"ต้นแบบคนดี คนเก่งที่สังคมไทยต้องการ"


"... ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำทุกคนให้เป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่อยู่ที่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ..."

            เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2552  ได้รับฟังการปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ต้นแบบคนดี คนเก่งที่สังคมไทยต้องการ" ของท่านอสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี ในงานประชุมระหว่างส่วนราชการกับสำนักงาน ก.พ. ประจำปี 2552 ที่หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี

 

                          

 

               จึงอยากนำเนื้อหาสาระที่ได้รับฟังมาแบ่งปัน เท่าที่สมองน้อยๆ บันทึกจดจำมาได้  มาเล่าสู่กันฟัง...ดังนี้

                ท่านนายกฯ บอกว่าหัวข้อเรื่องที่จะพูดนี้ เป็นหัวข้อที่ยากที่สุด แต่เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องมีความตระหนักว่ามีความสำคัญมาก 

                บ้านเมืองจะมีความเจริญก้าวหน้าได้ ขึ้นกับ   คน และ ระบบ 

                ระบบ

                -ในระบบของการเมืองไทย ยังมีการปฎิรูปพัฒนาระบบไม่จบสิ้น

                 คน

                 - ข้าราชการ  คือ การเสียสละเพื่อส่วนรวม  ข้าราชการเงินเดือนไม่สูง แต่ได้รับในแง่สวัสดิกการที่ดี  และได้รับความภาคภูมิใจในการทำงานที่เสียสละเพื่อส่วนรวม

                  -ภาพลักษณ์เก่าของข้าราชการ คือ การเป็นเจ้าคน นายคน ราชการยุคเก่า มีอำนาจมาก ภาคส่วนอื่นต้องเดินตาม  แต่ปัจจุบัน ราชการมีบทบาทเชิงการบริการ บริการประชาชน และการบริหารจัดการ  กลับกับเมื่อก่อน ข้าราชการเป็นนาย ปัจจุบัน ข้าราชการต้องรับใช้นาย คือ ประชาชน

                  การค้นหาคนต้นแบบคนดี คนเก่ง

                  คนเก่ง  

                   -ในระบบราชการ เราต้องทำงานกับคน หน่วยงาน องค์กร จำนวนมาก  ยากมากที่ลำพังหน่วยงานเดียวจะผลักดันการทำงาน โดยไม่ต้องพึ่งพา ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ต้องอาศัยจุดแข็งของแต่ละองค์ประกอบ ร่วมกันทำงานจึงจะสำเร็จ 

                   -ไม่ใช่ค้นหาคนเก่งทุกเรื่อง  คนเก่งทุกเรื่องไม่มี  แต่ต้องค้นหาคนที่เก่งมีทักษะที่สอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ตัวเอง  คนที่เก่งเรื่องหนึ่ง ถ้าไปอยู่ไม่ถูกที่ก็อาจไม่เก่ง 

                    -ต้องคำนึงถึงความหลากหลายของมนุษย์  ต้องค้นพบตนเอง ว่ามีความเก่งอะไร  ทุกคนควรมีเวลาสำรวจตัวเอง ว่ามีอะไรเก่งบ้าง จะได้ใช้ประโยชน์ในหน้าที่การงาน 

                     -เชื่อว่า ความเก่ง ทักษะต่างๆ สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ไม่ใช่เกิดจากพรสวรรค์อย่างเดียว ต้องมีพรแสวง  การทุ่มเทเรียนรู้ตลอดเวลา

                    -ประสบการณ์ของนายกฯ เอง  ตอนเป็นเด็ก มีความสนใจการเมือง แต่ไม่ชอบเรื่องสังคม และภาษา ตอนเด็กเงียบมาก ไม่ชอบพูด ไม่ชอบพูดในที่สาธารณะ  ต้องฝึก ค่อยๆฝืนตัวเอง ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ จนทำได้

                     -นอกเหนือจากการค้นพบตนเอง ว่าเก่งอะไร ต้องดูว่าอะไรคือจุดอ่อน แล้วพัฒนา ศึกษาเรียนรู้ ลองทำดู  ทุกวันนี้ นายกฯ ยังต้องศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา

                     -คนที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องเป็นคนที่ ไฝ่รู้  คนคว้าหาความรู้ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันนี้ง่ายมาก สารสนเทศมีมากมาย  เมื่อทำงานเสร็จแล้ว ควรมีเวลาค้นคว้าหาหนังสือ หาความรู้ใหม่ ยังมีอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้ หาทางพัฒนา  อันนี้เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทุกคนจะเป็นคนเก่ง

                      -การสนับสนุนให้เกิดคนเก่ง  ก.พ. มีโครงการอยู่ แต่ต้องทำให้มากขึ้น   นโยบายของรัฐบาล ให้ความสำคัญกับการศึกษา ตั้งแต่เด็กเล็ก ให้เด็กได้มีการค้นพบตัวเอง พัฒนาทักษะ

                      -ยุคนี้การฝึกอบรมมีมาก  แต่หลักสูตรยังไม่ถูกใจ  คนอบรมส่วนใหญ่ ต้องการเกิดเครือข่าย ต้องยอมรับว่าระบบอุปถัมป์ยังมีอยู่ในสังคมไทย     และความก้าวหน้า ตามกฎระเบียบ คุณวุฒิต่างๆ

                      -อยากเห็นการเปิดโอกาสให้การพัฒนามีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การไปศึกษาเรียนรู้ในภาคเอกชน  การให้โอกาสข้าราชการ เรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานอื่น  หลายหน่วยงานต้องทำงานด้วยกัน แต่ยังไม่เข้าใจกัน

                     คนดี

                     -ยิ่งพูดยาก  ถ้าพูดจริงๆ ไม่ยาก ว่าคนดีต้องเป็นคนที่มีจิตใจดีงาน มีคุณธรรม จริยธรรม  นักการเมืองก็มีประมวลจริยธรรม แต่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมากนัก 

                     -จุดใหญ่ของการเป็นคนดี มีจริยธรรม  การประมวลจริยธรรม เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ เท่านั้น ไม่เหมือยกฎหมาย ก็ยังบังคับใช้ยาก  นายกฯ ยังเคยถูกฟ้องผิดจริยธรรม ข้อหา ชอบใส่ร้ายคน  คนที่มีความสามารถ เก่ง  แต่ใช้ในทางที่ผิด จะสร้างความเสียหายมาก โดยเฉพาะภาครัฐ

                      การเป็นคนดี  ให้ยึดถือหลัก  4 ข้อ

                       1.  เมตตาธรรม      

                            -ปฎิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเอื้อาทร ห่วงใย ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแก่คนอื่น ถ้าทำได้สภาวะแวดล้อมการทำงานจะดีขึ้น

                       2. สามัคคีธรรม      

                            -พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำ เรื่อง การรู้รัก สามัคคี เราได้ยินมาเป็นสิบปีแล้ว

                       3. สุจริตธรรม

                             -ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ขาดไม่ได้ในระบบะณณมาภิบาล

                       4. ความเที่ยงธรรม

                             -มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อวิชาชีพ

                     ควรส่งเสริมให้เป็นคุณธรรมประจำชาติ   4 ข้อสั้นๆ นี้ ถ้าทำได้ ก็น่าจะเพียงพอ

                     คำว่า เป็น คนดี เกิดได้ในหลายบริบท  ต้องสามารถแยกแยะได้ระหว่างการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และสาธารณะอื่นๆ  ปัญหาเกิดขึ้น เพราะว่าสิ่งที่เป็นค่านิยม และนามธรรมขัดแย้งกันได้  เช่น

                      -ความกตัญญู เป็นสิ่งที่ดี  แต่เมื่อเข้ามาดำรงบทบาทในหน่วยงาน คนที่มีบุญคุณกับเราทำผิด จะทำอย่างไร ต้องตอบแทนหรือเปล่า

                       -การรักเพื่อฝูง  เป็นสิ่งที่ดี   แต่ถ้าประโยชน์เพื่อนฝูงขัดกัน จะเลือกข้างไหน

                      -การเมืองรณรงค์ให้รับเงินได้ แต่อย่าเลือก  แต่คนรับจะรู้สึกผิด แต่ถ้ารับ แล้วเลือก ก็จะเกิดความเสียหาย

                      -เพราะฉะนั้น คนดี ต้องเป็นอย่างไร  ถึงเวลาต้องรณรงค์ ให้คนสามารถแยกแยะระหว่างคนดีส่วนตัว กับคนดีส่วนรวม  รณรงค์ทำความเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าเรายังก้าวไม่พ้นเรื่องนี้ ก็ไม่มีประโยชน์

                      -ระบบการประเมินต่างๆ  การสร้างตัวชี้วัดต่างๆมากมาย  ถ้าไม่แยกการประเมินให้คะแนน ตัวชี้วัดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์  ถ้าไม่แยกจากตัวบุคคล ไม่มีความหมาย ถ้าตั้งธงไว้ก่อนว่าจะให้ใคร แล้วมากรอกคะแนนตามธงที่ตั้งไว้ 

                      -ความเที่ยงธรรม นกยกฯที่มีต่อหน้าที่ เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกัน  นายกฯ ยังเชื่อในคุณภาพของคนไทย  ถ้ามีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง บ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้า  ต้องมีการพัฒนาตนเอง พัฒนาคนอื่น ให้เป็นคนดี คนเก่ง

                      -สุดท้าย เมื่อเรามีความคิดชัดเจนขึ้น ว่าคนดี คนเก่งเป็นอย่างไร และต้องรักษาคนดี คนเก่งได้ บ้านเมืองจะก้าวสู่ความสำเร็จ 

                      ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                    

"... ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำทุกคนให้เป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่อยู่ที่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ..."

                 

                 

 

นันทา  ติงสมบัติยุทธ์

29 พย.52

 

                 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 316934เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ของต้นแบบคนเก่ง คนดีที่เป็นจะเป็นแบบอย่างของเยาวชนไทยได้นะค่ะ

ขอบคุณมากครับ งานนี้ผมก็ได้เข้าร่วมด้วย

(คนดีเป็นอยู่แล้วครับ แต่คนเก่งพยายามอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท