ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด


เตรียมเพื่อดำเนินการตั้งสภาคนพิการทุกประเภทให้ถูกต้อง สมบูรณ์แต่ตั้งแต่ต้น

     จากบันทึก ถือกำเนิดสภาคนพิการ(ทุกประเภท)จังหวัดพัทลุง ทำให้ผมต้องเตรียม ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด ให้แก่เครือข่ายคนพิการ เพื่อดำเนินการตั้งสภาคนพิการทุกประเภทให้ถูกต้อง สมบูรณ์แต่ตั้งแต่ต้น และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่น ๆ ในการสืบค้นต่อไป จึงขอยกมาเลยดังนี้ครับ

(สำเนา)
ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด

               อาศัยความตามระเบียบข้อบังคับสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ข้อที่ ๑๙.๒  เพื่อให้การบริหารกิจกรรมของสมาคมฯ ดำเนินไปได้ด้วยดี ตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ คราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๔  วนที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๔  ได้กำหนดแนวทางการบริหารกิจการของสมาคม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด  ดังนี้

          ๑. ชื่อ 
              สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด ( ตามด้วยชื่อจังหวัด )

          ๒. การได้มาซึ่งคณะกรรมการสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด
              ให้มีคณะกรรมการบริหารสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด จากตัวแทนคนพิการแต่ละประเภท ประเภทละเท่า ๆ กัน จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๑๕ คน ให้มีประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด  ๑ คน เลขานุการ ๑ คน เหรัญญิก  ๑  คน และตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด จะมีวาระการดำรงตำแหน่งได้เพียง ๒ ปี และไม่เกิน ๒ สมัยติดต่อกัน
              ตำแหน่งประธาน   เลขานุการ   และเหรัญญิก ต้องเป็นตัวแทนคนพิการต่างประเภทกัน สมาชิกของสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดต้องเป็นสมาชิกของสภาคนพิการทุกประเทศแห่งประเทศไทย 
               ให้คณะกรรมการสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด มีวาระ ๒ ปี ตามวาระของคณะกรรมการบริหาร สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

          ๓. อำนาจหน้าที่
              ๑.ประสานงานกับสมาคม หรือชมรมคนพิการของแต่ละประเภทในจังหวัด
              ๒.ร่วมกับตัวแทนคนพิการจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเดียวกันสรรหาผู้แทนส่วนภูมิภาคและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาค  เพื่อเป็นคณะกรรมการบริหาร  สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
              ๓. สรรหาตัวแทนคนพิการในจังหวัด เพื่อร่วมเป็นกรรมการต่าง ๆ ในจังหวัดของตน  เช่น  อนุกรรมการฟื้นฟูประจำจังหวัด  คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด ฯลฯ
              ๔. เสนอนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคนพิการในจังหวัดของตน เพื่อให้เป็นนโยบายระดับภาคหรือชาติต่อสภาคนพิการทุกประเภท และสภาคนพิการทุกประเทศแห่งประเทศไทย
              ๕. ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ แก่คนพิการ โดยเฉพาะในจังหวัดของตน
              ๖. ประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งภาครัฐ และเอกชน
              ๗. รวบรวมปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรม การพัฒนาแก่สภาคนพิการทุกประเภทภาค และสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยทุก ๖ เดือน
              ๘. ให้จัดทำรายงานการเงิน การดำเนินกิจกรรมของสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการบริหาร สภาคนพิการทุกประเภท และสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยทุก ๑ ปี
              ๙. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่สภาคนพิการทุกประเภทภาค หรือสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยมอบหมาย

บทเฉพาะกาล

              ๑๐. ในระยะแรกเริ่มการจัดตั้งสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า ๓ ประเภทความพิการ แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการรับสมัครสมาชิกให้ครบทั้ง ๕ ประเภทความพิการ ภายในระยะเวลา ๕ ปี นับแต่วันที่ได้จัดตั้งสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด

                                          ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่  ๑  พฤษภาคม  ๒๕๔๔

 

                                    วิเชียร  หัสถาดล                       ชูศักดิ์  จันทยานนท์
                                (นายวิเชียร  หัสถาดล)                (นายชูศักดิ์  จันทยานนท์)
                                  กรรมการเลขานุการ                           นายกสมาคม

 

หมายเลขบันทึก: 31511เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2006 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท