ตามผู้เชี่ยวชาญไปดูเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง


เพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง

มีผู้เชี่ยวชาญจาก CIAT มาเมืองไทย CM มันก็เป็นเจ้าภาพไปดูพื้นที่ เริ่มจากศวร.ระยอง เป็นแหล่งที่เจอรุนแรง มีพี่ๆจากอารักขา-พืชไร่-ร่วมคณะ คนระยองบรรยายด้วยภาพของเหตุการณ์ที่พบเพลี้ยแป้งในแปลงสาธิตพันธุ์ของศูนย์ภาพเดือนมกราคม 51 ที่เพิ่งปลูกพันธุ์ระยอง 90 พอกุมภาพันธ์ อายุ 4 เดือน ยอดมันสำปะหลังถูกทำลายเห็นได้ชัดจากยอดที่หงิก แปลงต่อไปแปลงทดสอบพันธุ์ระยอง 5 มีนาคม 2551 มีเพลี้ยแป้งขาวเต็มยอด - เพลี้ยแป้งสีเขียวมาใหม่ อีกแปลงพันธุ์ระยอง 9 มีนาคม 2552 เพลี้ยแป้งสีชมพู พี่เล็กบอกว่าจากการสำรวจการระบาดในแปลงเกษตรกรปีนี้จะประสบปัญหาในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ช่วงเวลาแต่ละปีแตกต่างกัน เรามาช่วงนี้(พย.) มันฟื้นตัวใบเจริญใหม่เขียวและเหมือนปกติสังเกตุจากภายนอกยาก นี้มีฝนเดือนพฤศจิกายนด้วย

ความเสียหายของเพลี้ยแป้งทุกภาคส่วนประเมินกันต่ำมากทำให้ผลผลิตปีนี้น่าจะไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โรงงานแป้งมันน่าจะเดือดร้อนสุดในการหาวัตถุดิบเข้าโรงงาน และการนำท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งไปสู่แหล่งที่ยังไม่มีการระบาดยังเกิดขึ้น และกลายเป็นธุระไม่ใช่ ที่สำคัญหน่วยงานของรัฐก้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง การทุ่มงบประมาณเพื่อการแช่ท่อนพันธุ์ในศูนย์วิจัยไม่มี เป็นภาระของผู้บริโภค

ครั้งนี้ได้มีโอกาสเข้าชมมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ด้วยความที่ไม่เคยเข้าไปเห็นภาพแรกก็ประทับใจ พื้นที่ปลูกมันขนาดใหญ่ใช้พันธุ์ห้วยบง 80 เป็นหลัก สภาพแปลงค่อนข้างดูแลเรื่องเพลี้ยแป้งได้ดีพอควร มีการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก และตรวจแปลงสม่ำเสมอ พบเพลี้ยแป้งบ้างแต่ไม่มีอาการลำต้นโค้งงอ และยังแผยแพร่ความรู้ไปยังพื้นที่ตำบลห้วยบงอีกด้วย โดยรวมกับ อบตให้วยบงในการสร้างความตระหนัก และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของตน เป้นความร่วมมือระหว่าง TTDI กับชาวบ้านและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น(กรมพืชก็สนับสนุนทางวิชาการ) สิ่งที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าการร่วมมือกันทำงานป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งทำได้ ต้องอาศัยการทำงานในกลุ่มใหญ่ๆ และขยายวงออกไป การทำงานโดยลำพังไม่มีพลังเพียงพอ และมีต้นทุนสูง

นอกจากเพลี้ยแป้งที่เป็นปัญหาแล้ว เรากำลังจะเผชิญกับปัญหาโรคมันสำปะหลัง แทบไม่น่าเชื่อในอดีตที่เราเคยรู้จักมันสำปะหลังพืชที่ทนทาน ปลูกได้ทุกสภาพจะเริ่มมีปัญหารุมเร้า โรคก็อาศัยจังหวะที่พืชอ่อนแอเข้าทำลายซ้ำ โรคมันที่น่าเป็นห่วงได้แก่ รากเน่า ที่มีสาเหตุได้จากเชื้อรา แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอย โรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคใบใหม้จากเชื้อแบคทีเรีย

ได้รู้จักอาการของโรคที่เราไม่ค่อยได้สังเกต เช่น อาการเหลืองเนื่องจากใส้เดือนฝอย และรากเน่า โรคใบไหม้เนื่องจากแบคทีเรีย และทำให้ใบเหลืองแตกยอดเป็นพุ่ม

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดจาดผู้ร่วมทาง"ความแตกต่างมีแต่ทางวิทยาศาสตร์ไม่มีความแตกต่างเปิดใจให้กว้าง แลกเปลี่ยนกับผู้อื่นจะเรียนรู้และพัฒนาตนเองและความรู้ได้"

คนเราก็แปลกไม่รู้จักกันยังยินดีที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งดี ๆ แก่กัน แต่คนที่เจอกันทุกวันกลับไม่อยากพูดคุย การพูดคุยทำใหเเกิดการเรียนรู้ และสามารถคิดต่อไปได้ มีคนช่วยคิด อยากให้ทุกคนทำงานเพื่อคนอื่นมากขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #มันสำปะหลัง
หมายเลขบันทึก: 313947เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท