สรุปงานวิจัยเล่ม 3


ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา

ชื่องานวิจัย : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก

ผู้วิจัย: นางสาวพรทิพย์ สระบงกช

ปีที่วิจัย: 2544

วัตถุประสงค์ในการวิจัย:

1. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก

2. เพื่อศึกษาระดับของคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการศึกษากับปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน

4. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์คุณภาพการศึกษาจากปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานและสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง:

1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการครูของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 7,883 คน

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการครูของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก ตามตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างขิงเครจชี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608 – 609) โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล:

            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า  (rating scale) 5 ระดับ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก ตามแบบลิเคิร์ท (Best & Kahn, 1993, pp. 249 – 250) โดยให้น้ำหนักคะแนนดังนี้

                คะแนน 5 หมายถึง ระดับปัจจัย/คุณภาพระดับมากที่สุด

                คะแนน 4 หมายถึง ระดับปัจจัย/คุณภาพระดับมาก

                คะแนน 3 หมายถึง ระดับปัจจัย/คุณภาพระดับปานกลาง

                คะแนน 2 หมายถึง ระดับปัจจัย/คุณภาพระดับน้อย

                คะแนน 1 หมายถึง ระดับปัจจัย/คุณภาพระดับน้อยที่สุด

การสร้างเครื่องมือ: วิธีการสร้างแบบสอบถามมีขั้นตอนดังนี้

                1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา

                2. กำหนดร่างแบบสอบถามให้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาใน 6 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน ให้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ

                3. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเรียนร้อยแล้วให้ประธานกรรมการและกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข

การเก็บรวบรวมข้อมูล:

            ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อขอความอนุเคราะห์ไปยังผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันอออก 8 จังหวัด เพื่อแจกแบบสอบถามไปยังข้าราชการครูในสังกัดแต่ละโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยดำเนินการแจกและเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง ได้แบบสอบถามกลับคืนมาร้อยละ 100

การวิเคราะห์ข้อมูล: ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาดำเนินการตามลำดับดังนี้

                1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนแต่ละฉบับ

                2. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามดังนี้ หาค่าเฉลี่ย (mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เป็นรายข้อและรายด้านของแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มาวิเคราะห์และจัดเรียงลำดับโดยอาศัยเกณฑ์การประเมินดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว, 2535, หน้า 22 -25)

                  ค่า เฉลี่ย                  สรุประดับ

                4.51 – 5.00      ปัจจัย/คุณภาพระดับมากที่สุด

                3.51 – 4.50      ปัจจัย/คุณภาพระดับมาก

                2.51 – 3.50        ปัจจัย/คุณภาพระดับปานกลาง

                1.51 – 2.50      ปัจจัย/คุณภาพระดับน้อย

                1.00 – 1.50      ปัจจัย/คุณภาพระดับน้อยที่สุด      

3. การทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for WINDOWS Version 10.07 โดยวิธีการดังนี้

                3.1 การทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 “ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก” สถิติที่ใช้คือ สหสัมพันธ์อย่างง่าย (simple correlation)

            3.2 การทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 “ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน สามารถทำนายคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออกได้” สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์การทดถอยพหูคูณ แบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)

สรุปผลการวิจัย: จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

                1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เรียงตามลำดับคะแนนความสำคัญดังนี้ 1) ปัจจัยด้านครู 2) ปัจจัยด้านผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านหลักสูตร 4) ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ปัจจัยด้านชุมชน และ 6) ปัจจัยด้านทรัพยากร

                2. คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ (10) ด้าน ปรากว่าเกือบทุกข้อมีคุณภาพการศึกษาในระดับมาก ยกเว้นด้านเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และด้านมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับปานกลาง

                3. คุณภาพการศึกษาโดยรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            4. สมการพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออก ใน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านชุมชน ปรากฏว่ามี  3 ปัจจัยเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด เรียงลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก  ปัจจัยด้านผู้บริหาร และปัจจัยด้านทรัพยากร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณสะสมของ 3 ปัจจัย เท่ากับ .603 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถทำนายคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออกได้ 36.40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำค่าสถิติตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดมาสร้างสมการพยากรณ์ ได้สมการพยากรณ์คุณภาพการศึกษาในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้

                Y = 1.359 + .238 (อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก) + .192 (ผู้บริหาร) + .150 (ทรัพยากร)

           

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปัจจัย
หมายเลขบันทึก: 317958เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท