การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา และชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล


เดิมนั้นการวิจัยทางการพยาบาล (ตามต้นฉบับ)จะใช้วิธีการวิจัยในกลุ่มสังคมวิทยา จิตวิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพ ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ต่อมาก็ให้ความสนใจด้านมนุษยวิทยา ปรัชญา และประวัติศาสตร์มากขึ้น

การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา และชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล :
รูปแบบและวิธีการของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

Madeleine Leininger *: ผู้เขียน
อนุชา หนูนุ่น : ผู้แปล

     นับตั้งแต่มีการค้นพบวิธีการศึกษาวิจัยแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการพยาบาล ซึ่งเป็นความสำคัญที่ท้าทายอยู่ในทุกวันวันนี้ เดิมนั้นการวิจัยทางการพยาบาลจะใช้วิธีการวิจัยในกลุ่มสังคมวิทยา จิตวิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพ ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ต่อมาก็ให้ความสนใจด้านมนุษยวิทยา ปรัชญา และประวัติศาสตร์มากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางานวิจัยและวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ของกลุ่มนักวิจัยทางการพยาบาล จึงเป็นเหตุให้มีการค้นพบวิธีการในการที่จะตอบคำถามหรืออธิบาย ความไม่เข้าใจทั้งหลายให้กระจ่างขึ้น ด้วยระเบียบวิธีที่ใหม่ ๆ และแตกต่างไปจากเดิมอยู่เรื่อย ๆ การศึกษาวิจัยในรูปแบบชาติพันธุ์วรรณนา และชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล ในปัจจุบันนี้เชื่อว่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่นักวิจัยทางการพยาบาลจะสามารถนำมาใช้ในการตอบคำถามวิจัย โดยคาดหวังว่าจะมีการพัฒนาต่อ ๆ ไป ซึ่งมีหลักการที่สำคัญคือการสังเกตข้อมูลจากภาคสนาม หรือข้อมูลดิบจากผู้ให้ข้อมูล แล้วนำมาดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไป จนสามารถอุปมานจากสิ่งที่พบเห็นเหล่านั้นได้ แนวคิดของระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าว คือการสรุปจากสิ่งที่กว้างใหญ่ลงไปในแต่ละระดับถึงระดับกลาง และสรุปสุดท้าย เป็นสิ่งเล็กที่สุดที่ศึกษาวิจัย วิธีการดังกล่าวจะทำให้สามารถตอบคำถามวิจัยของนักวิจัยทางการพยาบาลได้ดีและลึกเฉพาะลงไป การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนา ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับการวิจัยทางการพยาบาลอยู่ ทั้ง ๆ ที่มีความจำเป็น จึงควรที่จะเรียนรู้ถึงวิธีการดังกล่าว เพื่อตอบคำถามวิจัยทางการพยาบาลที่มีอย่างในปัจจุบัน

     ความเข้าใจในวิธีการทางชาติพันธุ์วรรณนาและชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล นั้นก็เพื่อทำความเข้าใจในลักษณะของข้อเท็จจริงโดยทั่ว ๆ ไป และในความเป็นไปของโลก วิถีชีวิตของมนุษย์ โดยการรวบรวมเอาข้อมูลอย่างมากมายและอย่างผสมกลมกลืนเข้ามา ทั้งจากสถานที่ บรรยากาศ พิธีกรรม หรือรูปแบบ ต่าง ๆ แล้วใช้วิธีการดังกล่าว เพื่อตอบคำถามว่า “อะไร” “ทำไม” และ “อย่างไร” ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ความรู้สึก และพฤติกรรมเหล่านั้น ด้วยวิธีการสังเกตอย่างเฉพาะเจาะจง สัมภาษณ์เจาะลึก และระดับของการมีส่วนร่วมตามปกติอย่างเป็นธรรมชาติของพวกเขาเอง ซึ่งทั้งสองวิธีการดังกล่าวข้างต้นคือ วิธีการทางชาติพันธุ์วรรณนาและชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล นั้น เป็นการศึกษาการดำรงชีวิตและประสบการณ์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้เพื่อการเรียนรู้ว่าความต้องการที่แท้จริง หรือการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขนั้นเป็นอย่างไร แตกต่างหรือเหมือนกันหรือไม่ ทั้งในสถานการณ์ที่แตกต่าง หรือเหมือน ๆ กัน อันจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปจัดการในการให้บริการด้านการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวมต่อไป

     จากนี้ต่อไปก็จะได้แบ่ง การนำเสนอออกเป็นสองส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาและชาติพันธุ์วรรณนาทางการพยาบาล และส่วนที่สอง คือ การวิเคราะห์ข้อมูล ดาวน์โหลด ได้ที่นีครับ http://gotoknow.org/file/chinekhob/EthnonursingI.zip หมายเหตุ : นำเสนอเฉพาะส่วนที่ 1 สำหรับส่วนที่ 2 ยังแปลไม่สมบูรณ์ต้องขออภัยด้วย และจะรีบให้เสร็จในเร็ว ๆ นี้

     * PhD, LHD, DS, PhDNsc, FAAN, CTN, RN, FRCA, internationally recognised as an educator educator, author, theorist, researcher and consultant in transcultural nursing, comparative human care, qualitative research methods and culture care theory.

หมายเลขบันทึก: 3151เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2005 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนดี เป็นวิธีการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของมนุษย์เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ดี ต้องขอขอบคุณผู้แปลที่ช่วยแปลให้อ่านค่ะ

 

ดีจังเลยค่ะ

แปลเสร็จแล้ว น้องขออ่านคนแรกได้ไหมเนี่ย

..ได้ใช้แน่ ๆ เลย..

สวัสดีครับคุณปลาทอง
  • มาทิ้ง คห.ไว้ตั้งนานแล้ว แต่เป็นช่วงที่ผมไม่ได้ตอบเลยนะครับ 
  • ขอบคุณครับที่แวะเข้ามาอ่าน

สวัสดีครับคุณน้องวิไลวรรณ

  • อย่างน้อง Inter ต้องแปลต่อเอง แล้วเอามาฝากด้วยนะครับ
  • สรุปไว่าดาวน์โหลดไปได้ไหมครับ  http://gotoknow.org/file/chinekhob/EthnonursingI.zip 
  • หากไม่ได้ยังไง ก็บอกนะครับ 

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่ช่วยแปลมาให้ค่ะ รออ่านส่วนที่เหลืออยู่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท