หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ผู้มีศาสนาอยู่ในหัวใจ (ตอนต่อของกลุ่มสานสามศาสน์)


“...รู้สึกว่าทุกวันนี้ความสุขของคนมันต้องซื้อ เราอยากมีเงิน เราอยากมีความสุขไปดูหนังจ่ายเงิน อยากมีความสุขไปกินอะไรกับเพื่อนเราต้องจ่ายเงิน คือความสุขทุกอย่างมันซื้อด้วยเงิน แม้กระทั่งทำบุญเราก็ต้องจ่ายตังค์ แต่เอ๊ะมันจะมีความสุขอะไรในชีวิตที่เราไม่ต้องจ่ายเงินไหม...”

อ่านตอนก่อน กลุ่มสานสามศาสน์

   ชายร่างกำยำดูท่าทางมีอายุ แต่งกายตามแบบชาวมุสลิมทั่วไป รอต้อนรับอาคันตุกะจากต่างศาสนาที่มาเยือนอย่างนอบน้อม อยู่หน้าอาคารเรียน โรงเรียนท่าอิฐศึกษา อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โรงเรียนการกุศล สังกัดกองนโยบายพิเศษสำนักงานการศึกษาเอกชน ดำเนินการสอนสองหลักสูตรควบคู่กัน คือหลักสูตรอิสลามศึกษาและหลักสูตรสามัญศึกษา นักเรียนเป็นเยาวชนชาวมุสลิมกว่า ๑,๔๐๐ คน เกือบครึ่งเป็นนักเรียนประจำ

   อ.ไพรัช  ผนิชวรนันท์ ผู้จัดการโรงเรียนท่าอิฐ คือชายผู้นั้น ผู้เอาจริงเอาจังและเอาใจใส่ต่อการทำความเข้าใจระหว่างศาสนาของเยาวชนคน มีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าที่จะให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เข้าถึงหลักหรือแก่นของศาสนาที่ตนเองนับถือ มีศาสนาอยู่ในหัวใจ แกนนำคนสำคัญของ “กลุ่มสานสามศาสน์”

   พื้นเพ อ.ไพรัช เป็นคนแถบนี้ เกิดที่ อ.ลาดหลุมแก้ว ในครอบครัวโต๊ะครู นอกจากการเล่าเรียนสายสามัญตามปกติ วันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ โต๊ะครูผู้พ่อ จะส่งไปเรียนศาสนากับครูเก่ง ๆ

    “...พ่อผมเป็นโต๊ะครู ซึมซับศาสนาตั้งแต่เด็ก ช่วงวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ พ่อจะส่งไปเรียนกับครู แต่ละคนนี่ระดับปรมาจารย์ ท่านจะวางแผนให้ผมว่าควรจะเรียนอะไรกับใคร...”

   หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาก้ได้รับทุนให้เรียนจนจบครู รับราชการครูอยู่ระยะหนึ่งจึงโอนไปอยู่ประจำสำนักงานศึกษาธิการ ทำงานอยู่หลายปี เกิดความเบื่อหน่ายระบบเต็มที จึงลาออก ตำแหน่งสุดท้ายคือนักวิชาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี

   ลาออกแล้วเข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนพักหนึ่ง กลับมาเห็นสภาพโรงเรียนที่รอการพัฒนาปรับปรุง ปรึกษากับภรรยาคู่ชีวิตว่าจะอุทิศตนเองให้โรงเรียน เมื่อได้รับความเห็นชอบจึงเข้ามารับหน้าที่บริหารโรงเรียน โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงไม่กี่พันบาท

    “...ผมเดินเข้ามาดูในโรงเรียน โอ้โห !!! นี่มันป่าชัด ๆ เลย กลับไปไปคุยกับเมีย คุยกับแม่ แม่ก็บอกว่าพ่อสั่งไว้ห้ามทิ้งที่นี่ ถามว่าเมียพร้อมหรือยังที่จะรัดเข็มขัด ถึงขนาดต้องเปลี่ยนชีวิต จากเคยสุขสบายตอนรับราชการ มีโน้นมีนี่ มีอะไรต่ออะไร ก็ต้องพลิกเลย แฟนบอกว่าถ้ามันเป็นสิ่งที่อยากทำก็พร้อม...

    ...ปรับตัวเยอะมาก ต้องรัดเข็มขัดเต็มที่ บางคราวถึงขั้นไม่มีข้าวสารจะกรอกหม้อ ได้รับเงินเดือน๖,๕๐๐ บาท แต่อยู่ได้จนกระทั่งทุกวันนี้ ถามว่าอยู่เพราะอะไร ก็เพราะว่าได้เห็นเด็กก้าวหน้าไปในสิ่งที่เราอยากเห็น มันคือกำลังใจในการทำหน้าที่ของเรา...”

   อ.ไพรัช นอกจากจะเป็นกำลังสำคัญของโรงเรียน ที่ช่วยผลักดันให้แกนนำนักเรียนได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกับเยาวชนศาสนิกอื่นตามโครงการศาสนสัมพันธ์ ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์คุณธรรมแล้ว ท่านยังเป็นแกนหลักในการรวมตัวและขับเคลื่อนของกลุ่มสานสามศาสน์ วนิดา ลอยชื่น กล่าวถึง ว่า

    “...อาจารย์ไพรัชนี่เป็นกำลังใจมหาศาลเลยนะ เวลาที่มีปัญหาอะไรก็แล้วแต่แกก็จะปลอบใจว่าทุกอย่างมีทางแก้ไข ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องหวั่น ไม่ต้องวิตก แกเป็นคนที่ปลอบใจตลอดเวลา และก็ชี้ทางออกดี ๆ ให้หลายครั้งหลายคราว แกเหมือนเป็นพี่ช่าย...”

   วนิดา ลอยชื่น หรือ “มิสปุ๊” แกนนำกลุ่มสานสามศาสน์จากศาสนาคริสต์ มีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดทำและดำเนินการโครงการกลับสู่ต้นน้ำ เนื่องจากเป็นผู้บริหารจัดการโครงการ

   พื้นเพวนิดา เป็นคนจังหวัดนราธิวาส เรียนจบมัธยมศึกษาจากบ้านเกิดเข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากเข้าไปสอนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ได้เข้าศึกษาต่อทางด้านศาสนาที่มหาวิทยาลัยแสงธรรม จ.นครปฐม

   วนิดา เดินทางเข้าสู่สายศาสนา เรียนสอนและอุทิศตนเองให้กับศาสนา เนื่องมาจากการตั้งคำถามเกี่ยวกับความสุข พบว่าการศึกษาและใช้ชีวิตทางโลกไม่ใช่คำตอบชีวิต

    “...รู้สึกว่าทุกวันนี้ความสุขของคนมันต้องซื้อ เราอยากมีเงิน เราอยากมีความสุขไปดูหนังจ่ายเงิน อยากมีความสุขไปกินอะไรกับเพื่อนเราต้องจ่ายเงิน คือความสุขทุกอย่างมันซื้อด้วยเงิน แม้กระทั่งทำบุญเราก็ต้องจ่ายตังค์ แต่เอ๊ะมันจะมีความสุขอะไรในชีวิตที่เราไม่ต้องจ่ายเงินไหม...”

   ในระหว่างที่ยังสอนหนังสืออยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี วนิดา ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการที่จัดโดยศูนย์คุณธรรม และเป็นผู้ประสานงานนักเรียนในโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จนเป็นที่มาของการเข้าไปรวมตัวเป็นสมาชิกกลุ่มสานสามศาสน์

   ปัจจุบัน วนิดา ลาออกจากการเป็นครู แต่ยังคงทำงานรับใช้ศาสนา โดยการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานของโบสถ์คาทอลิก ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังคงทำงานเชื่อมโยงอยู่กับกลุ่มสานสามศาสน์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

   แกนนำกลุ่มอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนจากศาสนาพุทธ คือ หลวงพี่กบ หรือ พระมหาปรกฤษณ์ กนฺตสีโล จากวัดดุสิดาราม เชิงสะพานปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ  

   พระมหาปรกฤษณ์ มิได้เข้าร่วมโครงการศาสนสัมพันธ์ ของศูนย์คุณธรรมตั้งแต่แรก แต่ด้วยเหตุที่ต้องประสานงานกับศูนย์คุณธรรม และรับรู้การจัดทำโครงการดังกล่าวด้วยความสนใจ จึงได้รับการนิมนต์ให้เข้าร่วมสังเกตุการณ์จัดกิจกรรม ด้วยมีพื้นฐานทางด้านการกำกับควบคุมมาตรฐาน จึงได้วิจารณ์ผลการดำเนินงานครั้งนั้นอย่างตรงไปตรงมา จนในท้ายที่สุดได้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นที่มาของการรวมตัวกันในนามกลุ่มสานสามศาสน์

   หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ชีวิตก็เป็นดั่งเช่นคนทั่วไป คือการประกอบอาชีพ หารายได้ แสวงความมั่งคั่งให้ชีวิต ในช่วงท้ายของชีวิตฆราวาส ปรกฤษณ์นอกจากจะทำงานในบริษัทเอกชน มีเจ้านายเป็นชาวต่างชาติแล้ว ยังทำธุรกิจระหว่างประเทศควบคู่ไปด้วย เป็นเพราะความไว้วางใจเพื่อนร่วมธุรกิจมากเกินไป จนทำให้ธุรกิจเริ่มมีปัญหา และเป็นสาเหตุที่ทำให้ตนเองประสบความตึงเครียดอย่างหนัก จนกระทั่งมีผู้แนะนำให้บวช

   ปรกฤษณ์ ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุ ๒๗ ปี โดยจำพรรษา ณ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดชุมพร ครั้นบวชแล้วก็สนใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เนื่องจากการศึกษาพระธรรมจากหนังสือพระไตรปิฎกตามคำแนะนำของพระอาจารย์นั้น ซึ่งเต็มไปด้วยศัพท์แสงภาษาบาลี ทำให้ติดขัดด้วยข้อจำกัดด้านภาษาของตนเองที่ไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ จึงตัดสินใจเรียนบาลีอย่างเอาจริงเอาจัง จนกระทั่งเรียนจบหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปรียญธรรม ๕ ประโยค

   ต่อมามีความสนใจเดี่ยวกับด้านจิตวิทยา จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้ารับการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพื่อสะดวกแก่การศึกษาเล่าเรียนจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดดุสิดาราม กรุงเทพฯ ซึ่งความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนในครั้งนี้ได้เป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ในระยะเวลาต่อมา

   ในฐานะผู้ประสานงานจากศาสนาพุทธ พระมหาปรกฤษณ์ ได้ทุ่มเทและได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางกลุ่มอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาและให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน วนิดา ลอยชื่น กล่าวถึงท่านว่า

    “...หลวงพี่กบก็รักท่านเหมือนน้อง มีปัญหาบางทีเราไม่เข้าใจ บางประเด็นมันรุนแรง ก็จะคุยกับหลวงพี่กบได้ ท่านก็จะรับฟังปัญหาตลอด ทำโครงการนี้เหนื่อยหลายครั้ง ท้อหลายครั้ง และก็รู้สึกมันเครียด เพราะว่าเป็นผู้ประสานงานด้วยเครียด ก็มีหลวงพี่กบเป็นกำลังใจให้ดี...”

 

 

หมายเลขบันทึก: 316837เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณที่ได้อ่านต่อ
  • ชื่นชมคนดีของสังคมค่ะ
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ขอสนับสนุนโครงการดีมีประโยชน์ต่อสังคมและเยาชน

ติดตามจากตอนที่แล้ว

ได้รู้จักคนที่กล่าวถึงทั้งสามท่านมากยิ่งขึ้น

ขอชื่นชมค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยม ชื่นชมคนดีของสังคมค่ะ

เป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยม...ในสังคมปัจจุบัน

ขอบคุณค่ะ

ดีเจ้าอ้ายหนาน

มาแอ่วหาเจ้า...^^

อ้ายหนานเกียรติ คือว่า....อ้ายได้ไปเก็บข้อมูลชุมชน รพ.พิจิตร รึป่าว คะ...น้องอยากรู้ค่ะ

อาจารย์ไพรัชนี่เป็นกำลังใจมหาศาลเลยนะ เวลาที่มีปัญหาอะไรก็แล้วแต่แกก็จะปลอบใจว่าทุกอย่างมีทางแก้ไข ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องหวั่น ไม่ต้องวิตก แกเป็นคนที่ปลอบใจตลอดเวลา และก็ชี้ทางออกดี ๆ ให้หลายครั้งหลายคราว แกเหมือนเป็นพี่ช่าย...”

โดนใจมากเลยคะ คนดีของสังคม เอาความดีเป็นที่ตั้ง เอาความเข็มแข็งมาประคองใจ มีความมุ่งมั่น ในตนเอง ในที่สุดก้ประสบผลสำเร็จด้วยความอดทน เพราะต้องรัดเข็มขัดมาก

และมีไหม ความสุขที่ไม่ต้องหาซื้อด้วยเงิน น่าคิดนะคะ

ขอบคุณตัวอย่างคนดีๆมาเป็นแนวทางเสริมตน พัฒนาตนคะ

  • สวัสดีค่ะหนานเกียรติ
  •  แวะมาส่งกำลังใจ และชื่นชมคนดีศรีสังคมค่ะ
  • จะได้เป็นแบบอย่างให้แก่เยาวชนด้วยนะคะ

 

นมัสการ พระอาจารย์ พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) [IP: 118.172.150.203]

สวัสดีครับ

P พี่ครูคิม

P พี่ นาง...มณีวรรณ

P สวัสดีครับ คุณครูmena

P สวัสดีเจ้า น้องอิง ชาดา ~natadee

P สวัสดีครับ คุณน้องพรทั้งหล้า ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

P สวัสดีครับ พี่ สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

P สวัสดีเจ้า พี่ เอื้องแซะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
บันนทึกนี้ผมเล่าถึงกิจกรรมของกลุ่มเมื่อปีที่แล้วครับ
ปีนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทางกลุ่มไปจัดกิจกรรมอีก ว่าจะไปนั่งคุยเพื่อเก็บเรื่องราวดี ๆ มาฝากครับ

น้องพอลล่าเจ้า...
คราวแล้วที่จะไปพิจิตร ปรากฏว่าไม่สบาย จึงโทรไปยกเลิกกับสถานีอนามัย
และบอกว่าจะติดต่อไปใหม่อีกคราวหลังหายป่วย
ต้ังใจว่าจะไปสัปดาห์หน้าครับ

 

สวัสดีค่ะ

- ขอบคุณที่แวะทักทาย"ภาพถ่ายติดบัตร"ค่ะ

- "ความสุขที่แท้จริงไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างเอง" ..ความสุขที่ไม่ได้ซื้อคือความสุขอยู่ที่ใจมั้งคะ..

- ได้แวะไปอ่าน blog ของคุณหนานเกียรติบ้างแล้ว ชื่นชมแนวคิดค่ะ

                  

                                แวะมาทักทาย  สบายดีนะคะ

   

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านบันทึก แล้ว
  •  มีสาระมีประโยชน์ ได้ข้อคิดดีๆ
  •  สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
  •  ขอบคุณมากๆค่ะ

                             คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ทุกศาสนาล้วนเป็นพี่น้องกันครับ

ชื่นชมบันทึกดีๆ สมานฉันท์ และคนดีครับพี่

 

P สวัสดีครับ อาจารย์ นิตยา เรืองแป้น

สวัสดีค่ะ
- ขอบคุณที่แวะทักทาย"ภาพถ่ายติดบัตร"ค่ะ
- "ความสุขที่แท้จริงไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างเอง" ..ความสุขที่ไม่ได้ซื้อคือความสุขอยู่ที่ใจมั้งคะ..
- ได้แวะไปอ่าน blog ของคุณหนานเกียรติบ้างแล้ว ชื่นชมแนวคิดค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ...
ขอบคุณที่ชมด้วยครับ
แวะมาเรื่อย ๆ นะครับ

 

P สวัสดีครับ คุณ วิไล วิไล บุรีรัตน์ 

แวะมาทักทาย  สบายดีนะคะ

ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
สบายดีครับ

 

P สวัสดีครับ คุณครูบันเทิง

สวัสดีค่ะ สบายดีน่ะ

 ขอบคุณครับ สบายดีครับ

 

 
 
 

P สวัสดีครับ คุณกานต์

สวัสดีค่ะ
- แวะมาอ่านบันทึก แล้ว 
- มีสาระมีประโยชน์ ได้ข้อคิดดีๆ 
- สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 
- ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
ดีใจที่ชอบครับ
แวะมาเยี่ยมบ่อย ๆ นะครับ

 

P สวัสดีครับ อ.เสียงเล็กๆ فؤاد

ทุกศาสนาล้วนเป็นพี่น้องกันครับ
ชื่นชมบันทึกดีๆ สมานฉันท์ และคนดีครับพี่

ใช่ครับ "ทุกศาสนาล้วนเป็นพี่น้องกัน"
ผมมีเพื่อนต่างศาสนาจำนวนมากเลยครับ ทั้งมุสลิม คริสต์ และผี
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

 

ยาว จะกลับมาอ่านใหม่ คืนนี้ขอนอนก่อนค่ะ

 

P สวัสดีครับ คุณครู มนัสนันท์

แหะ แหะ กลับมาเร็ว ๆ นะครับ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท