ชุมชนแออัดแห่งแรกของกรุงเทพฯ


มีข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ  ชุมชนแออัด : องค์ความรู้กับความเป็นจริง  โดย รศ. ดร. ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ ปี 2542  ได้ศึกษาและบันทึกเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า  "สลัม"  หรือชุมชนแออัด แห่งแรกๆ ของกรุงเทพมหานคร  นั้น คือที่ไหนบ้าง

อันดับ 1  "ชุมชนเปรมประชา"  ซึ่งเกิดจาก การสร้างที่พักชั่วคราวให้แก่แรงงานโรงงานผลิตปูนซิเมนต์ ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1   และพอหลังจากนั้น  แรงงานบางส่วนก็ลงหลักปักฐานที่นั่น  กลายเป็นชุมชนตลอดมา

อันดับ 2  "ชุมชนวัดลาดบัวขาว  ถนนเจริญกรุง"  ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานจากโรงงานอุตสาหกรรมเช่นกันที่ตั้งรกรากเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

อันดับ 3  "ชุมชนซอยสายน้ำทิพย์  สุขุมวิท 22"  ชุมชนนี้ปรากฏในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสาเหตุอ้างว่าเกษตรกรขายที่ดินทำกิน และเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรม เข้ามาสู่โรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

อันดับ 4 "ชุมชนสะพานมักกะสัน หรือ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่"   หลังปี 2518  มีที่ดินว่างเปล่าของการรถไฟ  และเปิดให้เช่าที่ดิน  ต่อมาขยายออกไปจนถึงประตูน้ำ

เหล่านี้ คือ ชุมชนแออัด  ในยุคต้นๆของกรุงเทพมหานคร  ผลพวงจากการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรกรรม  หรือ จากท้องถิ่น เข้าสู่เมือง ด้วยแรงดึงดูดของรายได้ภาคอุตสาหกรรม  ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมประสบปัญหาซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

หมายเลขบันทึก: 316038เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ประเด็นนี้ กลุ่ม นศ.ที่เรียนทางด้านประชากร ก็ถกกันตลอดเลยครับ การอพยพที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนภาวะประชากร ทั้งพื้นที่ต้นทางและปลายทาง

เกิดการกระจุกตัวของคนอพยพที่เมืองหลวง รวมไปถึงเกิดชุมชนคนพลัดถิ่นที่แออัดกันมากในเมืองเอกนคร มีทั้งประเด็นที่ดี และประเด็นที่น่าเป็นห่วง

ขอบคุณครับ เนื้อหาความรู้ "ชุมชนแออัด"  ครับผม

 

คุณเอก

รวดเร็ว ปานกามนิตหนุ่มจริงๆ เลยครับ

พอดีเข้ามาพอดีครับ ช่วงเช้าคุยกับพี่การิม ก็คิดถึงพี่ธวัชด้วย ช่างบังเอิญจริงๆ

ผมขออนุญาตหารือตรงนี้เลยครับ...
อยากสอบถาม ปรึกษา พี่ว่า ผมมี workshop ให้กับองค์กรหนึ่ง ในส่วนของกระบวนการจะมีการเปิดวีดีทัศน์ หรือ ภาพยนตร์สั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้คนเข้าร่วมกระบวนการถอดบทเรียน พี่พอจะมีอะไรเเนะนำไหมครับ (ภาพยนตร์ ,คลิปเรื่องราวสั้นๆ ประมาณ ๑๐ - ๑๕นาที)

ประมาณว่า กิจกรรมดึงเข้าสู่บทเรียน ใช่ไหมครับ?

หมายถึงว่า ให้ดู แล้ว จับประเด็น หรือ ตีความ อะไรทำนองนี้ หรือเปล่าครับ?

ที่ใช้อยู่ในเวลาสั้นๆ เช่นนี้ ก็จะใช้ "เพลง" ให้ฟังเพลง แล้วจับประเด็น เพื่อให้สะท้อน เรื่อง การฟัง และการจับประเด็น ซึ่งเป็นทักษะหลักๆ ของการถอดบทเรียนเช่นกัน เพราะหาก ฟังไม่ลึก การถอดบทเรียนก็จะผิวๆ เหมือนกัน

เพลงที่เคยใช้ ก็เลือกเพลงที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องราว หรือเป็นนิทาน

ไม่รู้ว่าจะตรงใจหรือเปล่านะครับ

หรือว่าลองไปคุ้ยๆ ดูใน http://www.nangdee.com/

เผื่อจะมี clip เอาไปใช้ได้บ้างนะครับ

ขอบคุณพี่ธวัชมากๆครับ

ผมเองก็ออกแบบกระบวนการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปเรื่อยๆ อย่างหนึ่งก็คือ พัฒนาทักษะใหม่ๆของ Facilitator ไปด้วย

นำด้วยเพลงเเล้วถอดบทเรียนเล็กๆ ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีเลยนะครับ ผมยังไม่เคยลองสักที เมื่อครู่ผมลองชมสารคดีสั้นๆ ชำฆ้อพอเพียง เห็นแล้วปิ้งเลยครับ เหมาะสมกับหน่วยงานที่ผมจะ workshop พอดี น่าจะใช้เรื่องราวเเนวนี้

ขอบคุณสำหรับเวปที่เเนะนำด้วยครับ

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดีดีดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท