กล้วยหักมุกหลากหลายรส(อร่อยมากๆๆ)


เกริ่นนำ

           หลังจากหายไปนานกับวงการ เพราะไปติดกับการขึ้นทะเบียนเกษตรกร(ทบก.) และทะเบียนพืชเศรษฐกิจ เมื่อพอมีโอกาสบ้างแล้ว จึงได้ค้นหางานที่เขียนเก็บสะสมไว้นำมาเสนอแบ่งปันความรู้กัน ตามสัญญาที่ให้ไว้กับ "อาจารย์สิงห์ป่าสัก" เริ่มด้วยของอร่อยๆ แบบกล้วยๆ        

          เรื่องกล้วยๆ ...ง่ายอย่างกับปอกกล้วย... ถูกอย่างกล้วย  หลายคำกล่าวที่กล่าวสื่อความหมายให้ทราบว่า  เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่จะสามารถกระทำได้ไม่ยากนัก หรือเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายราคาไม่แพง   เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยในด้านอาหารและนำมาแปรรูปเป็นของใช้มาอย่างยาวนาน จะสังเกตได้จากการนำกล้วยเข้าไปมีส่วนในประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะประเพณีแต่งงาน ซึ่งถ้าครอบครัวใหม่นั้นนำกล้วยไปปลูกจะได้รับประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น ต้น : สับใช้ทำปุ๋ยหมัก  ใบ : ใช้ทำวัสดุห่อของ  ดอก : หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด  ผล : เป็นอาหาร และเป็นยาฝาดสมานแผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย ใช้กล้วยหักมุกดิบ นำมาปอกเปลือก แล้วฝานเป็น แผ่นบางๆ คล้ายๆ กับที่ทำกล้วยแขกแต่บางกว่า แล้วนำไปตากแดดอ่อน ดังนั้นในช่วงเที่ยงๆ ถึงบ่ายโมงให้เก็บเข้าร่มก่อน เมื่อกล้วยแห้งดีแล้วนำไปบดผง ใช้ผงผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกิน ครั้งละ 3-4 เม็ด กินก่อนอาหารทุกมื้อและก่อนนอน หรือจะนำผงกล้วย สัก 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วกินก็ได้   จากสรรพคุณของกล้วยหักมุก ที่หลากหลาย  จึงเกิดความสนใจว่าในจังหวัดชัยนาทได้นำกล้วยหักมุกแปรรูปเป็นชนิดอื่นๆ หรือไม่นอกจากการนำไปปิ้ง หรือฉาบ  เพื่อนำความรู้ดีๆ สู่ผู้อ่าน

การแสวงหา 

         เมื่อได้ประเด็นที่น่าสนใจแล้ว จึงสืบหาข้อมูลจากทำเนียบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  ที่เก็บไว้ในศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท แต่ไม่พบการแปรรูปจากกล้วยหักมุกที่ต้องการ  แต่ก่อนที่จะถอดใจเลิกความคิดที่จะเสาะหา  จึงคว้าโทรศัพท์สอบถามไปที่คุณพี่ชลอ  เอี่ยมรอด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  ประจำตำบลธรรมามูล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าลาภ  จึงทราบแหล่งของความรู้ ด้านการแปรรูปจากกล้วยหักมุก ซึ่งน่าสนใจในหลายด้านคือ แนวคิด ของการประยุกต์ใช้ความรู้ที่พบและดัดแปลงผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิด ทดลองทำจนได้ผลิตภัณฑ์กล้วยหักมุกเคลือบหลายรส

แนวคิดของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าลาภ

          นางอัมพร   เผ่าพงษ์ศักดิ์    วิทยากรจุดสาธิตการเกษตรและประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฯ  วัย  50  ปี บ้านเลขที่ 241 หมู่ที่ 7  ต.ธรรมามูล  อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท กล่าวว่า กลุ่มได้แปรรูปอาหารหลากหลายชนิดเพื่อการเพิ่มผลผลิตการเกษตร เช่น กล้วยกวน มะละกอแก้ว  มะละกอแช่อิ่มอบแห้ง  กล้วยอบกระเทียม  มะพร้าวแก้วใส่สีธรรมชาติ  และมะม่วงกวน ซึ่งได้รับ  อย. แล้วหลายชนิด  ผลิตภัณฑ์จากกล้วยจะใช้กล้วยน้ำหว้า  การแปรรูปจากกล้วยหักมุก เกิดจากสมาชิกที่ปลูกกล้วยหักมุก พบปัญหาด้านการตลาด จึงนำปัญหาปรึกษากับสมาชิก  จึงนำความรู้การผลิตกล้วยหลอดมาใช้กับการผลิตกล้วยหักมุก  ผสมผสานกับแนวคิดประยุกต์จากผลิตภัณฑ์ปลาหมึกหลายรส  ทดลองทำในหลายรูปแบบด้วยการระดมความคิดนำภูมิปัญญาต่างๆ มาทดลอง จนเป็นที่ถูกใจได้ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำจิ้มไก่ และอีกหลายรสที่ได้ทดลองทำจนประสบผลสำเร็จ เป็นที่ถูกใจของลูกค้า เป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค เพราะกล้วยหักมุกมีความแตกต่างจากกล้วยน้ำหว้า คือกรอบ มีสีสันสวยไม่ดำเมื่อเก็บไว้นาน

 

วิธีทำ

        ทำน้ำจิ้ม  เตรียมส่วนผสม คือ น้ำตาลทราย   แบะแซ  กุ้งแห้งป่น เกลือป่น น้ำจิ้มไก่ทอด หากต้องการเผ็ดเติมพริกแห้งลงไป  ผสมทุกอ่างลงในหม้อเคี่ยวพอเดือดตั้งทิ้งไว้

       ทำกล้วยหลอด   คัดเลือกกล้วยหักมุก ดิบที่มีขนาดที่เหมาะสม  ปอกเปลือก แช่น้ำมะกรูด เพื่อไม่ให้ดำ ให้ยางไม่ติดผล นำไปสไลด์แผ่นบางๆ  ม้วยให้กลมก่อนนำลงไปทอดในน้ำมันที่ร้อนจัด พอเห็นว่าเหลืองแล้วจึงนำขึ้นจากน้ำมัน เทลงถาดพักไว้

        ทำกล้วยน้ำจิ้มไก่  นำน้ำจิ้มที่เตรียมไว้เทคลุกพร้อมโรยผักชีคลุกส่วนผสมให้ทั่ว ก่อนนำไปอบให้แห้ง นำมาคลุกกับน้ำจิ้มอีกครั้ง และนำไปอบอีกนาน 6-7 ชั่วโมง  จะได้กล้วยน้ำจิ้มไก่ที่กรอบและหอมน้ำจิ้มไก่  อร่อยลิ้นด้วยรสชาติหว่าน เปรี้ยวเผ็ด  ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปบรรจุถุงๆ ละ 200  กรัม จำหน่ายในราคาถุงละ 25 บาท ผลิตได้ครั้งละประมาณ  20-30  กิโลกรัม  จำหน่ายตามที่ลูกค้าสั่ง  และนำไปจำหน่ายสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ  ในจังหวัดชัยนาท

          ก่อนจบมาทำความรู้จักกับ “กล้วยหักมุก”  กันก่อนครับ  กล้วยหักมุกมี ชื่อสามัญว่า  Silver Bluggoe และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Musa (ABB group)  "Kluai Hak Mulk "  มี 2 ชนิด คือ ชนิดผลมีนวล กับ ไม่มีนวล ชนิดหลังเปลือกจะมีขีดสีดำ เรียกว่า “แตกลายงา” ชนิดนี้เนื้อไม่แน่นเหนียว ขยายพันธุ์ ด้วยหน่อ  ลำต้นสูง 2.5 - 3.5  เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมีสีเขียวอ่อน   ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ และมีครีบ เส้นกลางใบสีเขียวมีนวลทางด้านล่าง   ดอก ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ด้านบนป่านมีนวลหนา ด้านล่างมีสีแดงเข้ม ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลใหญ่ ก้านผลยาว ปลายผลลีบลง มีเหลี่ยมชัดเจน เปลือกหนา เมื่อสุกสีเหลืองอมน้ำตาล มีนวลหนา เนื้อสีส้ม  ส่วนใหญ่นำไปใช้แปรรูป ผลสุกนำมาปิ้ง รับประทานได้รสชาติดี หรือนำไปเชื่อม  

หมายเลขบันทึก: 315133เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กล้วยกล้วย  ไม้มงคลของครูอ้อย กินแล้ว ทำอะไรจะได้กล้วยกล้วยค่ะ

ขอพระคุณครูอ้อยมากครับ ที่แวะมาให้กำลังใจ

กล้วยหลอดๆนั่นอร่อยค่ะ

เคยกินแบบที่อ่อนๆนิ่มๆ

ไม่รู้เรียกว่าอะไร

สวัสดีค่ะ คุณ chudchainat

น่าอร่อยมากค่ะ  ชอบ กล้วยกล้วย เหมือนพี่ครูอ้อยเลยค่ะ..  อิ อิ    ขอบคุณค่ะ    

****

แจ๋วจริงค่ะ

มีมาโชว์อีกนะคะ

 

  • พี่ชัช  ส่งกล้วยหักมุกน้ำจิ้มไก่มาขายที่เพชรบุรีบ้างซิ..เผื่อจะแลกเปลี่ยนกับกล้วยหอมทองฉาบบ้าง...
  • ไงล่ะ ทบก.& ทพศ. งานเข้าเต็มๆเลยชาวเกษตร
คุณวีระ ดวงประเสริฐ

เข้ามาทักทายครับ

ผมเด็กชัยนาทจบจาก ช.น.พ บ้านเดิมอยู่ หาดกองสิน ครับ

ตอนนี้ปลูกผักหวานบ้าน อยู่จันทบุรีครับ

www.rai-wisataugsonkai.com

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท