี เสียง และกราฟิคที่มีการเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้ นักเรียนตื่นตัวอยู่เสมอ รูปแบบของโปรแกรมเกมเพื่อการสอนคล้ายคลึงกับโปรแกรมบทเรียนสถานการณ์จำลอง แต่แตกต่างกันโดยการเพิ่มบทบาทของนักเรียนเข้าไปในการใช้โปรแกรมเกมการสอนด้วย เช่น   เกมการสอนวิชาคณิตศาสตร์

 การสาธิต (Demonstration) ……………………………………………………………………………..
              โปรแกรมการสาธิตมีจุดประสงค์เพื่อสาธิตประกอบการสอน   หรือบรรยายเนื้อหาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  เพื่อช่วยผู้เรียนให้เข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น  เช่น  การเขียนกราฟแสดงรายละเอียด  การสาธิตการเกิดสุริยุปราคา หรือสาธิตการโคจรของดวงดาว เป็นต้น ……………………………………………………

การแก้ปัญหา  (Problem - Solving) …………………………………………………………………………
              เป็นบทเรียนสำหรับใช้เรียนรู้และการคิดแก้ปัญหาการตัดสินใจ โดยมีการกำหนดเกณฑ์ให้แล้วให้นักเรียนพิจารณาตามโปรแกรมนั้น  โปรแกรมเพื่อให้การแก้ปัญหาแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้นักเรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว เพื่อช่วยนักเรียนในการแก้ปัญหา โดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณและหาคำตอบที่ถูกต้องให้  ในกรณีนี้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องช่วยเพื่อให้นักเรียนบรรลุถึงทักษะของการแก้ไขปัญหา โดยการคำนวณข้อมูลและจัดการสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนให้ แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้โปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณ ในขณะที่นักเรียนเป็นผู้จัดการกับปัญหาเหล่านั้นเอง  โปรแกรมลักษณะนี้นักเรียนจะให้ความสนใจและตั้งใจมากถ้าได้รับแรงจูงใจและสิ่งเร้าในการเรียน ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกและเกิดความท้าทายและมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาต่อไป เช่น โปรแกรมการพัฒนาบุคลิกภาพ

การทดสอบ  (Tests) …………………………………………………………………………………………
              การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการทดสอบมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือประเมินผลการเรียนของนักเรียนทั้งก่อนเริ่มเรียน  ระหว่างเรียน และหลังการเรียน  อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอิสระจากการกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วย  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบแบบเดิมๆให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้  โดยอาจจะให้ผลย้อนกลับโดยทันที  หรือประเมินผลหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert System) ………………………………………………………………………..
              ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะ เรื่องโดยใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) และวิธีการฐานความรู้ (Knowledge Base) มาใช้เพื่อจัดเตรียมเก็บข้อมูลและข้อเท็จจริง (Facts) โดยใช้ความรู้และกระบวนการอนุมานในการแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากในระดับที่ต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ กล่าวคือเป็นระบบที่จำลองความสามารถของมนุษย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ลักษณะที่สำคัญของระบบผู้เชี่ยวชาญคือมีความสามารถในการดึงเอาความรู้ที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

    ลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

           บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self Learning)  และควรจัดทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงาน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้  เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน  หรือแบบฝึกปฏิบัติ   แบบทดสอบ

 

             หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอน หรือแต่ละช่วง ควรตั้งคำถาม เพื่อเป็นการทบทวน หรือเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอแก่ผู้เรียน สำหรับการตอบสนองต่อการตอบคำถามควรใช้เสียง หรือคำบรรยาย หรือภาพกราฟิก  เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้  โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจ ในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิดไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง

 

              เกี่ยวกับเรื่องเวลาในการเรียนควรให้อิสระต่อผู้เรียนไม่ควรจำกัดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียนเอง เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย  เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็วก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้

 

    องค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

             โดยทั่วไปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีองค์ประกอบหลักที่คล้ายคลึงกัน คือประกอบไปด้วยข้อความ   ภาพนิ่ง   ภาพเคลื่อนไหว   เสียง   และการเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์

 

ข้อความ
              อาจเป็นตัวอักษร  ตัวเลข หรือเครื่องหมายเว้นวรรค ที่มีแบบ (Style) หลากหลาย มีความแตกต่างกันทั้งตัวพิมพ์ (Font)  ขนาด (size)  และสี (Color)  รูปแบบของตัวอักษรแต่ละแบบยังสามารถส่งเสริม หรือเป็นข้อจำกัดในการแสดงข้อความได้  ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหายังไม่สามารถยึดติดกับรูปแบบของตัวอักษรใดๆเพราะตัวอักษรแบบหนึ่งอาจเหมาะสมในการใช้เป็นหัวเรื่อง ในขณะที่อีกแบบหนึ่งสามารถใช้อธิบายเนื้อหาได้อย่างดี เพราะมีความชัดเจน อ่านง่าย ไม่ต้องใช้สายตามาก ส่วนขนาดของตัวอักษรจะสามารถเลือกใช้เพื่อเขียนหัวเรื่อง  และเนื้อหาให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
 

เสียง
              เสียงที่เราใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 3 ชนิด คือ เสียงพูด (voice)  เสียงดนตรี (Music) และเสียงประกอบ (Sound Effect)   เสียงพูดอาจเป็นเสียงการบรรยาย  หรือเสียงจากการสนทนาที่ใช้ในบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับเสียงดนตรีจะเป็นท่วงทำนองของเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ และเสียงประกอบ ก็คือ เสียงพิเศษที่เพิ่มเติมเข้ามา เช่น เสียงรถยนต์ เสียงร้องของแมว เป็นต้น ในการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นได้อาศัยเสียงช่วยสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียได้มากยิ่งขึ้น อย่างเช่น เมื่อจะสอนเกี่ยวกับลักษณะการวิ่งของเสือ ถ้าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีภาพเคลื่อนไหวของเสือพร้อมกับคำบรรยายบนจอภาพ ผู้เรียนจะไม่สามารถใช้สายตามองภาพเคลื่อนไหวและคำบรรยายได้ในเวลาเดียวกัน แต่ถ้าปรับให้มีภาพเคลื่อนไหวของเสือ และใช้เสียงบรรยายพร้อมกับเสียงประกอบแทน  ก็จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
 

ภาพนิ่ง
              หมายถึง ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ซึ่งภาพนิ่ง อาจเป็นภาพขาวดำ หรือสีอื่นๆก็ได้ อาจมี 2 มิติ หรือ 3 มิติ  โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ ส่วนขนาดของภาพนิ่งก็อาจมีขนาดใหญ่เต็มจอ หรือมีขนาดเล็กกว่านั้น ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีภาพนิ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะมนุษย์ได้รับอิทธิพลมาจากการรับรู้ด้วยภาพเป็นอย่างดี เมื่อครูต้องออกแบบบทเรียนด้วยตนเอง ครูอาจใช้เครื่องมือช่วยวาดภาพในซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและไม่จำเป็นต้องฝึกตนเองให้มีความชำนาญเท่ากับช่างศิลป์ก็สามารถวาดภาพได้ นอกจากนี้ในบางโปรแกรมยังมีภาพกราฟฟิกให้เรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากกกำหนดรูปพื้นฐาน แก้ไขรูปภาพ เคลื่อนย้ายภาพ และสำเนาภาพได้ แต่ข้อจำกัดประการหนึ่งคือภาพนิ่งจะใช้หน่วยความจำมากกว่าข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหลายเท่า

ภาพเคลื่อนไหว

              ช่วยสงเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวอักษร หรือภาพเพียงไม่กี่ภาพ ภาพเคลื่อนไหวมีคุณลักษณะเด่นที่ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ ทั้งการเคลื่อนไหว (Animation) ที่เปลี่ยนตำแหน่งและรูปทรงของภาพ และการเคลื่อนที่ (Moving) ที่เปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งหน้าจอ   แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงของภาพ

 

การเชื่อมโยงแบบปฎิสัมพันธ์

              คือการรับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นตัวอักษร โดยใช้โปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hypermedia ส่วนโปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hyper graphic จะให้ข้อมูลอธิบายเพิ่มเติมด้วยภาพ วิธีการเช่นนี้ผู้เรียนจะใช้เมาส์ชี้แล้วคลิ๊กที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหน้าจอภาพเช่น ที่ภาพปุ่ม ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือบนตัวอักษร ข้อมูลเพิ่มเติมจะปรากฎให้เห็น นอกจากนี้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังมีลักษณะเด่นที่สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)  เพื่อตอบสนองหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ทันที  แต่ผู้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมควรพิจารณาให้โอกาสผู้เรียนในการตอบผิดซ้ำๆอย่างเหมาะสม การให้โอกาสผู้เรียนตอบผิดซ้ำๆ มากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจ ส่วนการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเริมแรงแก่ผู้เรียน อาจทำได้โดยใช้คำกล่าวชมเมื่อผู้เรียนเลือกคำตอบได้ถูกต้อง   แต่ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นกัน 

    ส่วนประกอบในการจัดทำสื่อการสอน

การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการวางแผน  โดยคำนึงถึงส่วนประกอบในการจัดทำ  ดังนี้

 บทนำเรื่อง  (Title)
เป็นส่วนแรกของบทเรียน  ช่วยกระตุ้น  เร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากติดต่อเนื้อหาต่อไป
 

คำชี้แจงบทเรียน  (Instruction)
ส่วนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการใช้บทเรียน การทำงานของบทเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน
 

วัตถุประสงค์บทเรียน  (Objective)
แนะนำ อธิบายความคาดหวังของบทเรียน

 

รายการเมนูหลัก  (Main Menu)
แสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา
 

แบบทดสอบก่อนเรียน  (Pre Test)
ส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน   เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด
 

เนื้อหาบทเรียน  (Information)
ส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน   โดยนำเสนอเนื้อหาที่จะนำเสนอ
 

แบบทดสอบท้ายบทเรียน  (Post Test)
ส่วนนี้จะนำเสนอเพื่อตรวจผลวัดสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
 

บทสรุปและการนำไปใช้งาน  (Summary - Application)
ส่วนนี้จะสรุปประเด็นต่างๆ ที่จำเป็น   และยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน

    การออกแบบหน้าจอของบทเรียน

         เนื่องจากการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการออกแบบหน้าจอจึงเป็นประเด็นสำคัญด้วย  เพื่อดึงดูดความสนใจและช่วยให้จัดรูปแบบการนำเสนอที่สมดุลกันขององค์ประกอบต่างๆบนจอภาพ  เพราะถ้าเนื้อหาถึงจะดีเพียงใดก็ตาม หากหน้าจอไม่ดี หรือไม่ดึงดูดก็ส่งผลต่อการใช้โปรแกรมได้  คุณค่าของสื่อก็จะลดลงด้วย  โดยองค์ประกอบเกี่ยวกับการออกแบบหน้าจอ   ได้แก่ 

ความละเอียดของจอภาพ                                                                                                                                                     ………..ปัจจุบันความละเอียดของจอภาพที่นิยมใช้ จะมีสองค่า คือ 640x480 pixel และ 800x600 pixel ดังนั้นควรพิจารณาถึงความละเอียดที่จะดีที่สุด เพราะหากออกแบบหน้าจอ สำหรับจอภาพ 800x600 pixel แต่นำมาใช้กับจอภาพ 640x480 pixel จะทำให้เนื้อหาตกขอบจอได้ แต่ถ้าหากจัดทำด้วยค่า 640x480 pixel หากนำเสนอผ่านจอ 800x600 pixel  จะปรากฎพื้นที่ว่างรอบเฟรมเนื้อหาที่นำเสนอ

การใช้สี                                                                                                                                                                                  ………...เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนั่งดูและศึกษาบทเรียนได้ดี  ควรใช้สีในโทนเย็น  หรืออาจจะพิจารณาองค์ประกอบร่วมกัน คือ สีของพื้น (Background) ควรเป็นสีขาว, สีเทาอ่อน ในขณะที่สีข้อความควรเป็นสีในโทนเย็น เช่น สีน้ำเงินเข้ม, สีเขียวเข้ม หรือสีที่ตัดกับสีพื้น

คำสำคัญ (Tags): #cai#การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 318737เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อย่าลืมบอกแหล่งที่มา หรือ แหล่งอ้างอิงด้วยนะครับ ;)

ขอบคุณครับ

เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณคะที่ทำให้รู้ประวัติCAI

อ่านแล้ว งง นะเนี่ย thank you ข้อมูล

เก่งมากนะเธอครูแอ่ว สุดยอด

เข้าบล็อกคำหวานด้วยนะครับ

อืม! เพิ่งรู้นะเนี่ย ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ มัวแต่ไปสอน(สาระ)คอมพิวเตอร์อยู่นานเชียว

เนื้อหาดีนะคะ เป็นกำลังใจค่ะ

แล้วเขตไกล้ๆเรามีที่ไหนใช้มั้ย น่าใช้นะ

น่าสนใจดีครับวันหลังจะใช้สอนบ้าง

ดีจ้า เพียบพร้อม สุดยอดเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท