วิจัยเด็กซึมเศร้า


ปัญหาและสาเหตุ

ชื่อเรื่อง วิจัยเรื่องเด็กซึมเศร้า

วัตถุประสงค์

1. เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการซึมเศร้า

2. เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรม

3. เพื่อประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและการเรียนรู้ของเด็ก

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

1. แบบสังเกตพฤติกรรม

2. แบบบันทึกการสัมภาษณ์

ขอบเขตของการวิจัย

เด็กหญิงปนัดดา มหาหมาด (น้องตุ้ยนุ้ย) นักเรียนชั้นปฐมวัย 2 โรงเรียนเทศบาล

บูรพาพิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547

 

วิธีดำเนินการวิจัย

1. บอกสาเหตุ สอบถามข้อมูล ประวัติของน้องตุ้ยนุ้ยจากพี่สาวที่เรียนอยู่

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และพ่อของน้องตุ้ยนุ้ย

ข้อมูล

1. เด็กหญิงปนัดดา มหาหมาด เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 อายุ 3 ปี6 เดือน น้ำหนัก 12 กิโลกรัม ส่วนสูง 97 เซนติเมตร ไม่มีโรคประจำตัว

2. สังเกตอาการและพฤติกรรม คุณครูจะทำการสังเกตอาการและพฤติกรรมของ

น้องตุ้ยนุ้ย ตั้งแต่พ่อมาส่งถึงโรงเรียน จนถึงเวลาเลิกเรียนโดยทำการบันทึกอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออก

3. คุณครูพยายามสร้างความคุ้นเคยด้วยการทักทายพูดคุยเล่นด้วยบ่อย ๆ

4. คุณครูให้ความรักด้วยการสัมผัสอบกอด

ข้อมูลการสังเกตและสัมภาษณ์ก่อนทำการวิจัย

น้องตุ้ยนุ้ยพ่อพามาสมัครเข้าเรียนใหม่ ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พร้อมกับอีก 2 คน คือ พี่สาวเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และพี่ชายเรียนชั้นอนุบาล 2ย้ายโรงเรียนมาจากจังหวัดสระบุรี และพ่อมาติดต่อขอผ่อนผันค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเข้าเรียนของลูกทั้ง 2 คน ในระดับอนุบาล คือ ค่าบำรุงการศึกษา ค่าหนังสือ ค่าอาหารว่างและอื่น ๆ และคุณครูได้อนุญาตให้ผ่อนผัน และคุณครูสอบถามจากพี่ชายของน้องตุ้ยนุ้ยว่ามีรองเท้าหรือไม่ เพราะสังเกตเห็นเด็กใส่รองเท้าแตะมาโรงเรียน พี่ชายบอกว่ายังไม่มีคุณครูเลยมอบรองเท้านักเรียนเก่าของปีที่แล้ว ที่ประกาศหาเจ้าของไม่เจอให้ใช้สวมมาโรงเรียน ร้องตุ้ยนุ้ยมาโรงเรียนพร้อมพี่สาวและพี่ชายในวันรุ่งขึ้น ก็มักจะร้องไห้สะอึกสะอื้น ร้องไห้หาแม่ คุณครูปลอบโยนก็หยุดร้องไห้นั่งกอดกระเป๋า แยกตัวไปนั่งเงียบ ๆและอยู่ห่างเพื่อน ๆ คุณครูไม่ติดใจสงสัยอาการเพราะเห็นว่าเป็นนักเรียนที่เข้ามาเรียนใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับสถานที่ คุณครู และเพื่อน ๆ หลายวันผ่านไปอาการก็ยังคงเหมือนเดิม

 

 

 

บทสรุป

1. สังเกตพบว่าน้องตุ้ยนุ้ย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่รู้สึกสนุกสนานไม่มีความสุขแยกตัวไม่สุงสิงกับเพื่อน ท่าทางหน้าตาดูเศร้าหมอง เกิดจากพ่อแม่หย่าร้างกัน

2. วิธีหาทางแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของน้องตุ้ยนุ้ยครูตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าในตัวของน้องตุ้ยนุ้ย ได้มีการพูดคุยสร้างความคุ้นเคยสนิทสนม ครูเอาใจใส่อย่างจริงจังที่จะรับรู้ ความรู้สึกของน้องตุ้ยนุ้ยนอกจากนี้ ครูยังสัมผัสโอบกอดให้เด็ก รู้ว่า ยังมีครูรัก ห่วงใยอยู่เสมอ และยังมีเพื่อนๆ ช่วยเสริมการให้กำลังใจด้วยการชวนไปเล่น ชวนไปทานข้าว เป็นต้น

3. ข้อเสนอแนะสำหรับทำการวิจัยในครั้งต่อไปการวิจัยในการแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าครั้งนี้ ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

การช่วยเหลือแก้ไข

1. ปลอบโยนไม่คุกคาม ไม่ปล่อยให้เด็กเผชิญปัญหาโดยไม่มีการช่วยเหลือ

2. หากเด็กไม่กล้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ให้สังเกตเงียบ ๆ ก่อน ไม่ต้องเร่งรัด

3. ให้เด็กได้มีโอกาสระบายถึงความกังวลที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ทราบสาเหตุ

ว่าเด็กวิตกกังวลเรื่องอะไร

หมายเลขบันทึก: 316717เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจแทนเด็กๆ ที่มีคุณครูใจดี คอยดูแลเรื่องสุขภาพจิตควบคู่ไปกับสุขภาพการเรียน อันที่จริงในสังคมไทยเรามีเด็กที่มีอารมณ์ซึมเศร้ามากมาย บางคนก็ไม่ได้แสดงออกโดยการเศร้า แต่อาจแสดงออกโดยความก้าวร้าว ดื้อ ต่อต้าน ครู คือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กที่สุดต่อจากผู้ปกครอง บางครั้งก็อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ หากสามารถประเมินอาการได้แต่แรกเริ่ม ค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ และส่งตัวเข้ารับการตรวจ และดูแลเพิ่มเติมโดยทีมสุขภาพ ก็จะช่วยป้องกันโรคทางสุขภาพจิตได้แต่เนิ่นๆ ทั้งยังช่วยให้สังคมไม่สั่งสมผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตด้วย ถือว่าได้บุญนักแล

พี่แมว สมกับเป็นอาจารย์แนะแนวจริง ๆ นอกจากเป็นอาจารย์แล้วยังมีนิสัยเป็นนางงามอีกด้วย (รักเด็ก)

พี่แมว ส่งงานกลุ่มของอาจารย์เจริญวิชญ์ ให้แล้วนะค่ะ

เป็นช่องทางที่ดีมากคะ หากมีการลงบทคัดย่อด้วยจะดีมากเพราะจะทำให้สามารถอ่านได้เข้าใจมากย่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท