ระบบคุณภาพ


ระบบคุณภาพ

บริบทการจัดการคุณภาพ

จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมต่างๆทั้งภายในและภายนอกระบบราชการ ทำให้หน่วยงานราชการต่างๆต้องมีการปรับตัวเองตลอดเวลา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้หน่วยงานาชการต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทาง สำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ ( สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้นำเสนอเครื่องมือและเทคนิคในการบริหารจัดการใหม่ๆเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบราชการให้เป็นองค์การที่มีขีดสรรถนะสูง

ระบบคุณภาพ คืออะไร 

คำว่า “คุณภาพ” มีความหมายได้หลายนัย  เช่น

  • คุณภาพ  คือ  ของดี  ของหายาก  ของแพง 
    • คุณภาพ  คือ  มาตรฐานความเป็นเลิศ  ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  มีการพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป  และทำให้เกิดประสิทธิผลและการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด
  • คุณภาพ  คือ   ลักษณะและคุณลักษณะของผลผลิตหรือการบริการทั้งมวลที่ทำให้เกิดผลเป็นไปตามที่ต้องการ

สรุปคุณภาพ  คือ  สิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ  หรือความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) 

จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
 1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายใน โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติการควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)
2.การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000
3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)

 

   PMQA   คืออะไร   ? 

นอเมริกาและในอีกหลายๆประเทศทั่วโลก ได้มีเกณฑ์การกำหนดคุณภาพมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ โดยในอเมริกานั้นมีการมอบรางวัลให้กับองค์การที่สามารถดำเนินได้ตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานเหล่านั้น ( Malcolm Baldrige National Quality Award ) หรือ MBNQA ส่วนในประเทศไทยทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติก็ได้มีการนำเกณฑ์ MBNQA มาปรับเป็นเกณฑ์ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ( Thailand Quality Award ) หรือ TQA  เป็นแนวทางในการยกระดับและพัฒนาองค์การธุรกิจของไทยสู่ความเป็นองค์การชั้นเลิศ  ต่อมาทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)ได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดทำเกณฑ์คุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ( Public Sector  Management Quality  Award ) หรือเรียกย่อๆ ว่า PMQA  เพื่อเป็นแนวทางให้ หน่วยราชการใช้ในการประเมินผลตนเองอันจะนำไปสู่การยกระดับการปฏิบัติงานของภาครัฐ โดยถ้าองค์การใดที่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์เหล่านั้นได้ ระดับที่ดี ย่อมจะเป็นเหมือนกับเครื่องรับรองถึงความเป็นเลิศขององค์การได้ในระดับหนึ่ง 

ที่มา

คำสำคัญ (Tags): #ระบบคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 317099เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท