‘รายอ กีตอ’ ในดวงใจของ‘พระสหายแห่งสายบุรี’


อีกหนึ่งความทรงจำท่ามกลางเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้


  ข้อมูลโดย...http://www.voicepeace.org/index.php?option=com_content&view=article&id=463%3A2009-12-04-13-53-41&catid=103%3Athai-&Itemid=95&lang=en

      ใน ห้วงความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังมีเรื่องราวดีๆ ถูกเปิดเผยออกมาให้ได้ยินอยู่เสมอ แต่ที่ดังที่สุดคงไม่พ้นเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของผู้เฒ่าชาวสวนผลไม้แห่ง ลุ่มน้ำสายบุรี  ที่ประสบกับบุรุษนิรนามกลางสวนทุเรียนในพลบค่ำเดือนกันยายน 2535 ก่อนที่เขาจะรู้ว่ามหาบุรุษเบื้องหน้าคือพระเจ้าแผ่นดิน หรือ “รายอ” ที่เคยได้ยินแต่ชื่อ บทสนทนาภาษามลายูถิ่นเกี่ยวกับดินและน้ำไม่กี่ประโยค แต่ก็ทำให้ “วาเด็ง ปูเต๊ะ” หรือ “เป๊าะเด็ง” จดจำได้แม่นยำราวกับเพิ่งผ่านพ้นมาไม่กี่อึดใจ

      ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถ่ายทอดผ่านสื่อทุกวัน คนไทยทั่วประเทศก็ได้รู้จัก “วาเด็ง ปูเต๊ะ” พระสหายแห่งสายบุรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีของชาวมลายูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายหลังจากศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ (ขณะนั้น)ได้เปิดเผยเรื่องราวของพระสหายจากแดนไกลที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยความ รักในองค์รายอของตน หลังจากนั้น ทุกปีก่อนงานเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันาคมหรือเมื่อองค์ในหลวงทรงพระประชวร คนไทยจะคุ้นตากับภาพชายชราสวมกะปิเยาะแบบคนมุสลิม หอบหิ้วเอาผลไม้นานาชนิดมาฝากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่าหัวและพระบรมวงศานุ วงศ์

       ก่อน หน้านี้ไม่กี่แรมเดือน มีข่าวลือสะพัดทั่ว จ.ปัตตานีว่าวาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรีป่วยหนัก แต่ภาพวันนี้ของเป๊าะเด็ง ร่างกายและหน้าตามีน้ำมีนวลขึ้นมาก ดูมีเนื้อมีหนังสมบูรณ์ขึ้น ด้วยเหตุเป๊าะเลิกสูบบุหรี่ใบจากอย่างเด็ดขาด “ไม่เคยเด็ดขาดอะไรขนาดนี้” หลานชายผู้เฒ่าพูดกระเซ้า ทำให้เป๊าะถึงกับหัวเราะด้วยความขวยอาย

“ตอน นั้นป่วยจริง  สุขภาพไม่ดี เพิ่งเลิกบุหรี่ไม่นาน  โรคเกี่ยวกับปอดยังออกอาการ แต่หลังจากไปเยี่ยมในหลวงกลับมา อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เหมือนได้กำลังใจที่ดี คนอื่นไม่รู้แต่เรารู้” เป๊าะเด็งกล่าวเป็นภาษามลายูให้หลานชายแปลให้ฟังช่วง นี้ตรงกับวันรายออีดิ้ลฟิตรี เป๊าะมีความสุขยิ่งขึ้นเมื่อลูก 4 คนพร้อมหลานและเหลนอีกกว่า 10 ชีวิตเดินทางมาเยี่ยมบ้านหลังเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์แห่งบ้านบาเลาะ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ชีวิตประจำวันของเป๊าะเด็งจึงใช้เวลาพูดคุยกระเซ้ากับลูกหลานเสียเป็นส่วน ใหญ่ ส่วนหนึ่งไปดูแลต้นพริกและกอตะไคร้ที่ลงไว้และเติบโตปรกใบเรี่ยดิน กวาดทางมะพร้าวและดูแลลานหน้าบ้านให้สะอาดสะอ้านอยู่เสมอ แต่ที่ขาดไม่ได้ คือการนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์เพื่อติดตามข่าวคราวขององค์ “รายอ กีตอ” หรือ “ในหลวงของเรา” “ขาดไม่ได้  ต้องติดตามว่าพระองค์ท่านมีพระอาการดีขึ้นไหม  ยังเป็นห่วงอยู่เสมอ ไม่ได้ดูนอนไม่หลับ” เป๊าะเด็งบอก

      ผู้ เฒ่าวัย  95 รู้ดีว่า พระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงไม่แข็งแรงดี จำต้องอยู่ในการดูแลของคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาต่อไปอีกสักระยะ สิ่งที่เป๊าะเด็งทำได้ในขณะนี้ จึงเป็นการขอ ‘ดุอาร์’ หรือขอพรจากเอกองค์อัลลอฮฺให้พระพลานามัยของรายอ กีตอแข็งแรงโดยเร็ว “ตอน แรกที่รู้ว่าในหลวงประชวร  ก็เดินไปบอกชาวบ้านที่กำลังละหมาดในมัสยิดว่า ขอให้ทุกคนพร้อมใจกันละหมาดขอพรให้รายอ ทุกคนก็ร่วมกันละหมาดขอดุอาร์ เรารู้สึกตื้นตันใจที่ทุกคนรักในหลวง เชื่อว่าคนไทยทุกคนก็ไม่อยากให้ในหลวงประชวร เพราะทุกคนรักพระองค์ เพราะเป็นพ่อของคนไทยทุกคน” เป๊ะเด็งสื่อสารผ่านล่าม นัยน์ตาฝ้าจางมีน้ำใสๆ เอ่อล้น เป๊าะ เด็งเดินทางไปเยี่ยมในหลวงแล้วเมื่อ 30 ตุลาคม แม้ไม่ได้เจอในหลวง แต่ก็ได้ร่วมลงนามถวายพระพรที่ ร.พ.ศิริราชและนำผลไม้ไปฝากเช่นเคย แต่ผู้เฒ่าแห่งลุ่มน้ำสายบุรีบอกว่า หากผ่านพ้นวันรายอไปสองสองสามวัน จะเดินทางขึ้นกรุงเทพฯ อีกครั้ง เพราะทุเรียนในสวนเริ่มแก่จนใกล้สุกเต็มที เป๊าะเด็งอยากให้ในหลวงได้เสวยทุเรียนของเขา และตั้งใจว่าหากขึ้นไปรอบนี้หากอากาศดีๆ และร่างกายเอื้ออำนวยจะอยู่ให้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม เพื่อจุดเทียนชัยถวายพระพรองค์ราชันที่ท้องสนามหลวงร่วมกับคนไทยทุกคน 

"ที่ มาของสมญานาม “พระสหายแห่งสายบุรี” นั้น นายมนูญ มุกประดิษฐ์ ผู้ติดตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบันทึกไว้เมื่อคราวพระองค์เสด็จพระราช ดำเนินลงพื้นที่ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรีเพื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่เพื่อสร้างโครงการพัฒนาพรุแฆแฆ และเพื่อขุดคลองชลประทานเพื่อการเกษตรและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เมื่อปี 2535"

    ชาย วัยชรานุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อรายหนึ่งเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บอกเป็นภาษามลายูว่า “วันนี้ในหลวงมา  ไม่รู้จะถวายอะไร เพิ่งขายผลไม้ในสวนได้เงินมาสองหมื่นบาท แต่เอาไปซื้อเครื่องสูบน้ำเสียแล้ว ทั้งสวนเหลือแต่ทุเรียนผลเดียว หนำซ้ำยังดิบ” มี เสียงเย้ามาจากข้าราชการที่ตามเสด็จว่าเครื่องสูบน้ำนั่นไง  ยังใหม่อยู่ด้วย ชายชราผู้นั้นจึงบอกว่าให้ถอดขนขึ้นรถไปเลย  เขาขอถวายพระเจ้าอย่าหัว ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล พลอยทำให้ข้าราชการติดตามตื้นตันไปกับน้ำใจของ ‘นายวาเด็ง ปูเต๊ะ’ ผู้เฒ่าชาวสวนยิ่งนัก

     วัน รุ่งขึ้นพระองค์ทรงรับสั่งให้นายวาเด็งพายเรือให้พระองค์ประทับเพื่อสำรวจ คลองสายทุ่งเค็จ พระองค์มีพระราชดำรัสถาม พร้อมเปิดแผนที่เพื่อให้รู้ว่าจะสร้างแหล่งชลประทานอย่างไร ตอนพายเรืออยู่ ในหลวง ตรัสด้วยว่า "ให้วาเด็งทำตัวให้สบาย...มีอะไรที่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ให้เล่ามาตามความจริง " นายวาเด็งจึงกราบทูลในหลวง ว่าเมื่อถึงเวลาหน้าฝน น้ำจะท่วม ทำนาไม่ได้ เมื่อถึงหน้าแล้ง ก็ทำนาไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสถามนายวาเด็งอีกว่าชาวบ้านทำการเกษตรอะไร บ้าง นายวาเด็งตอบว่าชาวบ้านไม่เดือดร้อนอะไร ทุกคนทำการเกษตรตามวิถีชีวิตของคนชนบท คือ ปลูกพืชผักสวนครัว และทำสวนไว้กินกันทุกบ้าน

    จาก นั้น ในหลวง คงจะทรงลองใจนายวาเด็ง จึงตรัสถามขอที่ดินเพื่อทำโครงการพระราชดำริ ด้วยความปลาบปลื้มนายวาเด็งจึงขอยกที่ดินถวายให้พระองค์ทันที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงแย้มพระสรวล และมีพระราชดำรัสว่าให้นายวาเด็งเป็น "พระสหาย" ตั้งแต่บัดนั้น ในหลวง ตรัสเรื่องนี้ว่า "วาเด็งเป็นคนซื่อตรง...จึงขอแต่งตั้งให้วาเด็งเป็นเพื่อนของในหลวง" พร้อมทรงชวนให้นายวาเด็งและภรรยาเดินทางไปเที่ยวที่กรุงเทพฯ และเมื่อพระองค์เสด็จฯ มาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตรัสเรียกให้เข้าเฝ้าที่พระตำหนักทักษิณราช นิเวศน์ทุกครั้ง

     วันนี้ ของนายวาเด็ง  ปูเต๊ะ ยังคงใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเคร่งครัด ด้วยชื่อเสียงและเป็นบุคคลอันเป็นที่เคารพรักของคนสายบุรีและจังหวัดปัตตานี คงจะหาบ้านหลังใหญ่กว่านี้อยู่ได้ไม่ยาก แต่เป๊าะเด็งก็ยังมีความสุขอยู่กับบ้านไม้หลังเก่าแก่อายุเกือบร้อยปีของตน เองกลางสวนผลไม้ และยังเปิดรับแขกเหรื่อไปเยี่ยมเยียนมิได้ขาด

      “มี อย่างเดียวที่อยากให้ช่วย คือมาสร้างส้วมให้หน่อย ตอนนี้แขกไปใครมา ไม่มีสวมให้ใช้ ต้องไปทำธุระในป่า เป๊าะเลยอยากสร้างไว้รับแขกสักหลัง ตอนนี้ซื้ออิฐ ซื้อหิน ปูน กระเบื้องไว้แล้ว แต่ไม่มีใครสร้าง เป๊าะก็ไม่มีแรง ลูกหลานก็นานๆ มาสักที ใครที่มีแรงมีน้ำใจอยากมาสร้างให้เป๊าะก็ขอเชิญ เพื่อประโยชน์ของทุกคนที่เข้ามาหาเป๊าะ” เป๊าะเด็งฝากบอกมาเป็นการทิ้งท้าย

หมายเลขบันทึก: 318209เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2009 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ในหลวงคือแบบอย่างที่ดีที่กระทำกับประชากร ไม่ว่าจะฐานะได เชื้อชาติใด และศาสนาได พระองค์ทำดีตลอด

คนที่คลุกคลีกับประชาชนที่สามจังหวัดนี้ น่าจะถือเป็นแบบอย่างเพื่อนำไปปฏิบัติ ผมคิดว่าความวุ่นวายคงเกิดขึ้นยาก

แวะมาอ่านเรื่องราวน่าประทับใจครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

ในหลวงของเราทรงเป็นแบบอย่างกับการวางตัวจริงๆอยากให้ทุกท่านที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่ทำตามอย่างที่อาจารย์บอกจริงๆ

ขอบคุณมากครับ

P

จารุวัจน์ شافعى

ความประทับใจนี้น่าจะเก็บไว้จนลูกหลานสืบต่อไปในพื้นที่ครับ

สวัสดี คนเช้า ครับ คุณเสียงเล็ก ๆ

เป็นกำลังใจให้..กับอุดมการณ์ ของคุณ นะครับ

...

ขอเก็บบันทึก อันทรงคุณค่านี้ กลับไปอ่านที่บ้านอีกนะครับ

ประทับใจ...กับบันทึกนี้ ครับ

 

 

ขอบคุณมากครับ

P

แสงแห่งความดี

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ...ความทรงจำดีๆมีไว้แบ่งปันครับ ด้วยความยินดีครับ

บัง เดี่ยวเราพา นศ ไปสร้างห้องน้ำที่บ้านลุงวอเด้งไหม

น่าสนใจนะ ร่างกายพร้อมแล้ว

สำหรับงานหนักๆๆ

ขอบใจมากน้อง

P

คนตานี

บังเห็นด้วยนะ...โครงการนี้น่าสนใจไปเมื่อไหร่อย่าลืมวนบ้างนะครับ

ประทับใจมากครับ อยากไปสร้างห้องน้ำกับคนตานีจัง อิอิ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับเรื่องสร้างห้องน้ำ ไปแล้วชวนด้วยนะครับ อิอิ

P

เด็กวิทย์ มอย

เห็นท่านสหายแล้วนึกถึงพ่อค่ะ

ขอบคุณมากครับ

30

อรอุมา กล่อมกลั่น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท