๑๘.เป็นนักกฎหมายอย่างผม(อัยการ๑๔)ไม่มีหลักฐานออกโฉนดได้ไหม....


การที่โจทก์ที่ ๔,๕,๖ ขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย โจทก์ที่ ๔,๕,๖ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดินด้วย กล่าวคือ เนื่องจากโจทก์ที่ ๔,๕,๖ อ้างว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครอง จึงจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๕๙ ทวิ

(ผมเขียนแถลงการณ์ปิดคดีในช่วงนี้โดยอ้างข้อกฎหมายในการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายว่าจะต้องทำอย่างไร แต่เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ออกโฉนดไม่ได้ ลองอ่านดูนะครับจะเข้าใจกฎหมายที่ดิน....)

การที่โจทก์ที่ ๔,๕,๖ ขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย โจทก์ที่ ๔,๕,๖ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดินด้วย กล่าวคือ เนื่องจากโจทก์ที่ ๔,๕,๖ อ้างว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครอง จึงจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๕๙ ทวิ ซึ่งบัญญัติว่า

ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.. ๒๔๙๗ แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ตรี  ถ้ามีความจำเป็นจะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็น สมควรให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่  ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด  เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

ซึ่งตามกฎหมาย หากพื้นที่นั้นมีการสำรวจทั้งตำบลโจทก์ที่ ๔,๕,๖ จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๒๗ ตรี ซึ่งบัญญัติว่า

เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสำรวจตามมาตรา ๕๘ วรรคสอง ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้ แจ้งการครอบครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.. ๒๔๙๗ หรือผู้ซึ่งรอคำสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา ๒๗  ทวิ แต่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวนถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำหรือส่งตัวแทนมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงจากเอกสารที่จำเลยอ้างส่งศาล ตามเอกสารหมาย ล.๒ และ ล.๖๔ ในช่วงระยะเวลาที่มีการเดินสำรวจทั้งตำบล บุคคลที่อ้างว่าได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาททุกคนทุกแปลงหามีใครนำสำรวจรังวัดแต่อย่างใดไม่พยาน หลักฐานที่โจทก์อ้าง ตามเอกสารหมาย จ.๒๓,จ.๒๔,จ.๖๗,จ.๘๙,จ.๙๐,จ.๑๑๓,จ.๑๔๕ ก็อ้างว่า เช่น นายลำดวน สงคราม อ้างว่าไม่อยู่ในระหว่างการเดินสำรวจบ้าง การเดินสำรวจรังวัดมาไม่ถึงที่พิพาทบ้าง แต่จำเลยมีพยานหลักฐานยืนยัน(หมาย ล.๒,ล.๖๔)ได้ว่ามีการเดินสำรวจผ่านที่พิพาทแล้ว และมีบุคคลอื่นนำรังวัดเพียงแต่ทางราชการอ้างว่าผู้นำรังวัดได้นำรังวัดโดยไม่ชอบทับที่ดินของผู้อื่น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วเป็นการนำรังวัดทับที่ดินที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่ของบริษัทว. ซึ่งต่อมาในวันที่ ๒๗  สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ทางราชการ และ ผู้ปกครองท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ ได้ทำตามข้อเสนอแนะของบริษัท ว. จำกัด ให้ทางราชการอนุรักษ์ที่ดินพิพาทไว้เพื่อชนรุ่นหลัง จากการตรวจสอบพบว่า มีลักษณะของพื้นที่ เป็นแนวยาวตลอดชายฝั่งอ่าวรายัน เกิดจากการตื้นเขินของทะเลตามธรรมชาติ ถือเป็นที่งอก ฯลฯ มีราษฎรบุกรุก ประมาณ ๕๐ ราย โดยได้บุกรุกมาประมาณ ๒ ปีแล้ว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.๓๐ ซึ่งแสดงว่าราษฎรเพิ่งบุกรุกหาใช่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแต่อย่างใดไม่

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ จำเลยที่ ๓ ได้ออกประกาศ ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินพร้อมแผนที่แนบท้ายประกาศ  รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.๓๑ ถึง ล. ๓๕ จากการตรวจสอบที่ดินก่อนประกาศไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดปลูกผลอาสินในที่ดินพิพาท คงมีแต่เพียงผู้บุกรุกจำนวน ๕๐ ราย ซึ่งเป็นการบุกรุกหลังจากที่ มีการเพิกถอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังกล่าวแล้ว และที่น่าสังเกตอย่างยิ่งก็คือ การที่นายข. นายป. และนายน. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในที่พิพาทคดีนี้ ซึ่งได้ความต่อมาภายหลังว่าเป็นการนำสำรวจรังวัดโดยไม่ชอบ จำเลยเห็นว่า การที่บุคคลทั้งสามได้แจ้งการครอบครองและได้ให้การกับทางราชการว่าการที่กระทำดังกล่าวเพราะนายฮ. บอกว่ามีที่ว่าง จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยว่าในขณะที่มีการรังวัดสำรวจเพื่อออกน.ส.๓ ทั้งตำบล ในขณะนั้นยังไม่มีบุคคลใดเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเลย จึงเป็นช่องว่างให้คนที่รู้ว่าที่ดินดังกล่าวว่างอยู่เข้าแสวงหาประโยชน์

ระหว่างที่ โจทก์ที่ ๔ ที่ ๕ และโจทก์ที่  ๖ ยื่นคำเรื่องราวขอออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทนั้น มีบุคคลผู้มีชื่อจำนวนหลายรายร้องเรียนการขอออกโฉนดดังกล่าว ขณะเดียวกัน บริษัท ว. จำกัด เจ้าของประทานบัตรซึ่งยังไม่สิ้นอายุ ได้ขอถอนประทานบัตรเพื่อเปิดทางให้ผู้ขอออกโฉนดสามารถออกโฉนดได้ ทั้งที่ได้ทำการตรวจสอบแล้วว่า ที่ดินที่ขอออกโฉนด อยู่ในเขตประทานบัตร รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.๗ ,ล ๕๑ และ ล. ๕๒ จนในที่สุด มีการตรวจสอบความเป็นมาของที่ดินพิพาทอีกครั้งจากเอกสารการยื่นเรื่องราวขอออกโฉนด (ไหนๆก็ไหนๆแล้วขอจบตอนหน้าก็แล้วกัน อิอิ)

หมายเลขบันทึก: 313805เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาส่งไปทำงานครับ
  • เอากำลังใจมาฝาก
  • ขอให้โชคดีและมีความสุข 
    • โหนึกว่าจะจบตอนนี้ ฮา
    • รออ่านตอนจบอีกนะครับ
    • เย้ๆๆ
    • สวัสดีครับ
    • ที่ดินที่ขอออกโฉนด อยู่ในเขตประทานบัตร แสดงว่าก่อนหน้านี้ก็ไม่มีใครครอบครอง แต่เป็นของรัฐอยู่แล้วใช่ไหมครับ
    • ...
    • คิดเหมือน อ.ขจิตเลย
    • อิอิ...
    • ยิ่งอ่านยิ่งมันครับ

    สลามครับท่านเบดูอิน

    ทำงานเสร็จไปเรื่องหนึ่งแล้ว เลยแว๊บมาเปิดดูบันทึก

    ขอบคุณที่ตามมาส่งถึงที่ทำงาน อิอิ

    สวัสดีครับ อ.ขจิต

    เรื่องนี้มันจริงๆ ผมได้ความรู้เกี่ยวกับที่ดินอีกเยอะเลย เช่น UTM เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบตรวจสอบรังวัด แต่ลูกน้องผมทะลึ่งแปลว่าเป็นระบบ Under Table Money

    เรื่องนี้ต้องอ่านให้จบ ไม่งั้นมันจะคันหัวใจ อิอิ

    สวัสดีครับสิงห์ป่าสัก

    แฟนพันธุ์แท้ตัวจริงเสียงจริง อิอิ

    ในสมัยก่อนปี ๒๕๑๐ การทำเหมืองแร่ หากมีการขอประทานบัตรทำเหมืองในที่ดินที่มีราษฎรครอบครอง รัฐจะต้องซื้อที่ดินคืนมาก่อน แล้วจึงนำไปจัดการให้มีการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ ดังนั้นจึงต้องเป็นที่ดินของรัฐเท่านั้น แต่ต่อมาภายหลัง ที่ดินที่จะขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ หากเป็นที่ดินของเอกชน เจ้าของที่ดินนั้นจะต้องมีหนังสืออนุญาตให้ผู้ขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่ดินนั้นได้เขาจึงจะออกประทานบัตรให้ ส่วนใหญ่จะเป็นการตกลงเรื่องค่าตอบแทนกันและมีข้อสัญญากันว่าเมื่อการทำเหมืองแร่ผ่านไป ผู้ขอประทานบัตรจะต้องทำที่ดินให้กลับสู่สภาพเดิมและคืนที่ดินให้กับเจ้าของที่ดินเดิม

    มีเรื่องเกี่ยวพันกับเรื่องนี้ที่ผมกำลังตรวจสอบอยู่ซึ่งผู้บังคับบัญชายังชั่งใจอยู่ว่าจะให้ผมเข้าไปทำคดีหรือไม่เพราะจะมีผลกระทบต่อจิตใจของชาวบ้านแถวนั้นเนื่องจากผู้ที่ครอบครองปัจจุบันเป็นวัดแต่เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของผู้ที่แวดล้อมวัดนะสิครับ อาจจะเพียงแค่ทำคำให้การยื่นเอกสารทั้งหมดมัดไว้ในชั้นต้น ซึ่งผมสั่งทำแผนที่ประทานบัตรประกอบ แผนที่ระวางที่ดิน บวกกับแผนที่ของราชพัสดุไว้แล้ว อาจจะไม่ต้องไปว่าความเองเพราะแค่เห็นแผนที่ก็เข้าใจได้ง่ายแล้วครับว่า วัดได้รับที่ดินมาโดยผู้ยกให้ไม่มีอำนาจใดๆ เข้าหลักกฎหมาย "ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"ครับ

    สวัสดีค่ะ คุณลุงอัยการ

    • พอดีคนใกล้ๆบ้านมีปัญหาเรื่องที่ดิน คือคุณป้าอรเขามีที่ดินติดเขา เขาก็ทำไร่ตามปกติ(ไม่มีหลักฐานการถือครองที่ดิน) อยู่มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาบอกว่าที่ดินผืนนี้เป็นของป่าไม้ แล้วก็ทำการยึดที่ดินไป ต่อมาที่ดินผืนที่ยึดไปเนี่ยทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยกให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่คนนั้น อ้าวตกลงมันยังไงกัน ป้าเขามานั่งร้องไห้กับแม่ทุกวันเลย ทำไงดีค่ะ
    • เพชรบุรีอากาศเริ่มเย็นแล้ว แผลตึงเดี๊ย(สุนัขมันคงนั่งยิ้มเยาะว่าเอ็งอยากขี่รถชนข้า)ฮ่าๆ

    สวัสดีหนูแอ้ม

    ข้อมูลเพียงแค่นี้ให้คำตอบไม่ได้หรอก เพราะชาวบ้านอยู่มานานแค่ไหน ทำอะไรไว้บ้าง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่มีสิทธิมายึดที่ดินของชาวบ้านไปยกให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ลองแนะนำให้เขาไปพบพนักงานอัยการฝ่ายช่วยเหลือกฎหมายที่สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีดูไหมล่ะ อาจจะได้คำแนะนำที่ดีและอัยการในพื้นที่เขาจะรู้พื้นที่ดีว่าที่ดินแถวนั้นเป็นอย่างไร ลองไปขอความช่วยเหลือดีไหมล่ะ

    อากาศเย็นแผลตึง มันก็หายเร็ว เพียงงอขาลำบากละซิ อิอิ

    สวีสดีครับ

    ผมนับถือในความดีที่ท่านวางเเนวทางให้ครับ

    ผมขอให้ท่านชี้ทางความถูกต้องให้ลุงผมด้วยครับเเละเป็นเเนวทางให้กับประชาชนที่ยังมืดมน

    ข้าพเจ้านําสค1ไปออกโฉนด (เนื้อที่ในสค1)

    ในสค1 ทิศเหนือจด ที่ดินว่างเปล่า

    ทิศใต้จด ที่ดินว่างเปล่า

    ทฺศตะวันออกจดนาย ไข่ ไชยศรี

    ทิศตะวันตกจด ที่ดินว่างเปล่า

    ปัจุบันตาม (ข้อเท็จจริง) ช่างรังวัดได้รังวัดโดยเจ้าของที่ดินเเละ

    เจ้าของที่ดินข้างเคียงบันทึกใน ทด16 บันทึกข้างเคียงเปลี่ยนเเปลง

    ทิศเหนือจด นส3ก เลขที่560

    ทิศใต้จด ที่มีการครอบครอง นายรัตน์ หลักบ้าน

    ทิศตะวันออกจด โฉนดเลขที่46888

    ทิศตะวันตกจด ที่มีการครอบครอง นาววิลัย คมกฤต

    มีการรับรองเเนวเขตทุกด้าน

    เนื้อที่ในสค1มีเนื้อที่ 7 ไร่

    1 ช่างรังวัดใหม่ได้ 12ไร่ 1งาน22ตารางวา ตามที่ได้ครอบครองเเละทํา

    ประโยชน์อยู่จริง

    2 สํานักงานที่ดินได้ออกประกาศครบ30วันไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้านสิทธิ

    ในที่ดินเเต่อย่างใด

    3 คณะกรรมการตามกฏกระทรวง43(พศ2537) ได้ออกพิสูจน์เเล้ว

    สภาพที่ดินเป็นควนเขา ท๋าสวนผสม ปลูกทุเรียน สะตอ เดิมที่ดินเป็น

    สวนยางพารา ที่ดินอยู่นอกเขตป่าถาวร อยู่คาบเกี่ยวป่าสงวนเเห่ง

    ชาติ ป่าเขานาคเกิด ตณะกรรมการมีความเห็นว่าควรออกโฉนดให้ผู้

    ขอได้ทั้งเเปลง

    หลังจากนั้น มีหนังสือจากที่ดิน จังหวัดภูเก็ต

    มีความเห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12

    ข้อ 10 กําหนดให้ที่ดินด้านหนึ่งด้านใดจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่าเปล่า

    เเละระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฎในหลักฐานเเจ้งการตรอบ

    ครองให้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลัก

    ในการออกโฉนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินรายนี้ผู้ขอได้

    นําการรังวัดเกินระยะในสคมากเเละเดิมสคเเจ้งจดที่รกร้างว่างเปล่า

    ถึงด้านตือด้านทิศเหนือ ทิศใต้ เเละทฺศตะวันตก จึงเป็นเหตุให้เนื้อที่

    เกินหลักฐานสค1เดิมมากด้วยเเละผู้ขอไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่รังวัด

    กันระยะตามสค1 ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่

    ดินเเห่งชาติฉบับที่พศจึงเห็นควรกันระยะตามสค1 เเละเเจ้งให้ผู้ขอ

    ทราบ เพื่อให้โอกาศอุธรณ์คําสั่งต่อไป

    จึงเกิดคําถามว่าเเนวทางปฏิบัติว่าการออกโฉนดว่าจะยึดเนื้อที่ตาม

    สค1 หรือ ข้อเท็จจริง เพื่อเป็นเเนวทางในการปฏิบัติ

    ถ้ายึดตามสค1 ข้าพเจ้าได้เนื้อที่7ไร่เพราะยึดตามเนื้อที่เเจ้งในสค1

    ถ้ายึดตามข้อเท็จจริงข้าพเจ้าได้12ไร่1งาน22ตารางวปัจุบันข้างเคียงเปลี่ยนเเปลงมีการรับรองเเนวเขตทุกด้าน

    ขอให้ความดีที่ท่านทํามาปกป้องท่านเเละให้ท่านมีความเจริญรุ่งเรืองครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    มานพ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท