รูปแบบการประเมินแบบเคาทะเนินซ์


Countenance model

Countenance model เสนอโดย โรเบอร์ต อี สเตค(Robert.Stake) ซึ่งได้พัฒนารูปแบบของการประเมินมาอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน โดยใช้แนวคิดของ ครอนบาค(Cronbach)และสคริฟเวน(Scriven)เป็นพื้นฐาน

       ตามความคิดของสเตคนั้น คำนึงถึงความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกันของบุคคลหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ การประเมินโครงการจึงต้องมีการบรรยายเกี่ยวกับโครงการอย่างละเอียดเพื่อให้ครอบคลุมถึงสารสนเทศที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจะนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้น จึงมีการแยกโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ

      1. การประเมินเกี่ยวกับการบรรยายโครงการ

         1.1 การพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งที่คาดหวัง ได้แก่ สิ่งที่มีมาก่อน กระบวนการ และผลที่คาดว่าจะได้รับว่าเป็นเหตุเป็นผลหรือมีความเหมาะสมเพียงใด เป็นการพิจารณาทางด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลโดยใช้หลักการทฤษฎีและการวิจัยเข้ามาช่วย ซึ่งเราเรียกว่า การดูความสัมพันธ์ของข้อมูลจริงหรือความสัมพันธ์เชิงประจักษ์

        1.2 การพิจารณาความสอดคล้องระหว่างที่คาดหวังหรือสิ่งที่ตั้งใจจะให้เกิดขึ้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการบรรยายโครงการประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

              1. ปัจจัยหรือสิ่งที่มีมาก่อนที่คาดหวัง

              2. กระบวนการที่คาดหวัง

              3. ผลผลิตที่คาดหวัง

              4. ปัจจัยหรือสิ่งที่มีมาก่อนที่เกิดขึ้นจริง

              5. กระบวนการที่ใช้จริง

              6. ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    2. การประเมินเกี่ยวกับการตัดสินโครงการ

        การประเมินเกี่ยวกับการบรรยายโครงการนั้น ทำให้ทราบสภาพต่างๆของโครงการที่คาดการณ์ไว้ก่อนเริ่มดำเนินโครงการกับสภาพเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้ว มีความแตกต่างกันหรือสอดคล้องกันมากน้อยแค่ไหน แต่ยังไม่ได้มีการตัดสินคุณค่าของความสอดคล้องเหล่านั้น

        การประเมินเกี่ยวกับการตัดสินใจโครงการนั้น ก็จะเป็นส่วนที่กระทำต่อจากการประเมินที่เกี่ยวกับการบรรยายโครงการ คือการตัดสินคุณค่าต่างๆจากความสอดคล้องหรือความแตกต่างที่พบในการประเมินเกี่ยวกับการบรรยายโครงการ แต่การที่จะตัดสินในแต่ละปัจจัยได้จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานมาช่วยในการเปรียบเทียบ สเตกได้เสนอเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบไว้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

     1. เกณฑ์มาตรฐานแห่งความเป็นเลิศ เป็นเกณฑ์ที่กำหนดให้โดยยึด ทฤษฎี หลักการ ผลการวิจัย หรือเอกสารอ้างอิงต่างๆที่มีข้อมูลสนับสนุนอย่างเชื่อถือได้ เรียกเกณฑ์ชนิดนี้ว่า มาตรฐานสัมบูรณ์(absolute standard)

     2. เกณฑ์มาตรฐานได้จากโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันเพื่อใช้นำมาเป็นเกณฑ์สำหรับเปรียบเทียบคุณภาพ สเตก เรียกเกณฑ์ชนิดนี้ว่ามาตรฐานสัมพัทธ์(relative Standard)

      ผลการเปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่คาดหวังกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วนั้น จะนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆในโครงการได้

     รูปแบบการประเมิน เคาทะเนินซ์ของสเตก เป็นการประเมินที่มีการตัดสินคุณค่าโดยใช้มาตรฐานเป็นการประเมินที่ค่อนข้างชัดเจนและมีเกณฑ์ที่แน่นอน

     

หมายเลขบันทึก: 314206เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แนวคิดของ Stake น่าศึกษามากค่ะ นอกจาก Countenance model ที่นับว่าเป็นรูปแบบการประเมินเชิงระบบแล้ว Stake ได้นำเสนอแนวคิดการประเมินที่พลิกผันจากเดิม ..แนวคิดการประเมินที่เน้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใช้วิธีการเชิงคุณภาพ Responsive Model น่าสนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท