เทคนิคการจัดการคุณภาพ


KM,PM,OD

 การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

                การจัดการความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างความรู้ การประมวล การแลกเปลี่ยนและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในองค์กรมาจัดระบบ และ พัฒนาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดช่องทางการเข้าถึงความรู้ให้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงเพื่อให้บุคลากรนำความรู้ไปพัฒนาการ ปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 

                 ประเภทความรู้  ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน

2. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

                 กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน  

                 ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้

หน่วยงานต้องสำรวจความรู้ที่บุคลากรจำเป็นต้องใช้เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย โดยสำรวจว่า เราต้องการความรู้อะไร และที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่

                 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้
เมื่อสำรวจแล้วเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็ต้องไปแสวงหามาเพิ่มเติมให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ มากที่สุด

                 ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
เมื่อได้ความรู้มาเพียงพอแล้วก็นำมาจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน และจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง เอกสาร หนังสือ เทป วีซีดี เป็นต้น

                 ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้
ต้องนำความรู้ที่จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ไว้แล้วมาทบทวน กลั่นกรอง ให้มีความทันสมัย

                 ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้
ต้องมีการจัดช่องทางเผยแพร่ความรู้ทางช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึง ความรู้ได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง

                 ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
จัดกิจกรรมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ ( Community of Practice หรือ Cop.), การสอนงาน ( Coaching ) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นต้น

                 ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้
กำหนดให้บุคลากรในองค์กรต้องใช้ KM เข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดย อาจกำหนดเป็นนโยบาย จากผู้บริหารขององค์กรก็ได้

การบริหารผลการทำงาน (Performance Management : PM)

                 การบริหารผลการทำงาน  เป็นกระบวนการในการพัฒนาผลการทำงานของแต่ละบุคคลโดยเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อช่วยกำหนดมาตรฐานในการทำงาน การติดตามผลการทำงานและการสอนงาน และสุดท้ายคือการประเมินผลการทำงาน เป็นวงจรที่วนเวียนไป  โดยช่วงเวลาของหนึ่งวงจรโดยปกติคือหนึ่งปี

            วงจรการบริหารผลการทำงานนั้นประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน คือ

                 ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน การจัดตั้งเป้าหมาย ข้อตกลงหรือแผนงาน (Goal Setting หรือ  Performance Planning)

การตั้งเป้าหมายจะเริ่มจากเป้าหมายขององค์กรก่อน แล้วจึงนำมาแยกย่อยออกเป็นเป้าหมายของแต่ละแผนก จากนั้นจึงไปที่เป้าหมายของพนักงานแต่ละคน  การตั้งเป้าหมายที่ดีจะต้องเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถวัดผลได้ มีความท้าทาย และสามารถปฏิบัติได้จริง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กร ตามกรอบของเวลา

                 ขั้นตอนที่ 2 การให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างต่อเนื่อง (Performance Calibration) องค์กรมีช่วงระยะเวลาการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสม่ำเสมอ เป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายครึ่งปี โดยมีหัวข้อที่สำคัญคือ เป้าหมาย ปัญหาและอุปสรรค การสอนงานเพิ่มทักษะ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่พนักงาน

                 ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลงานในช่วงปลายปี (Performance Final Review) การประเมินผลงานเพื่อดูว่า พนักงาน สามารถทำได้ตามแผนที่ตั้งไว้ หรือไม่

 

การพัฒนาองค์การ (Organization Development : OD)

                 การพัฒนาองค์การ (Organization Development) หรือ OD หมายถึง ความพยายามอย่างเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องกัน ในการปรับปรุงสมรรถภาพขององค์การ เพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ ในการขจัดปัญหาภายในองค์การให้หมดไป

-  เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน พัฒนาระบบทั้งองค์กร ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง ไปสู่เป้าหมาย และสนับสนุนวิธีไปสู่เป้าหมาย อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การและความเจริญงอกงามขององค์การ

-  สิ่งบอกเหตุที่จะต้องพัฒนาองค์การ (อาการป่วย) เช่น หลักและวิธีการบริหารงานไม่ดี ทำให้งานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ คนในองค์การขาดแรงจูงใจในการทำงานเฉื่อยชา ทำงานสนองความต้องการของตนมากกว่าองค์กร บรรยากาศในการทำงานเต็มไปด้วยการแข่งขันชิงดีชิงเด่น ขาดความร่วมมือ

คำสำคัญ (Tags): #การจัดการ
หมายเลขบันทึก: 318599เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณคุณสิมาลัย

ตามหารายละเอียด KM มาพบที่นี่ครับ ขออนุญาตแพลนเน็ต เอาไว้อ้างอิงครับ

คุณสิมาลัย....ต้องการ KM พอดีสืบค้นมาเจอในข้อมูลของท่าน ขออนุญาตนำไปอ้างอิงนะคะ......ขอบคุณคะ

ยุทธพงค์(คนอุบลราชธานี)

กำลังหาการจัดการความรู้มาเจอในเวบบอร์ดของคุณสิมาลัย

ขอนำไปใช้นะครับ.....ขอบคุณครับ

ขออนุญาตคุณสิมาลัย........เอาไปอ้างอิงนะค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท