มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์


จึงริเริ่มแนวคิดให้เกษตรกรในพื้นที่ช่วยเหลือตนเองเป็นอันดับแรก

       ตั้งแต่กรมส่งเสริมการเกษตร มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานในสังกัด โดยให้ยุบฝ่ายป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ของสำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ แล้วจัดตั้งศูนย์บริหารศัตรูพืชอยู่ตามเขตต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งผลิตและให้บริการสารชีวภัณฑ์แก่เกษตรทั่วไปและสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด นั้น  มีหลายครั้งที่เกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาการระบาดของศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดก็ต้องประสานงานไปยังศูนย์บริหารศัตรูพืชในเขตพื้นที่ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรทำให้บางครั้งไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที

        จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าว มาตั้งแต่ ปี 2547 และมีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2549 เป็นต้นมา นางกัญญา  จันวิไชย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและกำจัดศัตรูพืช จึงริเริ่มแนวคิดให้เกษตรกรในพื้นที่ช่วยเหลือตนเองเป็นอันดับแรก ก่อนไปพึ่งพาศูนย์บริหารศัตรูพืช จ. สุพรรณบุรี เพราะอยู่ห่างไกลและกำลังการผลิตแตนเบียนไข่ทริโครแกรมม่า ไม่เพียงพอสำหรับเกษตรกร  ซึ่งการดำเนินงานตามแนวคิดพึ่งพาตนเองของนางกัญญา  จันวิไชย ก็มีพัฒนาการเรื่อยมา ดังนี้

นางกัญญา  จันวิไชย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กับงานป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  • ในปี 2549 ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร จัดอบรมความรู้และฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยงแตนเบียนไขทริโครแกรมม่าแก่เกษตรกรในพื้นที่ อ. ทับสะแก และ อ. เมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการระบาดของแมลงดำหนามรุนแรง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพาะแตนเบียนและนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวได้
  • ในปี 2551 ร่วมกับศูนย์บริหารศัตรูพืชจ. สุพรรณบุรี จัดอบรมเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่องการผลิตและใช้เชื้อราเมตาไรเซี่ยมและเชื้อราไตรโคโดรม่า เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตและนำไปใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้เอง
  • ในปี 2552 ประสานงานกับกรมส่งเสริมการเกษตร ขอใช้สถานที่ศูนย์บริหารศัตรูพืช สุพรรณบุรี สาขา อ. ปราณบุรี ซึ่งตัวอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ อ. ปราณบุรี เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดตั้งเป็นศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อ. ปราณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ด้านการผลิตสารชีวภัณฑ์ เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
  2. เป็นแหล่งผลิตและให้บริการสารชีวภัณฑ์ แก่เกษตรกรในพื้นที่ ได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างทันท่วงที

ซึ่งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อ. ปราณบุรี นี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 โดยมีการจัดการศูนย์ฯ แห่งนี้ ดังนี้

            

นายเหมวงศ์  ประกอบบุญศิลป์  พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ออกเยี่ยมการปฏิบัติงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อ. ปราณบุรี

  • นายเหมวงศ์  ประกอบบุญศิลป์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มอบหมายให้นางกัญญา  จันวิไชย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแล ประสานงาน และ ควบคุมการดำเนินงานในศูนย์ฯ โดยมีการประสานงานกับสมาคมชาวไร่อ้อย ในการเข้าร่วมให้การสนับสนุนและดูแลบริหารงานศูนย์ฯ แห่งนี้ร่วมกันด้วย

       

การเพาะเลี้ยงหนอนผีเสื้อ และ แตนเบียนไข่

  • มีพนักงานซึ่งเป็นคนงาน และ ยาม เป็นผู้ทำหน้าที่ผลิตสารชีวภัณฑ์ และในปีงบประมาณ 2553 สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับงบประมาณจากจังหวัด (งบพัฒนาจังหวัด) ในการจัดจ้างพนักงานผลิตสารชีวภัณฑ์ เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรในชุมชนด้วย

อาคารของศูนย์ฯ ที่ปรับปรุงแล้ว และเริ่มใช้งานแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552

  • บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนงบประมาณ เช่น งบพัฒนาจังหวัด สมาคมชาวไร่อ้อย และในอนาคต อาจมีการบริหารกองทุนโดยให้เกษตรกรที่มารับบริการสารชีวภัณฑ์ร่วมสมทบทุนเพื่อซื้อหาปัจจัยการผลิตสำหรับการผลิตสารชีวภัณฑ์ในครั้งต่อๆ ไป

    นี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างสรรงานโดยการประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และบรรลุผลในการช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกร และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นการเรียนรู้เรื่องการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ

หมายเลขบันทึก: 316026เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก.

  • สวัสดีครับคุณมุ่ยฮวง
  • การเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเองนับว่าถูกทางแล้วนะครับ
  • สบายดีนะครับ
น.ส.วชิราภรณ์ จรจรัญ

อยากทราบรายละเอียดการเขียนเสนอโครงการ

คุณวชิราภรณ์

  • การเขียนเสนอโครงการงบพัฒนาจังหวัด จะมีแบบฟอร์มที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ และต้องรอรับการประสานงานจากสำนักงานจังหวัดในการเขียนเสนอโครงการประจำปี ซึ่งช่วงเวลาการเขียนเสนิโครงการงบพัฒนาจังหวัดจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
  • การเขียนโครงการต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของกิจกรรม/โครงการและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้วยค่ะ

คิดถึง จังเรย พ่อ เคย ทำงาน ที่นั่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท