การใช้ Microphone


การใช้ Microphone

ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน
6.4.1 แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ
ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic)
ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic)
ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic)
คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic)
ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic)
ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง


6.4.2 แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic)
รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic)
รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic)
รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic)
รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน


6.4.3 แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic)
ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
2) แบบมือถือ (Hand mic)
ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic)
มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
4) แบบบูม (Boom mic)
ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
5) แบบบิง (Bing mic)
ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น

6.5. คุณสมบัติของไมโครโฟน

ไมโครโฟนในแต่ละแบบก็อาจมีคุณสมบัติต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
6.5.1. ผลตอบสนองความถี่
เป็นความสามารถตอบสนองความถี่ได้เรียบ และเก็บ ความถี่ได้กว้าง ไมโครโฟนทั่วๆ ไป มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรทซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรทซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น

6.5.2. ความไวในการรับเสียง
เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลท์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dB เป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB ดมีความไวต่ำกว่า -50dB

6.5.3. อิมพีแดนซ์
(Impedance)
หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรอืกระแสสลับไฟลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
1) อิมพแดนซ์สูง (High Impedance)
มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
2) อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance)
มีค่า Impedance 200-600 โอมห์ ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต

6.6.การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา

การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา ควรมีหลักการในการใช้และการบำรุงรักษาดังนี้
1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน

คำสำคัญ (Tags): #การใช้ microphone
หมายเลขบันทึก: 315076เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

microphone เป็นเครื่องมือหลักในกรบันทึกเสียงโดยเฉพาะ ในการจัดการเรียนแบบ"ตามประสงค์" ทั้งหลาย

ไม่ว่าจะเป็น podcast หรือ audio note หรือแม้แต่ audio book ก็จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ขณะที่ทำกิจกรรมอื่นอยู่ รวมไปถึงผู้เรียนที่มีความพิการทางสายตา ดังนั้น การเลือกไมโครโฟนที่ม่ความสามารถก็ย่อมจะสื่อ "เนื้อหา"และ "อารมณ์" ได้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท