ก้าวผ่านภาวะคุกคามที่ถาโถม ตอนที่ 3


มองในภาพใหญ่ ทำให้นึกถึง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิคของไทยครับ (ใน TQF เรียกว่า มคอ. ๑) ว่าควรมีการกำหนดขึ้นให้ชัดเจนหรือไม่ในเวลาอันสมควรไม่ควรเกินปี ๒๕๕๕

ภาวะคุกคามจาก TQF

     สถาบันผู้ผลิตนักรังสีเทคนิคทุกแห่ง เผชิญภาวะคุกคามเหมือนกันหมด ด้านล่าง ก.ช. ดันขึ้นมา ขณะที่ด้านบน TQF จากกระทรวงศึกษาธิการกดลงมา เกิดแรงอัดเป็นทวีคูณ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 อย่างนี้แบนไหมครับ???

     TQF หรือ TQF:Hed ย่อมาจาก Thai Qualifications Framework for Higher Education หรือเรียกว่า กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของไทย หมายความว่า เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ โดยที่กรอบนี้มุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ผลการเรียนรู้ (learning outcomes) ของนักศึกษาในแต่ละระดับ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง หน้า ๑๗ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒)

     TQF ส่งผลกระทบต่อสถาบันผู้ผลิตทุกแห่ง ทุกสาขา รวมทั้งสาขารังสีเทคนิค ในหลายประการ เช่น รายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร เป็นต้น ทั้งหมดนั้นสถาบันผู้ผลิตต้องจัดทำใหม่ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน

     มองในภาพใหญ่ ทำให้นึกถึง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิคของไทยครับ (ใน TQF เรียกว่า มคอ. ๑) ว่าควรมีการกำหนดขึ้นให้ชัดเจนหรือไม่ในเวลาอันสมควรไม่ควรเกินปี ๒๕๕๕ โดยอาจใช้เวที RT Consortium ที่มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอทุกปีเป็นตัวจักร และประสานแจ้งกระทรวงศึกษาธิการให้รับทราบว่า เราจะใช้เครือข่ายนี้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิคของไทย ซึ่งอาจของบประมาณจากกระทรวงเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ได้ครับ เมื่อมาตรฐานฯจัดทำเสร็จ กระทรวงฯจะได้ประกาศใช้ เพื่อที่สถาบันผู้ผลิตจะได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

handbook

     นอกจากภาวะคุกคามที่กล่าวมาทั้งหมด ยังมีอย่างอื่นๆที่กระทบเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย รวมความแล้ว มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมาย จนอาจทำให้ชาวเราที่อยู่ในสถาบันผู้ผลิตหลายคนออกอาการมึน สมัยเป็นนักศึกษาจะมีคู่มือนักศึกษาเพื่อช่วยนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ก็เลยทำให้นึกถึง ‘’คู่มืออาจารย์” ว่าน่าจะมีบ้างเพื่อลดอาการมึน สำหรับภาควิชารังสีเทคนิคมหิดลได้จัดทำคู่มืออาจารย์ขึ้น เพื่อให้อาจารย์ได้ใช้ศึกษาให้เกิดแนวทางการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

 

อ่าน ก้าวผ่านภาวะคุกคามที่ถาโถม ตอนที่ 2 click
        ก้าวผ่านภาวะคุกคามที่ถาโถม ตอนที่ 4 click
                                                        

 

คำสำคัญ (Tags): #ปรกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 317140เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน อ.มนัส ที่เคารพ

ไม่ทราบว่า คู่มืออาจารย์ สามารถนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้หรือไม่ ครับ เพราะเป็นตัวอย่างที่ดี หากหลักสูตรที่คล้ายคลึงกันสามารถนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อยอด เพื่อพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน พัฒนาเพื่อสู้กับภาวะคุกคามที่อาจารย์นำเสนอได้ยิ่งขึ้น ครับ

รบกวนหารือหัวเรื่อง ที่จะประชุม RT Consortium ที่ขอนแก่น ด้วยครับ คาดว่าจะจัด ปลายเดือนมกราคม 2553 สะดวกหรือไม่ ครับ

สวัสดี อ.ต้อม

คู่มืออาจารย์ที่ภาควิชารังสีเทคนิคมหิดลจัดทำขึ้น มีความเฉพาะตัวอยู่บ้าง เพราะมุ่งเป้าที่อาจารย์ในภาคฯ เรียนอาจารย์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยขอนำเสนอว่า คู่มืออาจารย์ฉบับที่ ๑ ประกอบด้วยอะไรบ้างดังนี้

๑.รายงานการประเมินตนเองปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (ตามมาตรฐาน MUQD)

๒.แผนกลยุทธ์ มหาวิทยาลัย+คณะ

๓.โครงการที่ภาควิชารับผิดชอบในแผนกลยุทธ์

๔.สรุป TQF

๕.หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขารังสีเทคนค ฉบับย่อ

๖.มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ

๗.การคิดชั่วโมงการสอน/ชั่วโมงทำการ

๘.ลักษณะเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน

๙.ดัชนีและเกณฑ์ระดับคุณภาพของการสอน

๑๐.ลักษณะบทความทางวิชาการ/ตำรา/หนังสือ/ผลงานลักษณะอื่นๆ

๑๑.จริยธรรมทางวิชาการ

๑๒.บัญชีรายชื่อวารสารทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

๑๓.มาตรฐานภาระงานของอาจารย์เพื่อทำ Performance Agreement

ประมาณนี้ก่อนครับ เนื้อหาที่อยู่ในคู่มือได้เรียบเรียงแบบสรุปสาระสำคัญจาก ข้อบังคับ และประกาศต่างๆ ซึ่งเป็นภาษากฎหมายให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย สะดวกแก่การอ้างอิงเพื่อการปฏิบัติงานให้เกิดความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ยังจะมีฉบับที่ ๒, ๓, ๔,......ต่อไปตามสถานะการณ์ครับ

เคยได้ยิน "คู่มือมนุษย์" ของหลวงพ่อพุทธทาส อันนี้ "คู่มืออาจารย์" จะเหมือนกันไหม?

พอดีชื่อพ้องกัน แต่ก็น่าจะดีสำหรับอาจารย์ ดีกับนักศึกษา ดีกับชาวบ้านที่ต้องไปเอ๊กซเรย์

ความคิดของอาจารย์ดี น่าเอาไปใช้ในงานรังสีบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท