ยาทางสูติกรรม


ยาทางสูติกรรม

ฤทธิ์ข้างเคียง  (พบได้น้อย  ถ้าให้ตามขนาดที่แนะนำ)

                ความดันโลหิตสูง  เจ็บหน้าอก  ใจสั่น  เห็นภาพหลอน  เวียนศีรษะ  ชัก  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  การรับรสไม่ดี  ตะคริว  หายใจหอบ  หยุดหายใจ  ปัสสาวะเป็นเลือด  เป็นต้น

                ขนาดยาที่ใช้

                รับประทาน   0.2  มิลลิกรัมต่อเม็ด  วันละ  3 – 4  ครั้ง  นาน  2 -  7  วัน

                ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ   ครั้งละ  0.2  มิลลิกรัม  (1  มิลลิลิตร)  หลังรกคลอด

                ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ  ครั้งละ 0.2  มิลลิกรัม  (1  มิลลิลิตร)  หลังรกคลอด  แต่ให้ระมัดระวังในมารดาที่มีความดันโลหิตสูง

การพยาบาล

  1. ให้ยาด้วยความระมัดระวังในมารดาที่มีความดันโลหิตสูง
  2. ควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเมื่อได้รับยา  ให้ยาอย่างระมัดระวังและให้ยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอย่างถูกต้อง
  3. ตรวจวัดสัญญาณชีพ  ทุก  4  ชั่วโมง
  4. สังเกตอาการระหว่างให้ยาถ้าพบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้ยา หรืออาการข้างเคียงของยา รายงาน

แพทย์ทราบ  และให้การดูแลใกล้ชิด

paracetamol

                เป็นยาระงับปวด  เช่น ปวดศีรษะ  ปวดฟัน  ปวดกล้ามเนื้อ  ใช้ลดไข้ (ไข้จากการติดเชื้อไวรัส  โดยเฉพาะในเด็ก)  เป็นยาชนิดไม่เสพติดที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย  เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อยกว่ายาในกลุ่ม  NSAIDs  และแอสไพริน  และให้ผลระงับปวดลดไข้ได้ดี

                ข้อบ่งใช้   ควบคุมอาการปวดศีรษะ  ปวดหู  ปวดประจำเดือน  ปวดข้อ  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดฟัน   ลดไข้จากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส  ใช้ในผู้ป่วยที่แพ้แอสไพริน  มีปัญหาเลือดออก  ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด  โรคเกาต์ 

                การออกฤทธิ์  ยับยั้งการสังเคราะห์  prostaglandins  ในระบบประสาทส่วนกลางได้ดี  แต่ยับยั้งการสร้างสารนี้ที่บริเวณนอกสมองได้น้อยโดยเฉพาะในบริเวณที่เกิดการอักเสบ  ซึ่ง  prostaglandins  เป็นตัวทำให้เกิดการเจ็บปวด  และทำให้เกิดไข้ที่มีผลต่อศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่ฮัยโปธาลามัส  ยานี้ไม่ฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนตัวของ neutrophil จึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่ำมากไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและไม่มีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด  ยาจะออกฤทธิ์สูงสุดในเวลา  30 – 60  นาที  หลังได้รับยา  ถ้าได้รับยาเกินขนาดจะมีพิษต่อตับและไต  จึงไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน  7  วัน

                ขนาดยาที่ใช้

                ผู้ใหญ่และเด็ก (อายุ  12  ปีขึ้นไป)  300 -  600  มิลลิกรัม  วันละ  4 – 6  ครั้ง  หรือ  1,000  มิลลิกรัม วันละ  3 – 4  ครั้ง  ไม่ควรกินยาเกิน  2.6  กรัม ( 8  เม็ด  ขนาด  325  มิลลิกรัม  5  เม็ด  ขนาด  500  มิลลิกรัม )  ต่อวันเป็นระยะเวลานาน 

                เด็ก   ให้ขนาด  10  มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน

                ผลข้างเคียง  (พบได้น้อย  ยานี้ถือว่าเป็นยาที่ไม่มีพิษภัยเมื่อใช้ตามขนาดที่แนะนำ)

  1. ง่วงซึม
  2. แพ้ยา  เช่น  มีผื่น  บวม  เป็นแผลที่เยื่อบุช่องปาก  มีไข้  เป็นต้น
  3. ถ้าให้ยาในขนาดที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดตับวายและถึงแก่ความตายได้
  4. คลื่นไส้  อาเจียน  อ่อนเพลีย  อาการดีซ่าน  ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ  อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การพยาบาล

                ให้การพยาบาลและคำแนะนำผู้ป่วยดังนี้

  1. ควรดื่มน้ำ  เครื่องดื่ม  หรือรับประทานอาหารเหลวบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดความร้อน  ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดหลังรับประทานอาหาร
  2. ไม่ซื้อยารับประทานเองและไม่ใช้ยาเป็นเวลานาน  เพราะอาจทำให้รับประทานยาเกินขนาด  เกิดพิษและอาการข้างเคียง
  3. ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับและผู้ที่ติดแอลกอฮอล์
  4. ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด   ควรได้รับการรักษาโดยการล้างท้อง  และได้รับยา

 N – acetylcysteine  ซึ่งได้ผลดีภายใน  10  ชั่วโมงหลังได้รับยาเกินขนาด

MTV  (Multivitamin )

                เป็นวิตามินรวมใช้เสริมในผู้ป่วยที่ต้องการวิตามินหรือขาดวิตามินต่างๆ

                รับประทาน  ครั้งละ  1   เม็ด  วันละ  2   ครั้ง  หรือตามแพทย์สั่ง

ferrous   fumarate

 เป็นยาเสริมธาตุเหล็ก

                ข้อบ่งใช้   รักษาโรคโลหิตจางชนิดขาดธาตุเหล็ก

                การออกฤทธิ์         ยาเสริมธาตุเหล็กใช้สำหรับรักษาโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กแต่ไม่มีคุณค่าใด ๆ เลยในการใช้รักษาโรคโลหิตจางชนิดอื่น ๆ  

                ธาตุเหล็กไปรวมตัวในเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นตัวนำพาออกซิเจนไปทั่วร่างกาย  การดูดซึมธาตุเหล็กเกิดขึ้นที่ส่วนสั้น ๆ ของทางเดินอาหารคือลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่า  ดูโอดีนัม

ยาเสริมธาตุเหล็กชนิดที่ค่อยๆ ปล่อยธาตุเหล็กออกมา  ควรใช้ในกรณีที่ยาเสริมธาตุเหล็กชนิดธรรมดาทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องเท่านั้น  เนื่องจากยาอาจผ่านเลยส่วนดีโอดีนัมไปก่อนปล่อยธาตุเหล็กออกมา  ดังนั้น  การดูดซึมยาจึงเกิดขึ้นไม่ได้

ขนาดยาที่ใช้

ขนาดการใช้ยาเสริมธาตุเหล็กจะเท่ากันเสมอ  ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็กประเภทใด

ผู้ใหญ่และเด็ก (อายุ  13  ปีขึ้นไป)  2 – 3  มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว  1  กิโลกรัมต่อวัน  แบ่ง  3  มื้อ

หญิงมีครรภ์  วันละ  30  มิลลิกรัม  โดยเป็นปริมาณของธาตุเหล็ก  ห้ามกินพร้อมอาหาร

เด็ก  (อายุ 3 – 12  ปี)  1 – 1.5  มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว  1  กิโลกรัมต่อวัน  แบ่งเป็น  3 -4  มื้อ

เด็ก  (อายุ  6  เดือน – 2  ขวบ)  ให้ได้ถึง  6  มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว  1  กิโลกรัมต่อวัน  แบ่งเป็น 

3 – 4   มื้อ

เด็ก  (อายุต่ำกว่า  2  ขวบ)  10 – 25  มิลลิกรัมต่อวัน  แบ่งเป็น  3 -4  มื้อ

ผลข้างเคียง

  1. ถ้ากินธาตุเหล็กเกินขนาดสามารถทำให้ตายได้
  2. การกินยาเกินขนาดมักจะแสดงอาการหลังกินยาแล้ว  30  นาที  หรือหลายชั่วโมง  อาการที่ปรากฏมีเหน็ดเหนื่อย  อาเจียน  ท้องเดิน  อึดอัดแน่นท้อง  ท้องผูก  เบื่ออาหาร  ชีพจรอ่อนและเต้นเร็ว  และความดันโลหิตต่ำ  อุจจาระสีดำ
  3. ถ้ากินยาขนาดสูงมากจะเกิดอาการช็อก  ปอดบวม

การพยาบาล

  1. การกินยาเสริมธาตุเหล็กและยาที่มีธาตุเหล็ก  ต้องกินเวลาท้องว่างจึงจะให้ผลดีที่สุด  แต่ถ้ากินยาเวลาท้องว่างแล้วเกิดอาการไม่สบายท้อง  ก็ให้กินยาพร้อมอาหาร
  2. แนะนำผู้ป่วยที่ทานยาเสริมธาตุเหล็กว่าจะทำให้มีอุจจาระสีดำได้  แต่ถ้าอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย  อาจแสดงว่ามีการตกเลือดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ได้  ถ้ามีอาการเช่นนี้ให้รีบปรึกษาแพทย์
  3. แนะนำผู้ป่วยไม่ให้เคี้ยวหรือขบเม็ดยา  เพราะจะทำให้ฟันติดสีได้  ถ้าเป็นยาน้ำควรผสมกับน้ำหรือน้ำผลไม้  และดูดด้วยหลอดดูดเพื่อไม่ให้ยาสัมผัสฟัน

 

 

 

 

 

การวางแผนการพยาบาล

 

ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะก่อนคลอดและระยะคลอด

  1. มีการดำเนินการคลอดระยะที่หนึ่งเนิ่นนานเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
  2. ผู้คลอดไม่สุขสบายเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น
  3. ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
  4. ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากระยะที่สองของการคลอดยาวนานและได้รับการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
  5. มีความกลัวและวิตกกังวลเนื่องจากการคลอดยากและได้รับการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
  6. มีโอกาสติดเชื้อของมารดาและทารกเนื่องจากมีการดำเนินการคลอดเนิ่นนาน

 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่  1

        -    มีการดำเนินการคลอดระยะที่หนึ่งเนิ่นนานเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ

ข้อมูลสนับสนุน

  1. ผู้คลอดมีอายุน้อย คือ  อายุ  17  ปี  และตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก
  2. 2.       อายุครรภ์  GA  41+1  wks  by  date  HF  ¾  > สะดือ  estimate  fetal size    3,500    gms
  3. การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี  เมื่อเข้าสู่ระยะ  active  phase  ความนาน (duration) <  40  วินาที

ระยะห่าง (interval)  >  3  นาที   ความตึงตัวของมดลูก  +1  ถึง  +2

  1. เมื่อเข้าสู่ระยะ  active  phase  มีระยะเวลา  > 5   ชั่วโมง  และปากมดลูกเปิด  <  1.2  ซม./ ชม.
  2. การเคลื่อนต่ำของทารกและการเปิดขยายของปากมดลูกไม่ก้าวหน้า
  3. ผู้คลอดมีสีหน้าแสดงถึงความวิตกกังวลและบอกว่ากลัวต่อการคลอดบุตร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้คลอดได้รับการประเมินภาวะมดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  2. เพื่อให้มดลูกมีการหดรัดตัวแรงขึ้น  ถี่ขึ้น  และนานขึ้น  อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. เพื่อให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ

เกณฑ์การประเมินผล

  1. ระยะที่  1  ของการคลอด  ระยะปากมดลูกเปิดช้า (latent  phase)  ครรภ์แรกเฉลี่ย 8  ชม.  แต่ไม่เกิน  20  ชม.
  2. ระยะที่  1   ของการคลอด  ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (active  phase)  ครรภ์แรกไม่เกิน  5  ชม.
  3. มดลูกหดรัดตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ  duration  40 - 60  วินาที  interval  2 – 3  นาที  การตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูก  (intensity)  +3
  4. มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกเพิ่มขึ้น ภายใน  ระยะปากมดลูกเปิดช้า  4  ชม.  ปากมดลูกเปิด 0.3   ซม./ชม.  ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว  2  ชม.  ปากมดลูกเปิด  1.2  ซม./ชม. ในครรภ์แรก

การพยาบาล

  1. แรกรับควรศึกษาประวัติรายงานการฝากครรภ์และซักประวัติเพิ่มเติม เช่น อาการสำคัญที่มาโรง-พยาบาล  ประวัติการตั้งครรภ์  อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์  ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและประวัติเจ็บป่วยของครอบครัวและโรคทางพันธุกรรม เช่น ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  และตรวจร่างกายตามระบบ  เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบต่างๆ และตรวจครรภ์เพื่อประเมินสภาพทารกและขนาดของตัวทารก เพื่อนำไปวางแผนการพยาบาล
  2. ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดโดยใช้ partograph และประเมินความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อพิจารณาความก้าวหน้าของการคลอดในการนำไปวางแผนการพยาบาล
  3. ประเมินซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเข้าสู่ระยะปากมดลูกเปิดเร็วจริง (active  phase)  โดยประเมินจากสิ่งต่อไปนี้ประกอบกัน

3.1    จากการตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิด  2 – 3  ซม. และบางร้อยละ  50  เป็นอย่างน้อย

3.2    มดลูกเคยมีการหดรัดตัวดีมาก่อน  คือ  หดรัดตัวแรงดีทุก  2 -3  นาที  หดรัดตัวนาน  40 – 60  วินาที  และสม่ำเสมอ

  1. ถ้าปากมดลูกยังเปิดน้อย  ถุงน้ำทูนหัวยังไม่แตก  และส่วนนำลงเข้าช่องเชิงกรานแล้ว  กระตุ้นให้ผู้คลอดลุกเดิน  ถ้าลุกเดินไม่ได้ให้เปลี่ยนท่านอน  ท่าที่ช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้นคือท่าศีรษะสูง เพราะการเดินหรือการนอนอยู่ในท่าศีรษะสูง จะทำให้น้ำหนักของทารกและมดลูกตกลงบริเวณปากมดลูก  เป็นการกระตุ้นเฟอร์กูสันรีเฟล็กซ์  มดลูกจึงหดรัดตัวดีขึ้น
  2. ถ้าปากมดลูกเปิดมากขึ้นหรือมีน้ำทูนหัวแตกแล้วให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง  นอนศีรษะสูงและนอนตะแคงซ้าย  เพราะจะทำให้มดลูกหดรัดตัวแรงขึ้น  มีการหดรัดตัวประสานกันดี และช่วยลดการกดทับเส้นเลือด  inferior  vena  cava 
  3. ถ้าผู้คลอดปัสสาวะเต็ม  หรือไม่ได้ปัสสาวะเลยภายใน  2 – 4  ชั่วโมง  ที่ผ่านมาให้กระตุ้นให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะ  อาจต้องสวนปัสสาวะให้ถ้าปัสสาวะเต็มและปัสสาวะเองไม่ได้  เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด  เพราะถ้าปัสสาวะเต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
  4. ถ้าปากมดลูกเปิดไม่มากนักและไม่มีข้อห้ามในการสวนอุจจาระ  ให้สวนอุจจาระให้  ถ้าสวนนานเกิน  12  ชั่วโมงไปแล้ว  อาจสวนซ้ำอีก  เพราะถ้าอุจจาระเต็มลำไส้ส่วนปลายทำให้ไปขัดขวางรีเฟล็กซ์ที่เกี่ยวข้องกับการหดรัดตัวของมดลูก เพราะมีการต่อเนื่องกันระหว่างประสาทที่เลี้ยงมดลูกกับลำไส้ส่วนปลาย
  5. ดูแลให้ผู้คลอดได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ  เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้มดลูกมีการหดรัดตัวดีขึ้น  ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  ให้งดน้ำและอาหารทางปาก  เพราะมีโอกาสที่จะเกิดการคลอดยาวนานหรือคลอดยาก  บางครั้งอาจต้องช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ
  6. ถ้าผู้คลอดเข้าสู่ระยะปากมดลูกเปิดเร็วแล้ว  รวมทั้งปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 3  เซนติเมตร  ขึ้นไป  บางตั้งแต่ร้อยละ  50  ขึ้นไป  และส่วนนำลงสู่เข้าช่องเชิงกราน  ให้เจาะถุงน้ำทูนหัว  ถ้าไม่มีข้อห้ามในการทำเพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
  7. ถ้าเจาะถุงน้ำทูนหัวแล้ว มดลูกยังหดรัดตัวไม่ดีขึ้น ให้รายงานแพทย์ทราบ  ถ้าแพทย์ประเมินแล้วว่าไม่มีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน  และแพทย์สั่งให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก  คือ  ออกซิโตซิน   ให้ดูแลผู้คลอดได้รับยาเร่งคลอดตามแผนการรักษาของแพทย์  เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้นและป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของการได้รับยาเร่งคลอด
  8. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ ทุก  30  นาที  เป็นอย่างน้อยสำหรับระยะที่หนึ่ง และทุก  15  นาที  สำหรับระยะที่สอง  ประเมินเสียงหัวใจทารก  และประเมินความก้าวหน้าของการคลอดได้แก่  การเปิดขยายของปากมดลูก  ระดับส่วนนำ การหมุนภายในของทารก  ทุก 4  ชั่วโมง ในระยะปากมดลูกเปิดช้า  และ ทุก  2  ชั่วโมง  ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ถ้าการคลอดไม่ก้าวหน้าขึ้นให้รายงานแพทย์ทราบ
  9. ดูแลให้ผู้คลอดสุขสบาย  พักผ่อนอย่างเพียงพอ  ลดความวิตกกังวลจากความเจ็บปวด โดยสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้คลอด เพื่อความร่วมมือในการพยาบาลและทัศนคติที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้คลอดซักถาม และควรให้ความรู้เกี่ยวกับการคาดคะเนเวลาคลอด  กระบวนของการคลอด และบอกถึงความก้าวหน้าของการคลอดให้ผู้คลอดทราบ เพราะถ้าผู้คลอดเกิดความวิตกกังวลสูงก็จะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ไม่ประสานกันได้

ประเมินผลการพยาบาล

  1.  ระยะที่  1  ของการคลอด  ระยะปากมดลูกเปิดช้า (latent  phase) ใช้เวลา  4  ชั่วโมง
  2. ระยะที่  1  ของการคลอด  ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (active  phase)  ปากมดลูกเปิดช้าและเปิดขยาย < 1.2  ซม./ชม. แต่หลังจากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก คือ  ออกซิโตซิน และได้รับการเจาะถุงน้ำทูนหัวแล้ว มีความก้าวหน้าของการคลอดเพิ่มมากขึ้น
  3. มดลูกหดรัดตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ  duration  40 - 60  วินาที  interval  2 – 3  นาที  การตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูก  (intensity)  +3

 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2

-          ผู้คลอดไม่สุขสบายเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น

ข้อมูลสนับสนุน

  1. ผู้คลอดทำหน้านิ่วคิ้วขมวด  พลิกตัวไปมาและส่งเสียงร้องครางเสียงดังขณะมดลูกหดรัดตัว
  2. มดลูกหดรัดตัวนาน  45 – 50 วินาที  ระยะห่าง 3 นาที  ความแรง  +2  ใช้มือลูบหน้าท้องเป็นบางครั้ง
  3. ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้คลอดสุขสบายขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้คลอดสามารถเผชิญความเจ็บปวดได้อย่างเหมาะสม

เกณฑ์การประเมินผล

  1. ผู้คลอดพักได้ขณะที่มดลูกคลายตัว  สีหน้าดีขึ้น
  2. สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้เหมาะสม คือ ไม่ส่งเสียงร้องครวญคราง ใช้มือลูบหน้าท้องร่วมกับเทคนิคการหายใจทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว
  3. ให้ความร่วมมือในการรักษาและการพยาบาลในขณะรอคลอด

การพยาบาล

  1. อธิบายถึงสาเหตุของการเจ็บครรภ์ว่าเป็นภาวะปกติ  หลังคลอดแล้วอาการเจ็บครรภ์จะหายไป อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคลอดเพื่อให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้อง  มั่นใจและรู้สึกปลอดภัยในการคลอด ซึ่งการให้ความรู้หรือคำแนะนำใดๆ  ควรทำในขณะที่มดลูกยังหดรัดตัวไม่รุนแรงมากนักเพราะผู้คลอดยังมีสมาธิในการรับฟัง
  2. ประเมินระดับความรุนแรงของความเจ็บปวดที่ผู้คลอดได้รับ   เพื่อให้การช่วยเหลือได้ถูกต้อง  โดยประเมินจากพฤติกรรมของผู้คลอด   ถ้าพบผู้คลอดมีอาการเจ็บปวดรุนแรงมากไม่สามารถใช้วิธีการลูบหน้าท้อง  หรือผ่อนลมหายใจได้  ควรรายงานแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาให้ยาแก้ปวด ซึ่งจะทำให้ผู้คลอดพักผ่อนได้มากขึ้นและลดความอ่อนล้าเมื่อเข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด
  3. ดูแลให้ผู้คลอดใช้เทคนิคการเพ่งจุดสนใจ  ใช้มือลูบหน้าท้องพร้อมกับใช้เทคนิคการหายใจ แบบตื้น  เร็ว  เบา ทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว   และมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้คลอดสามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้  ทำให้ลดการใช้ยาแก้ปวดและยานอนหลับ  และเพื่อให้ผู้คลอดได้พักผ่อนได้  ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ  เป็นการสงวนพลังงานของร่างกายไว้  ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการเบ่งคลอด
  4. ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักผ่อนในท่าที่สบาย  และเปลี่ยนท่าบ่อยๆ อย่างเหมาะสม  จะช่วยให้กล้ามเนื้อเกิดการผ่อนคลาย  และส่งเสริมความก้าวหน้าในการคลอด
  5. ดูแลความสุขสบายทั่วไป   เพื่อลดความเครียดและทำให้สุขสบายขึ้น  เช่น  เช็ดหน้าให้เมื่อมีเหงื่อออก ให้สวมใส่เสื้อ  ผ้าถุงที่สะอาด ไม่อับชื้น  ดูแลจัดผ้าปูที่นอนให้เรียบตึง  สะอาด  ถ้าเลอะต้องหมั่นเปลี่ยนเพื่อให้ผู้คลอดสุขสบายขึ้น  ดูแลความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีมูกหรือน้ำคร่ำไหลออกมา
  6. เปิดโอกาสให้สามีหรือญาติมีส่วนร่วมในการดูแลและให้กำลังแก่ผู้คลอดเพื่อเผชิญกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น โดยแนะนำให้สามีหรือญาติช่วยนวดบริเวณบั้นเอว   ต้นขา  และหน้าขาของผู้คลอดเพื่อกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ให้ทำงานมากขึ้น  จะช่วยให้ผู้คลอดรู้สึกบรรเทาความเจ็บปวดได้
  7. อยู่เป็นเพื่อนให้กำลังใจ พร้อมบอกความก้าวหน้าของการคลอดให้ทราบเป็นระยะ  และให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ยอมรับพฤติกรรม  แสดงความเข้าใจ  ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว  หรือดุว่า  โต้ตอบผู้คลอด  ให้กำลังใจและชมเชยเป็นระยะเมื่อผู้คลอดพยายามควบคุมตนเอง
  8. พูดปลอบโยนและแสดงความเห็นใจในความเจ็บปวดที่ผู้คลอดกำลังเผชิญ คอยซักถามถึงความเจ็บปวด  และความต้องการของผู้คลอดเป็นระยะๆ จะช่วยให้ผู้คลอดรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่ที่ดีจากพยาบาล  เกิดการผ่อนคลายทางด้านจิตใจเกิดความอบอุ่นใจและมีกำลังใจ

ประเมินผลการพยาบาล

  1. ผู้คลอดมีสีหน้าดีขึ้น
  2. พักได้มากขึ้นมีอาการเจ็บครรภ์น้อยลง
  3. ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลมากขึ้น
  4. สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้เหมาะสม  คือ  ไม่ส่งเสียงร้องครวญคราง  ใช้มือลูบหน้าท้องร่วมกับเทคนิคการหายใจทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว

 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3  

-          ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก

ข้อมูลสนับสนุน

  1. การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี  เมื่อเข้าสู่ระยะ  active  phase  ความนาน (duration) <  40  วินาที

ระยะห่าง (interval)  >  3  นาที   ความตึงตัวของมดลูก  +1  ถึง  +2

  1. ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอดเมื่อเข้าสู่ระยะ active  phase 
  2. ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก  คือ  5% D/N/2  1,000 ml  +  Oxytocin  10  unit vein drip start  10 µd/min

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้คลอดและทารกปลอดภัยจากการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
  2. เพื่อให้มดลูกมีการหดรัดตัวแรงขึ้น  ถี่ขึ้น  และนานขึ้น  อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. เพื่อให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ

เกณฑ์การประเมินผล

  1. มดลูกหดรัดตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติตามต้องการคือ  duration  40 – 60  วินาที  interval  2 – 3  นาที Intensity  +3  ไม่มี  hyperstimulation  ซึ่งจะทำให้เกิด tetanic  uterine  contraction
  2. FHS  อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 120 – 160 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ ไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นว่าทารกในครรภ์เกิดภาวะพร่องออกซิเจน เช่น  FHS < 120  ครั้ง/นาที หรือ FHS  > 160  ครั้ง/นาที มีการถ่ายขี้เทาของทารก (meconium  stain)  หรือ  ดิ้นน้อยลง
  3. ทารกเกิดรอด  มารดาปลอดภัย  มีสุขภาพแข็งแรง

การพยาบาล

  1. ประเมินความพร้อมของผู้คลอดก่อนให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก โดยประเมินสภาพของส่วนนำและปากมดลูก  โดยใช้ระบบการให้คะแนนของ  Bishope  scorning  system และประเมินว่าไม่มีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน ถ้าประเมินอย่างถูกต้องก็จะทำให้การชักนำการคลอดประสบผลสำเร็จและปลอดภัยทั้งมารดาและทารก
  2. เตรียมยาให้ถูกต้องตามแผนการรักษาของแพทย์  โดยผสม  5%D/N/2  1,000  ml  +  Oxytocin  10  unit  เขย่าขวดน้ำเกลือจนยากระจายทั่ว  ติดป้ายที่ขวดน้ำเกลือโดยเขียนชื่อและจำนวนยาด้วยหมึกสีแดงให้เห็นชัดเจน เพื่อให้ผู้คลอดได้รับยาที่ถูกต้องตามแผนการรักษาของแพทย์
  3. อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจถึงเหตุผล การช่วยเหลือและประโยชน์หรือผลดีที่ผู้คลอดจะได้รับจากการได้รับยาเร่งคลอดเพื่อลดความวิตกกังวล ผู้คลอดให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลและแนะนำผู้คลอดไม่ให้ปรับจำนวนหยดของยาเอง   เพื่อไม่ให้ผู้คลอดได้รับยามากเกินไปและเกิดอันตรายได้
  4. ให้ยาแก่ผู้คลอดตามแผนการรักษา โดยให้  5%D/N/2  1,000  ml  +  oxytocin  10  unit  หยดเข้าเส้นเลือดดำ  เริ่มให้ยา ที่  10 µd/min  หรือ 10  ml/hr   โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมจำนวนหยดของยาที่ได้รับการตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือแล้ว เพื่อให้ผู้คลอดได้รับยาถูกต้องตามจำนวนที่แพทย์สั่งและสามารถควบคุมจำนวนหยดของยาได้
  5. ในระยะ  15  นาทีแรก  ที่ให้ยา  ต้องเฝ้าดูการหดรัดตัวของมดลูก  เพื่อประเมินความไวของกล้ามเนื้อมดลูกต่อยา  ถ้าปกติให้ประเมินทุก 30  นาที  เป็นอย่างน้อย  และทุกครั้งก่อนและหลังปรับจำนวนหยด  2 – 3  นาที
  6. ปรับเพิ่มจำนวนหยดของยาทุกๆ 15 – 30  นาที  โดยเพิ่มครั้งละ  10 µd/min  จนมดลูกหดรัดตัวดี  คือ  หดรัดตัวนาน (duration)  40 - 60  วินาที   ระยะห่าง (interval)  2 – 3  นาที  และมีความแรงระดับแรง (intensity  +3 ) เพื่อให้มีความก้าวหน้าของปากมดลูกและการเคลื่อนต่ำลงมาของส่วนนำ  ไม่ควรให้ยาเกิน  15  มิลลิยูนิต ต่อนาที  หรือ  50 µd/min  ถ้ายังหดรัดตัวไม่ดีขึ้นให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาปรับเพิ่มอีกหรือไม่   แต่ไม่ควรเกิน 100 µd/min 
  7. ดูแลให้ผู้คลอดงดน้ำและสารอาหารทางปาก และดูแลได้รับสารน้ำทางเส้นเลือดดำ  โดยให้สารน้ำอีกขวดหนึ่งควบคู่ไปกับการให้ยา  เพื่อให้ผู้คลอดได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอและไม่ให้เกิดการอุดตันของเข็มถ้าต้องหยุดให้ยา
  8. ฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ทุกๆ 30 นาที  เป็นอย่างน้อย  เพราะมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่ขึ้น  เลือดที่ไปยังทารกอาจน้อยลงทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้
  9. ตรวจการหดรัดตัวของมดลูกทุกๆ  30  นาที  ถ้ามดลูกมีการหดรัดตัวนานกว่า  90  วินาที  หรือความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าทุก  2  นาที  หรือมี  5  ครั้งใน  10  นาที  ถือเป็น hyperstimulation  ให้หยุดยาทันที เพราะจะทำให้เกิด  tetanic  uterine  contraction  ซึ่งจะเป็นอันตรายทั้งมารดาและทารก  ให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย  ให้ออกซิเจน  4  ลิตรต่อนาที  ฟัง FHS และ  จับ  uterine  contraction  ทุก  5  นาที  และรายงานแพทย์ทราบ
  10. วัดสัญญาณชีพทุก  4  ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้คลอด
  11. ถ้าให้ยากระตุ้นมดลูกอย่างถูกต้องนาน 5  ชั่วโมงแล้ว แต่ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอดให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาหยุดยา และประเมินผู้คลอดอีกครั้งและอาจพิจารณาช่วยคลอดโดยวิธีอื่นต่อไป
  12. ในระยะหลังคลอด  ดูแลให้ผู้คลอดได้รับยาต่ออีกอย่างน้อย  1  ชั่วโมง  เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดี และป้องกันการตกเลือดหลังคลอด

ประเมินผลการพยาบาล 

  1. มดลูกหดรัดตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติตามต้องการคือ  duration  40 – 60  วินาที interval  2 – 3  นาที intensity  +3   ไม่มีภาวะ  tetanic  uterine  contraction
  2. FHS  อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 140 – 156 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ ไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นว่าทารกในครรภ์เกิดภาวะพร่องออกซิเจน  เด็กดิ้นดี
  3. มารดาปลอดภัยจากการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ  ทารกเกิดรอด  สมบูรณ์แข็งแรงดี

 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่  4 

-          ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากระยะที่สองของการคลอดยาวนานและได้รับการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ

ข้อมูลสนับสนุน

  1. มีระยะที่สองของการคลอดยาวนานทำให้มารดาอ่อนเพลีย หมดแรงเบ่ง
  2. ขณะให้เบ่งคลอดผู้คลอดไม่ค่อยมีแรงเบ่ง   จะเบ่งสั้นๆ และเบ่งไม่ถูกต้อง  ไม่มีการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารก
  3. ผู้คลอดครรภ์แรก ปากมดลูกเปิด  10  เซนติเมตร และผู้คลอดเบ่งนาน 1 ชั่วโมง 20 นาที  แล้วแต่ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอดและได้รับการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
  4. อัตราการเต้นของหัวใจทารก  112 – 122  ครั้ง/นาที  ไม่สม่ำเสมอ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้มารดาและทารกปลอดภัยจากการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
  2. เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
  3. เพื่อให้มารดาให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวได้ถูกต้องขณะช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ  

เกณฑ์การประเมินผล

  1. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญกาศ  เช่น  การฉีกขาดของปากมดลูก ช่องทางคลอด  และตกเลือดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอด
  2. อัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ระหว่าง  120  -  160  ครั้ง/นาที  สม่ำเสมอ  ไม่พบขี้เทาในน้ำคร่ำ
  3. ทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต  เช่น ขาดออกซิเจน เลือดออกในสมอง

การพยาบาล

  1. อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจถึงเหตุผลและวิธีการทำคลอด  รวมทั้งประโยชน์หรือผลดีที่ผู้คลอดจะได้รับ   บอกข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการทำคลอด  เพื่อให้ผู้คลอดคลายความวิตกกังวลและให้ความมือในการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสูญญกาศ
  2. อธิบายการปฏิบัติตนขณะทำคลอด  ได้แก่  การเบ่งอย่างถูกวิธีซึ่งผู้คลอดต้องเบ่งขณะมดลูกหดรัดตัวพร้อมกับผู้ทำคลอดออกแรงดึงและสอนเทคนิคการหายใจที่ถูกต้อง  เพื่อให้มารดาให้ความร่วมมือได้ถูกต้อง
  3. จัดเตรียมผู้คลอด  โดยจัดท่า  lithotomy  และทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและฝีเย็บ  เพื่อสะดวกในการช่วยคลอดและป้องกันการติดเชื้อขณะคลอด  สวนปัสสาวะและตรวจภายในซ้ำตรวจท่าและระดับของส่วนนำเพื่อความแน่ใจ
  4. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ให้พร้อม  เตรียมเครื่องดูดสูญญากาศพร้อมทั้งถ้วยสูญญากาศให้เหมาะสมกับขนาดของศีรษะทารก  เครื่องช่วยหายใจและเครื่องช่วยฟื้นคืนชีพทารก เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
  5. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกตลอดระยะที่ทำคลอดและประเมินเสียงหัวใจของทารกทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว  ถ้า  FHS  น้อยกว่า  100  ครั้ง  หรือ  มากกว่า  160  ครั้ง/นาที  แสดงว่าทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน ให้ออกซิเจนแก่ผู้คลอด  4  ลิตรต่อนาที  เพื่อแก้ไขภาวะทารกขาดออกซิเจน
  6. ตัดฝีเย็บของผู้คลอดให้กว้างพอควร  เพื่อป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บขณะทำคลอด  ซึ่งถ้าฝีเย็บฉีกขาดเองจากการคลอดจะทำให้ฝีเย็บบอบช้ำมากและซ่อมแซมยากกว่า
  7. หลังจากผู้ทำคลอดใส่ถ้วยสูญญากาศแล้วต้องต
คำสำคัญ (Tags): #ยาทางสูติกรรม
หมายเลขบันทึก: 317123เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เขียนได้ละเอียดมากๆเลยค่า อ่านแล้วเข้าใจง่าย ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับแนวทางการเขียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท