รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

งานประชุมวิชาการประจำปีสมาคมเวชสารสนเทศไทย


สมาคมเวชสารสนเทศไทย

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสไปงานประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 18 ของสมาคมเวชสารสนเทศไทย เมื่อวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอนด์ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร อยู่ใจกลางเมืองหลวงเลยครับ งานนี้จัดเพื่อเผยแพร่วิทยาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเวชสารสนเทศ และการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์จากนักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำเสนอผลงานวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆความคิดเห็น รวมถึงการพบปะประจำปีระหว่างสมาชิกสมาคมฯ และผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศ

     จากการที่ได้ไปสัมผัสในการแลกเปลี่ยนและฟังการประชุมสิ่งที่ได้เรียนรู้และการถ่ายทอดจากผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆของทางการแพทย์ จากคุณหมอและนักวิชาการหลายท่าน ทำให้ได้รับรู้เครื่องมือที่ทันสมัย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความก้าวหน้าไปมาก อย่างเช่น เครื่องมืออุปกรณ์สวมใส่แจ้งเตือนการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแบบไร้สาย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุในบ้านเรา ซี่งเจ้าตัวอุปกรณ์นี้สามารถแจ้งเตือนให้เรารู้ทันทีถ้าเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ หรือ เจ้าเครื่องมือที่ชื่อว่า Silicon sensor เป็นเครื่องมือขนาดเล็กที่ทำจากวัสดุเป็น Bio compatible ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือ เครื่องมือหัววัดอุณหภูมิ,วัดไอออน,ตัววัดไข้หวัดนก เป็นต้น แต่ละเครื่องมือมีประโยชน์และมีค่ามากต่อผู้ป่วยในปัจจุบัน

     สำหรับเครื่องมือสนับสนุนการนำข้อมูลสุขภาพระบบสารสนเทศสำหรับงานด้านสาธารณสุข ในงานก็มีหลายหลายโปรแกรมที่นำมาเสนอ และถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลายหน่วยงาน ระบบสำหรับหน่วยให้บริการปฐมภูมิหรือสถานีอนามัยก็เช่นกัน ซึ่งในงานก็พูดถึงระบบที่นิยมและแพร่หลาย ได้แก่ HCIS,THO,WINTHO,FANTASY ระบบต่างๆเหล่านี้ถูกพัฒนาเพื่อรองรับการทำงานเฉพาะในสถานีอนามัยเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีบุคลากรหน่วยให้บริการเช่น รพช / รพท ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและทำงานในสถานีอนามัยด้วย เพราะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยให้บริการในเครือข่ายให้บริการเดียวกัน (cups) ระบบดังกล่าวมีชื่อว่า HOSxP-PCU โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง สถานีอนามัยและโรงพยาบาล และโปรแกรมนี้ได้ทดสอบและใช้งานจริงครั้งแรกที่ จังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับโปรแกรมนี้เป็นแบบ Free software ถ้าหน่วยงานไหนมีความพร้อมและสนใจในความสามารถของระบบก็ในไปใช้ระบบเดิมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนระบบนี้มีความสามารถดังนี้น่ะครับ

เป็นระบบงานสำหรับสถานีอนามัย และ PCU
- พัฒนาโดยบริษัทบางกอกเมดิคัลซอฟต์แวร์ จำกัด และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
- ระบบงานเชิงรุกถูกออกแบบใหม่ทั้งหมด รองรับการทำงานตามบัญชี 1 - 8
- ระบบงานเชิงรับใช้แนวคิดของระบบ HOSxP
- ข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบ RDBMS โดยโปรแกรมจะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้สถาปัตยกรรม Client / Server และรองรับการทำงานในรูปแบบ Multi-tier
-ระบบสามารถทำงานได้กับฐานข้อมูล ประเภทต่างๆ ได้แก่ MySQL / PostgreSQL / Microsoft SQL / Oracle (ฐานข้อมูลที่แนะนำให้ใช้งานคือ MySQL)
- มีระบบการเก็บข้อมูลลายนิ้วมือและตรวจสอบลายนิ้วมือ
- มีระบบ End user report รองรับการสร้างรายงานและปรับปรุงรายงานจาก Datacenter
- รองรับการส่งข้อมูลออกตามมาตรฐาน 18 แฟ้ม (PROVIS/NHSO)
- มีระบบ Inventory เป็นของตนเอง
- มีระบบการเชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลกับ Datacenter ผ่านระบบ Web services
- มีระบบปรับปรุงสิทธิการรักษาของประชากร อัตโนมัติจาก Datacenter
- มีระบบการตรวจสอบประวัติผู้ป่วยจากทุก รพ.ในจังหวัด ผ่าน Datacenter (การ visit / ผลการวินิจฉัย / การรับยา / การฉีดวัคซีน / ผลการคลอด / การส่งต่อ / อื่นๆ )
- ออกแบบ พัฒนาและทดสอบโดยบุคลากรในระบบงานสาธารณสุข ผ่านความร่วมมือจากเจ้าหน้าที สอ./รพช./รพท./สสจ.
- มีระบบช่วยวินิจฉัยโรค
- มีระบบนำเข้าข้อมูลจาก HCIS
- มีระบบการทำงานแบบ Offline (ทำงานใน Notebook นอกสถานที่) และสามารถนำเข้ามูลเข้าฐานข้อมูลหลักที่สถานีอนามัยได้ (สามารถทำงาน offline พร้อมกันได้มากกว่า 1 เครื่อง)
- มีระบบ Family Genogram (Generator / Designer)
- มีระบบ Restore ข้อมูลกลับจาก Datacenter
- มีระบบ Refer online กับหน่วยให้บริการภายในจังหวัด (ที่ใช้ datacenter เดียวกัน)

เรื่องของโปรแกรมก็มีหลายทางเลือกน่ะครับ อย่างโรงพยาบาลหนองม่วงของเรานั้นใช้โปรแกรม MIT-NET แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็นโปรแกรม HosxP ในอนาคตครับ  และอีกเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ ระบบโปรแกรมด้านสารสนเทศคือเรื่องของ Data Privacy ความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของผู้ป่วยในทางการแพทย์ ซี่งบรรยายโดยนายแพทย์ สุธี ทุวิรัตน์ ครับท่านบรรยายได้เยี่ยมมากเลยครับ สำหรับเรื่องของข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างมาก  สำหรับหลักปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆได้ ดังนี้

  1. Accountability
  2. Identifying purposes
  3. Consent
  4. Limiting collection
  5. Limiting use , disclose, and retention
  6. Accuracy
  7. Safeguard
  8. Openness
  9. Individual access
  10. Challenging compliance

ทั้งหมดนี้ครับเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นเรื่องจริยธรรมในองค์กรในการที่จะให้การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาชีพที่เกี่ยวการให้บริการทางการแพทย์ครับ  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กรทางการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีแนวทางการปฏิบัติว่ามีความถูกต้องเหมาะสมกับยุคสมัยนำมาปฏิบัติกับหน่วยงานของตัวเอง

     ประสบการณ์อันล่ำค่าที่ได้ไปร่วมประชุมวิชาการประจำปีสมาคมเวชสารสนเทศไทย ครั้งนี้ ทำให้ได้รับรู้ถึงการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในทางการแพทย์มากเลยครับ สำหรับผมตั้งใจว่าสิ่งที่ได้เรียนรุ้มานี้จะนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลหนองม่วงของเราให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้ครับ

 

Mr.Jammies.

( N.Sayan )

หมายเลขบันทึก: 315466เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อย่าลืมสรุปให้ผู้อำนวยการฟังด้วยนะครับ สิ่งดีๆจะได้เกิด

โอโห้ พี่อ้อม ไปอบรมไม่ชวนน้องอ้อมเลยนะ ชอบอ่ะ อยากไปมั้งอ่ะ โปรแกรมน่าสนนะ แต่......ไม่ว่างศึกษาอ่ะ เรียนโคตะระ เหนื่อยเลยอ่ะ ขนาดจะลง win ให้เครื่องPC ที่บ้านใหม่ยังไม่ได้ทำเลย เฮ้อ เมื่อไหร่จะจบก็ไม่รู้ .........บ่นไปงั้นแหละ .....น้องอ้อมเองอ่ะคับ

มีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปัน พี่สนับสนุนความคิดเห็นที่ ให้เสนอให้สรุปให้ผอ.ฟังด้วยนะ

อยากเห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นไวๆ

เป็นกำลังใจ ให้คนทำงาน

K.Supa

ขอบคุณสำหรับทุก comment น่ะครับ จะสู้ต่อไปครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท