สรุปสาระสำคัญของงานวิจัยเล่มที่ 5


บทบาทในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา

สหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1

อำนวย   คงสาคร

มหาวิทยาลัยบูรพา

มิถุนายน 2550

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                        1. เพื่อศึกษาบทบาทในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1

                                2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การบริหารและขนาดของโรงเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

                                1. ผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 ได้ทราบถึงบทบาทของการบริหารงานโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จทางการบริหาร

                                2. เป็นข้อมูลนำไปพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                                1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2548 จำนวน 236 คน

                                2. กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการสุ่มตามสัดส่วนแบบแบ่งชั้น จากประชากรที่เป็นครูผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2548 จำนวน 146 คน โดยใช้เกณฑ์กำหนดตัวอย่างตามขนาดโรงเรียนจากตารางประมาณกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                                เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นสำหรับสอบถามคุณลักษณะทางพฤติกรรมผู้บริหารโรงเรียน 5 ขั้นตอน ซึ่งได้แบ่งสอบถามครูโดยจัดอันดับคุณภาพออกเป็น 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน

                                ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการบริหาร เป็นแบบสำรวจรายการ จำนวน 2 ข้อ

                                ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารโรงเรียนโดยอาศัยแนวคิดของเซงเก และมาร์ควอร์ดท์ 5 ประการ คือความคิดเชิงระบบ ความรอบรู้แห่งตน การมีวิสัยทัศน์ร่วม แบบแผนความคิดอ่านและการเรียนรู้ของทีมเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                                ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows โดยเลือกเฉพาะวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้

                                1. ศึกษาพฤติกรรมการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 โดยหาค่าเฉลี่ย(X) และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)

                                2. เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การบริหารและขนาดโรงเรียนประสบการณ์การบริหารโรงเรียนใช้การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                                ตอนที่1 ผลการศึกษาบทบาทในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตบวรวิทย์บางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หาค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อในแต่ละด้านแล้วนำคะแนนเฉลี่ยไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อจัดระดับบทบาทผู้บริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีพฤติกรรมการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความคิดเชิงระบบ ด้านแบบแผนความคิดอ่าน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านความรอบรู้แห่งตนและด้านการเรียนรู้เป็นทีม

                                ตอนที่ 2 ผลการศึกษาเปรียบเทียบบทบาทในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การบริหารและขนาดโรงเรียน โดยการทดสอบค่าที(t-test) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามประสบการณ์การบริหารมีพฤติกรรมการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p‹.05)ในด้านแบบแผนความคิดอ่าน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านความคิดเชิงระบบ ยกเว้นด้านความรอบรู้แห่งตน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                                ผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียนมีพฤติกรรมการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมและด้านการเรียนรู้เป็นทีมและความคิดเชิงระบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p‹.05) ส่วนด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านแบบแผนความคิดอ่านและด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

หมายเลขบันทึก: 317665เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2009 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ครับ....น้องคนนี้ส่งงานเกินนนนน

ไม่เกินตามหัวข้อที่อาจารย์บอกเลยนะ

ผมเห็นด้วยกับพี่ยุทธ นะครับ สงสัย พี่แกจะเบลอ แต่ก็ดีนะครับ ขยันดี จะได้จบไว ๆ

แต่ขอร้องอย่ารีบส่งเล่ม 6 กันนะครับ รอ ๆ เพื่อน ๆ บ้าง ไปพร้อม ๆ กัน

ผมกำลังจะตามไปคิด ๆ ขอเวลา นิ๊สสสส

เบื่อคนขยันมากเลยยยยยยยย

พี่เอ๋ รอๆๆๆๆๆๆๆ ด้วยจ้า

สวย และยังขยันอีก ต้องเกรงใจพี่บ้างนะ พี่ตามไม่ทันแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท