การทำ evidence best practice (1 ใน 9 สมรรถนะของ APN ^___^ )


          เมื่อเทอมที่แล้ว งานชิ้นใหญ่อีกงานที่ต้องทำให้สำเร็จในระยะเวลา 3 เดือน (งานนี้จะทำเป็นงานกลุ่ม กลุ่มละ 2 คนค่ะ หนึ่งทำคู่กับคุณเพียงใจ โพธิ์เงิน) การทำ Evidence Best Practice ค่ะ เป็นวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังขั้นสูง 1 โดยมี รศ.ดร.บำเพ็ญจิต แสงชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาค่ะ

          การทำ evidence best practice มีหลาย Model ให้เราเลือกใช้ค่ะ แต่หนึ่งเลือกใช้ Model ของ Rosswurn & Larrabee (1999) ซึ่งมีด้วยกัน 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินปัญหาที่ต้องการแก้ไข

ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการเชื่อมโยงปัญหาที่ต้องการแก้ไขกับการพยาบาลและผลลัพธ์ของการแก้ไข

ขั้นตอนที่ 3 การสังเคราะห์เพื่อให้ได้หลักฐานที่ดีที่สุด

ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบแผนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Clinical Nursing Practice )

ขั้นตอนที่ 5 การนำไปใช้และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

ขั้นตอนที่6 การผสมผสานสู่การปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติใหม่

 

ขั้นตอนที่ 1

การประเมินปัญหาที่ต้องการแก้ไข

          ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่หนึ่งคิดว่ายากที่สุดเลยค่ะ แหะๆ เพราะหนึ่งเองยังไม่ค่อยเข้าใจ phenomena เท่าไหร่นักค่ะ ในครั้งนี้ทำให้หนึ่งได้เข้าใจถึง phenomena ได้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด (คิดว่างั้นนะคะ อิอิ)อารมณ์ประมาณว่า "อ๋อ...มันยังงี้นี่เอง" ด้วยการแนะนำจากอาจารย์บำเพ็ญจิต ^___^

          phenomena ที่พบขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่ตึก 5ข รพ.ศรีนครินทร์ สรุปได้คือ ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับการรักษาแบบผสมผสาน (ผ่าตัด , เคมีบำบัด , รังสีรักษา) มีความวิตกกังวลระดับปานกลาง ถึง ระดับสูง คือ 50 - 70 คะแนน (โดยใช้แบบวัดความวิตกกังวลของ Spielberger (1996) ฉบับแปลภาษาไทยโดยนิตยา คชภัคนี , สายฤดี วรกิจโภคาทร  และมาลี นิสัยสุข (2531) มาประเมินความวิตกกังวลผู้ป่วย)

 ขั้นตอนที่ 2

กระบวนการเชื่อมโยงปัญหาที่ต้องการแก้ไขกับการพยาบาลและผลลัพธ์ของการแก้ไข

          

 

แหะๆ ดึกอีกแล้ว ไว้จะกลับมาเขียนบันทึกใหม่วันหน้าดีกว่าค่ะ

 

มาเขียนต่อแล้วนะคะ อิอิ

ขั้นตอนที่ 3

การสังเคราะห์เพื่อให้ได้หลักฐานที่ดีที่สุด

โดย

 

 

 

หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินงานิวจัยที่เราได้มาค่ะ ว่าเหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มที่เราต้องการ เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานหรือไม่

 ยังไม่จบอีกจนได้ แหะๆ เดี๋ยวมาเขียนต่อค่ะ ^___^

 

มาเขียนต่ออีกแล้วค่ะ อิอิ บันทึกนี้จะต้องเขียนกี่ครั้งน้อ กว่าจะจบบันทึก

ขั้นตอนที่ 4

การออกแบบแผนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Clinical Nursing Practice )

ซึ่งจะมีส่วนประกอบดังนี้

1. ชื่อเรื่อง

"แนวทางการฝึกโยคะอาสนะเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ได้รับการรักษาแบบผสมผสาน(ผ่าตัด , เคมีบำบัด และรังสีรักษา)"

2. วัตถุประสงค์

3. ลักษณะของผู้ป่วย

4. เครื่องมือ

 

 

 

 

 

 

ต่อไปก็คือการประเมินผลค่ะ

1.ประเมินด้วยแบบวัดความวิตกกังวลชุดเดิม หลังการฝึกโยคะอาสนะ

2. ประเมินความยากง่ายของท่าโยคะอาสนะลดความวิตกกังวล

ว้า...เขียนไม่จบอีกแล้วค่ะ แหะๆๆ ไว้มาเขียนต่อนะคะ กลับบ้านก่อน

มาต่อให้จบดีกว่านะคะ อิอิ

ขั้นตอนที่ 5

การนำไปใช้และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

การประเมินความเป็นไปได้ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ (Polit & Beck, 2004)

1. Transferability การถ่ายทอด นำลงสู่การปฏิบัติ

          แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการนำโยคะอาสนะมาช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับการรักษาแบบผสมผสาน (การผ่าตัด,เคมีบำบัด และรังสีรักษา)

       - กลุ่มเป้าหมายในโครงการคล้ายคลึงกับในหน่วยงาน

       - จำนวนผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายมากพอ

       - ใช้เวลาไม่นานในการประเมินผล

2. Feasibility of implementation ความเป็นไปได้

          แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการนำโยคะอาสนะมาช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับการรักษาแบบผสมผสาน (การผ่าตัด,เคมีบำบัด และรังสีรักษา)

       - พยาบาลมีอิสระในการดำเนินโครงการและมีอิสระในการยุติโครงการหากพบว่าไม่ได้ผล

       - การดำเนินโครงการรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่หากต้องทำทุกวัน

       - เจ้าหน้าที่ให้ความสนใจในการฝึกโยคะ

3.  Cost benefit ratio ความคุ้มทุน

          แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการนำโยคะอาสนะมาช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับการรักษาแบบผสมผสาน (การผ่าตัด,เคมีบำบัด และรังสีรักษา)

       - ความเสี่ยงที่อาจเกิดกับผู้ป่วย มีโอกาสเกิดการฝืนฝึกในท่าที่ทำไม่ได้ แล้วก่อให้เกิดการบาดเจ็บ

       - ประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้ป่วยคือช่วยลด anxiety ทำให้ผู้ป่วยมีกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเดียวกันในขณะรับการรักษา สำหรับการพูดคุยกัน

       - ค่าใช้จ่ายในโครงการ หากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถนำฝึกโยคะเองได้ อาจต้องส่งเจ้าหน้าที่ที่ให้ความสนใจเข้าโปรแกรมการฝึกโยคะอาสนะก่อนเพ่อมาเป็นผู้นำผู้ป่วย 

การวางแผนในการนำโครงการ ใช้ผลงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติ

1. ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้แนวปฏิบัติ พร้อมทั้งปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะ

2. นำเสนอหัวหน้างานเกี่ยวกับโครงการใช้แนวทางการปฏิบัติแก่หน่วยงานที่จะใช้แนวปฏิบัตินี้

3. กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อนำไปปฏิบัติในหน่วยงานโดยจัดประชุมบุคลากรผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการสื่อสารที่ตรงกัน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

4. นำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการฝึกโยคะอาสนะลด anxiety ในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช ไปทดลองใช้นำร่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน และประเมินผลการใช้เป็นระยะ

5. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและหน่วยงานต่อไป

6.ถ้าพบว่าผลลัพธ์เกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วยให้ยุติโครงการทันที

การวางแผนประเมินผลลัพธ์ของโครงการใช้ผลงานวิจัย

1.ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย: ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับการรักษาแบบผสมผสาน มีความวิตกกังวลลดลง

2. ผลลัพธ์ด้านครอบครัว: ครอบครัวเกิดความพึงพอใจ และเข้าร่วมการฝึกโยคะพร้อมกันกับผู้ป่วย สร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

3. ผลลัพธ์ด้านหน่วยงาน: มีมาตรฐานเดียวกันการปฏิบัติงานมีคุณภาพน่าเชื่อถือ หน่วยงานมีการพัฒนามากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

4. ผลลัพธ์ด้านบุคลากรในหน่วยงาน: มีความพึงพอใจ

5. ผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ : ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

ขั้นตอนที่ 6

การผสมผสานสู่การปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติใหม่

          สร้างกลยุทธ์เพื่อทำให้เกิดการนำไปปฏิบัติทั้งองค์กรเมื่อศึกษานำร่องแล้วได้ผลดีเริ่มนำวิธีการขยายผลสู่การปฏิบัติในวงกว้างขึ้นโดยการทดลองใช้ในหน่วยงาน, นำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ (CQI), ประเมินผลโครงการเป็นระยะ และวัดเรื่องความร่วมมือของบุคลากร

สำหรับการฝึกปฏิบัติและทำงาน evidence best practice ครั้งนี้ ทำให้หนึ่งได้ทราบถึง

1. กระบวนการทำ evidence best practice 

2. ทราบถึงปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกๆขั้นตอน แม้แต่ขั้นตอนการใส่ key word ในการค้นหาข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านๆมาค่ะ

3. ได้ฝึกการแก้ไขปัญหา

4. ฝึกการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในแหล่งฝึก

5. ฝึกการตรงต่อเวลา และจัดลำดับความสำคัญ บริหารจัดการกระบวนการต่างๆให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

6. ฝึกทักษะสมรรถนะของ APN

7. นอกจากจะได้ประโยชน์กับตัวเองต่างๆมากมายแล้ว หนึ่งยังสามารถนำเอาผลงานที่ทำในวิชานี้ มาใช้กับงานที่ทำอยู่ประจำได้อีกด้วยค่ะ ^___

 

เย้ๆๆๆ ในที่สุดก็เขียนบันทึกนี้จบแล้ว อิอิ ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะคะ

หมายเลขบันทึก: 314010เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

.... อ่านแล้ว... - - - 2009 ของผมง่ายกว่าเยอะเลยครับ ^^

เช้าแล้วครับ อิอิ

...

สู้ต่อไปครับ

สวัสดีค่ะคุณ pisitssru

มะละกอ 2009 เหรอคะ อิอิ

ยังงงอยู่เลยค่ะ ว่าเป็นภาพวาด หรือเป็นประติมากรรม (ไม่รู้ใช้คำถูกป่าวนะคะ แหะๆ)

ดูแล้วไม่ง่ายเลยนะค้า .. ^__^

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่า

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

วันนี้จะพยายามเขียนให้ครบทุกขั้นตอนค่า สู้ๆๆ อิอิ

ใช่แล้วครับ.. มะละกอ

เป็นภาพวาดจิตรกรรม บนผืนผ้าใบแบนๆ ระบายสีด้วยสีอะคริลิก (Acrylic)

เป็นสีที่มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป (ร้านขายยาไม่มี --")

ไม่ใช่ประติมากรรม (แม่นแล้ว..)

งานประติมากรรมเป็นประเภทงานปั้น งานแกะสลัก ฯลฯ ... น่ะครับ

---------

แล้วจะมาอ่านต่ออีก 3 ขั้นตอนครับ ^^

ว้าว...มะละกอ 2009 เป็นภาพวาดเหรอคะนั่น

ตรงข้างล่างดูเหมือนสีหยดๆเลยค่า สุดยอดๆๆๆ

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

มาเป็นระยะๆๆ ค่า อิอิ

สักวัน... ต้องเขียนจบแน่.. ^^

เย้ๆๆ.. ในที่สุดก็เขยนบันทึกนี้จบแล้วค่า อิอิ

ยินดีด้วย... ได้อ่านจนจบแล้วครับ

เย้ๆๆๆ ยินดีด้วยที่เขียนบันทึกจนจบ

และทำให้คุณ pisitssru เจ้าของผลงานมะละกอ 2009

ได้อ่านจนจบ อิอิ

ขอบคุณมั่กๆค่า ที่ติดตามอ่านจนจบ

รออ่านบันทึกคุณ pisitssru อยู่นะคะเนี่ย ^___^

เคยเขียนอยู่บ้างเหมือนกัน... แต่ไม่ค่อยถนัด

ก็เลยมาเป็นผู้อ่านอย่างเดียว น่าจะเหมาะมากกว่าเขียนครับ...

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณครูต้อยติ่ง

มีความสุขมากๆตลอดปีตลอดไปนะคะ ^___^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท