การสร้างบัญชีออมใจ(EBA)


EBA

        มารู้จักคำว่าบัญชีออมใจกันก่อน ส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะรู้จักบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารต่าง ๆ ความแตกต่างของ 2อย่างนี้ อยู่ที่ไม่สามารถนับเป็นจำนวนได้   มีผู้ได้นิยามความหมายไว้ ดังนี้

         บัญชีออมใจ(EMOTIONAL BANK ACCOUNT)หรือ EBA คือคำเปรียบเปรยถึงระดับความไว้วางใจในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การฝากนั้นเป็นการสร้างและซ่อมแซมความไว้วางใจในสัมพันธภาพ การถอนเป็นการทำลายและลดความไว้วางใจในสัมพันธภาพ มีตัวอย่างของการสร้างบัญชีออมใจ และการถอนบัญชีออมใจ  ซึ่งได้อ้างอิงจากเอกสาร " The 7 habits of highly Effective people  "  Franklin Covey ไว้ดังนี้

ตัวอย่าง การฝากบัญชีออมใจ:

1.เข้าใจผู้อื่นก่อน                            2.แสดงความเมตตา สุภาพ เคารพ

3.รักษาสัญญา                                4.ซื่อสัตย์ต่อผู้ไม่อยู่ในเหตุการณ์

5.สร้างความคาดหวังต่อกันที่ชัดเจน     6.กล่าวขอโทษ

7.ให้ข้อคิดเห็นสะท้อนกลับ                    8.ให้อภัย

ตัวอย่าง การถอนบัญชีออมใจ :

1.คิดเองว่าคุณเข้าใจ                       2.แสดงความโหดร้าย หยาบคาย

                                                            ขาดความเคารพ

3.ไม่รักษาสัญญา                             4.ไม่ซื่อตรงต่อกัน นินทาลับหลัง

5.สร้างความคาดหวังต่อกันที่ไม่ชัดเจน    6.หยิ่งยโส

7.ไม่ให้ข้อคิดเห็นสะท้อนกลับหรือ            8.คับข้องใจ อิจฉาริษยา

ประเมินคุณลักษณะของผู้อื่น  

           จากตัวอย่างตามที่อ้างอิงแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนจะได้พบในการติดต่องาน  กิจกรรมที่ต้องร่วมแรง ร่วมใจและการติดต่อพบปะ สังสรรค์ โดยการพูดคุย  การสร้างบัญชีออมใจดูเหมือนยากแต่การถอนบัญชีออมใจทำได้ง่ายบางครั้งทำโดยไม่รู้สึกตัวก็หลายครั้ง  ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมลักสูตร " THE SEVEN HABITS OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE TRAINING PROGRAM ระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2549 " เมื่อมีโอกาสขอนำทฤษฎีที่ดี มาเล่าสู่กันฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างบัญชีออมใจเป็นการสะสมความพึงพอใจ สัมพันธภาพที่ดีในการติดต่องาน การบริการรวมถึงลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ถึงแม้จะไม่ได้ผลเด็ม 100 % อย่างน้อยก็ลดการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อกัน การพูดคุยและต่างฝ่ายยอมรับ ไม่เอาชนะกันและกัน เห็นประโยชน์ของส่วนรวมในองค์กร มากกว่าส่วนตน องค์กรนั้น ๆ จะเจริญในทางตรงและทางอ้อม บุคลากรพบกันจะมีแต่รอยยิ้ม การบริการที่เรียกว่า SEVICE MIND จะเกิดขึ้นในองค์กรนั้น ๆ   การทำงานด้านบริการจะต้องโยงใยและเชื่อมสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรด้วย บางครั้งมีการติดต่อโดยตรง ทางโทรศัพท์ ทางโทรสาร หรือทางอีเมล์  ดังนั้น ถ้าจะเป็นนักบริการที่ดี ต้องหมั่นฝึกฝน เรียนรู้ และใช้ทฤษฎีที่มีผู้ที่ได้ผ่านประสบการณ์เขียนขึ้นเผยแพร่มาลองทำดู ใช้ประสบการณ์จริงจากตัวเองที่ต้องลองผิด ลองถูกหลายครั้งมาใช้ บางครั้งก็ประสบความสำเร็จและหลาย ๆ ครั้งก้ล้มเหลว   เพราะการบริการเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเอาอะไรมาชี้วัดได้เหมือนอย่างเรื่องอื่น ๆ แต่วัดออกมาจากความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ ค่าที่ออกมาเป็นร้อยละเมื่อเทียบกับจำนวนเต็ม 100 คะแนน(%)  เท่านั้น  ทฤษฎีแห่งสร้างบัญชีออมใจ(EBA)หรือ อีบ้า ที่เราเรียกเป็นภาษาไทย  ก็ถึงเวลาอวสานเพียงเท่านี้ หากมีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดนำไปลองใช้ แต่สิ่งใดที่ไม่เป็นประโยชน์ขอให้ลืมไปนะคะ แล้วพบกันอีก(ลปรร.)

 

 

 

 

 

                                               

                                                                                                                                                          

 

คำสำคัญ (Tags): #eba
หมายเลขบันทึก: 31384เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อ่านแล้วเป็นประโยชน์มากๆ เลยคะ รู้สึกว่ามีส่วนที่ใช่ทั้งในตัวเราและเพื่อนร่วมงาน แต่จะขอเอาส่วนที่ใช่ของเรามาปรับปรุงตัวเองก่อน เพื่อจะได้ให้ทุกคนที่ทำงานได้ร่วมกันสร้างบัญชีออมใจ ส่วนตัวเองก็มีลูกสาวที่ชื่อ น้องออม ก็สร้างเค้าให้เป็นคนที่ออมใจด้วยคะ

รู้สึกดีใจมาก ๆ ที่เป็นประโยชน์กับคุณตุ๊กและน้องออม (ชื่อน่ารักมาก) วันนี้เป็นวันแม่ EVERLASTING ขออวยพรให้ คุณแม่ตุ๊ก และลูกออม มีพลานามัยแข็งแรง และมีพลังงานที่จะสร้างการออมใจกับเพื่อนร่วมงานและเครือข่ายนะคะ มีอะไร ลปรร.กันนะคะ

บทความเขียนเมื่อ 14ปีที่แล้ว แต่ยังทันสมัย ใช้ได้อยู่เลย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท