สรุปงานวิจัย เล่มที่ 1


 

 

ชื่อเรื่อง

                              รายงานการวิจัยการศึกษากรณีตัวอย่างโรงเรียนดีมีคุณภาพ : โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง

                              โดย  สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549

 

วัตถุประสงค์การวิจัย

                              เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนดีมีคุณภาพ ในระดับมัธยมศึกษาขนาดกลางในด้านปัจจัย  กระบวนการ  และผลผลิต

 

วิธีการดำเนินการวิจัย

                              ใช้วิธีการศึกษา  2  ลักษณะ  คือ

  1. การวิจัยเอกสาร (Documentary Research)  โดยศึกษาจากเอกสารวิชาการ  เอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  บทความ  วารสาร  รายงานการวิจัย  และวิทยานิพนธ์  ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่มีคุณภาพ
  2. การวิจัยภาคสนาม (Field Research)  โดยศึกษาโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษา  โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์  และศึกษาจากเอกสารหลักฐานการศึกษา  บันทึก  รายงานการประชุม  และรายงานการประเมินของสถานศึกษา

 

ประชากร

1.  เอกสารวิชาการ เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตร บทความ วารสาร รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับโรงเรียนที่มีคุณภาพ

2.  โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง (มีนักเรียน 501 – 1,500 คน) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.  ผู้บริหาร  ได้แก่  ผู้บริหารโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.  ครู  ได้แก่  ผู้สอนที่เป็นข้าราชการ และครูอัตราจ้าง  รับผิดชอบสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5.  คณะกรรมการสถานศึกษา  ได้แก่  ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา

6.  ผู้ปกครองนักเรียน  ได้แก่  ผู้ที่มีบุตร-หลานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มตัวอย่าง

                              1.  เอกสารวิชาการ  เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   บทความ วารสาร  รายงานการวิจัย   และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับโรงเรียนที่มีคุณภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 – 2548

                              2.  โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงรวมจำนวน 4 โรงเรียน  กระจายตามภาคภูมิศาสตร์  โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนดีมีคุณภาพคือ

                                             2.1  โรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน และหรือ

                                             2.2  โรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์สำนักงานรับรองมาตรฐาน          และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  ครั้งที่ 1  ที่มีผลการประเมินในระดับ 3 ทุกมาตรฐาน

                              3.  ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน  มีดังนี้

                                             3.1  ผู้บริหารโรงเรียน

                                             3.2  ครูผู้ให้สัมภาษณ์เป็นครูผู้สอน 8กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมโรงเรียนละ 9 คน

                                             3.3  นักเรียน  นักเรียนที่ให้สัมภาษณ์เป็นนักเรียนที่ทางโรงเรียนสุ่มเลือกให้ในแต่ละช่วงชั้น  ช่วงชั้นละ 9 คน กระจายทุกชั้นปี

                                             3.4  คณะกรรมการสถานศึกษา และหรือผู้ปกครองนักเรียนที่ให้สัมภาษณ์ เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองที่โรงเรียนสุ่มเลือกโรงเรียนละ 5 คน

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล

                              ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  การศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนดีมีคุณภาพ ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน 2548  ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548  โดยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาแห่งละ 1 วัน

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                              การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนดีมีคุณภาพ  ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ได้กำหนดเพียงแนวทางการสัมภาษณ์ เป็นหัวข้อกว้าง ๆ เท่านั้น  โดยไม่มีการกำหนดคำถามที่ตายตัว

 

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ศึกษาจากเอกสาร หลักฐาน การบันทึก และรายงานของโรงเรียน
  2. สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน  ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระ  นักเรียนทุกช่วงชั้น  คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน  โดยมีประเด็นในการสัมภาษณ์  ดังนี้

2.1.     ปัจจัยที่นำไปสู่โรงเรียนที่ดีทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ   ประกอบด้วย

2.1.1.  ผู้นำ และบุคลากรมีความเข้มแข็ง  ได้แก่  การนำองค์กร  การพัฒนาบุคลากร  และการดูแลคุณธรรมครู

2.1.2.  การบริหารจัดการ  ได้แก่  หลักการบริหาร  ยุทศาสตร์  การวางแผนดำเนินงาน  การนิเทศ  ติดตาม และประเมินผล  ระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน และอาคารสถานที่

2.1.3.  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชน  โรงเรียนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน  บาทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน

        2.2     กระบวนการที่นำไปสู่โรงเรียนดีที่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ   โรงเรียนมีการจัดการทางด้านวิชาการ  ประกอบด้วย

               2.2.1 หลักสูตรสถานศึกษา

               2.2.2 การเรียนรู้  ได้แก่  การจัดการเรียนการสอน  วิธีการจัดการเรียนการสอน  การจัดทำแผนการสอน  และเทคนิคการสอน

               2.2.3 กิจกรรมนักเรียน  ได้แก่  กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  กิจกรรมพัฒนาสุนทรียภาพ  และกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม  จริยธรรม

               2.2.4 ระบบสารสนเทศ  ได้แก่  ด้านการบริหารจัดการ  และด้านการเรียนรู้

               2.2.5 การดูแลช่วยเหลือนักเรียน

       2.3     ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน  ประกอบด้วย

               2.3.1 ผลการเรียนตามมาตรฐาน  ได้แก่  นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางวิชาการ  และความรู้ความสามารถในการแข่งขัน

               2.3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน  การพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

                              การวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษาโรงเรียนดีมีคุณภาพ  มีข้อมูล 2 ประเภท  ดังนี้

  1. ข้อมูลเอกสาร และสารสนเทศของโรงเรียน  ประกอบด้วยเอกสาร  หลักฐาน  การบันทึก  รายงานผลการปฏิบัติงาน  และข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน  วิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  และสรุปความ
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการศึกษาในด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน  ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน  ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระ  นักเรียนทุกช่วงชั้น  คณะกรรมการสถานศึกษา  และผู้ปกครองนักเรียน  วิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  และสรุปความ

ผลการศึกษากรณีโรงเรียนดีมีคุณภาพ

                              การศึกษากรณีตัวอย่างโรงเรียนดีมีคุณภาพในระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนดีมีคุณภาพในระดับมัธยมศึกษาขนาดกลางในด้านปัจจัย  กระบวนการ  และผลผลิต  เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน 2548  ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548  จากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง  จำนวน 4 โรง  โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน  ครู จำนวน 38 คน  นักเรียนจำนวน 65 คน  และชุมชนจำนวน 24 คน  สรุปผลการวิจัย  ดังนี้

1.  ปัจจัยที่นำไปสู่โรงเรียนดีที่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ

               ปัจจัยที่นำไปสู่โรงเรียนดีที่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ  ประกอบด้วยผู้นำ และบุคลากรมีความเข้มแข็ง  การบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชน

1.1     ผู้นำ และบุคลากรมีความเข้มแข็ง  ประกอบด้วยการนำองค์กร  การพัฒนาบุคลากร  และการดูแลคุณธรรมจริยธรรมครู  จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร  ครู  นักเรียน  และชุมชน  พบว่า

1.1.1             การนำองค์กร

1.1.1.1      ผู้บริหารโรงเรียนดีมีคุณภาพเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ  และมีความสามารถในการบริหารจัดการ  กล่าวคือ  ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการจัดการศึกษาให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการบริหารจนเป็นที่ยอมรับของครู  ชุมชน  และผู้ที่เกี่ยวข้อง  ใช้หลักการบริหารงานโดยมีการกระจายอำนาจให้ทุกคนมีส่วนร่วม  มีความรวดเร็วในการทำงาน  มีความสามารถในการประสาน และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น  และมีการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง

1.1.1.2      ผู้บริหารมีคุณธรรม  จริยธรรม  เป็นแบบอย่างที่ดี  เป็นผู้ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ  มีมนุษยสัมพันธ์ดี  มีเมตตากรุณา  การประหยัดอดออม  มีความรับผิดชอบ  มีระเบียบวินัย  ตรงต่อเวลา  ซื่อสัตย์สุจริต  มุ่งมั่น และตั้งใจในการทำงาน  มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  เป็นแบบอย่างที่ดี  ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา  มีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

1.1.1.3      ผู้บริหารมีความเป็นประชาธิปไตย  ใช้หลักการบริหารงานโดยมีการกระจายอำนาจ  มีความโปร่งใสเป็นธรรมในการบริหารงาน  ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่ร่วมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง  และยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ร่วมงาน

1.1.1.4      ผู้บริหารบริหารงานแบบมีส่วนร่วม  เป็นการบริหารงานยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม  โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้ร่วมคิด  ร่วมวางแผน และร่วมปฏิบัติ  กระจายหน้าที่ และอำนาจลงสู่ฝ่ายต่าง ๆ  และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

1.1.2             การพัฒนาบุคลากร   จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร  ครู  พบว่าสถานศึกษามีการพัฒนาบุคลากร  ดังนี้

1.1.2.1      พัฒนาเสริมสร้างความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยโรงเรียนส่งเสริม  สนับสนุนให้บุคลากรทุกคนได้เข้าร่วมการประชุม  อบรม  สัมมนา  ทั้งภายใน และภายนอกโรงเรียน  มีการพัฒนาครูด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  โดยส่งเสริมครูผู้สอนทุกคนให้เป็นครูมืออาชีพให้มีความรู้  สามารถใช้ และผลิตสื่อการสอนต่าง ๆ

1.1.2.2      พัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการ  โดยการให้ความรู้ในเรื่องการประกันคุณภาพสถานศึกษา  การพัฒนาคุภาพทางวิชาการ  โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน และการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา

1.1.2.3      พัฒนาเสริมสร้างความรู้ด้านหลักสูตร  เพื่อให้ครูมีความรู้ในเรื่องหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  การจัดการเรียนการสอน  และการประเมินผลโดยการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้  ทั้งที่จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน  เชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้  และส่งเข้ารับการอบรมสัมมนากับหน่วยงานอื่น

1.1.2.4      การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม  การดำเนินงานแต่ละโครงการ  ดำเนินงานในรูปคณะกรรมการ  และทีมงานมีเจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบที่ชัดเจนตามความรู้ความสามารถของแต่ละคน

1.1.3             การดูแลคุณธรรมครู   ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร  ครู  ผู้ปกครอง  และนักเรียน  พบว่า  โรงเรียนมีการส่งเสริมการเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย  โดยใช้กลยุทธ์การเสริมสร้างวินัยการมาทำงาน  โดยให้ทุกคนยอมรับในกติการ่วมกัน  ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติตนตามหลักศาสนา  ให้ครูมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครูปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูอย่างเคร่งครัด  ส่งเสริมให้ครูมีความเอื้ออาทรปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความเมตตาเข้าใจ  และเอาใจใส่ผู้เรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ และเท่าเทียมกัน  และส่งเสริมให้ครูมีความรับผิดชอบ  เอื้ออาทร  ซื่อสัตย์  ตรงต่อเวลา  อุทิศตนให้กับการพัฒนาผู้เรียน  มีมนุษยสัมพันธ์  มีอัธยาศัยดี  ควบคุมอารมณ์ได้  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ครูมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  วางตนเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดี

1.2  การบริหารจัดการ     ผลจากการศึกษาโรงเรียนกรณีตัวอย่าง 4 โรง  จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และครู  พบว่า

1.2.1  หลักการบริหาร  ผู้บริหารมีการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ  เน้นการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน ร่วมคิด ให้ทุกคนมีโอกาสเป็นหัวหน้าโดยดูจากความสามารถ และความสนใจ  บริหารงานโดยสร้างให้ครูเกิดศรัทธาทำตัวเป็นเป็นแบบอย่างแก่ครู  และมีการให้ขวัญ และกำลังใจการให้ความดีความชอบทำแบบเปิดเผย

1.2.2  ยุทธศาสตร์การวางแผนดำเนินงาน  พบว่า  ผู้บริหารโรงเรียนมียุทธศาสตร์การวางแผนดำเนินงานโดยมีกำหนดทิศทางการทำงานทุกงานต้องชัดเจน  ทิศทางมุ่งไปที่ “เด็ก” มีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานโดยมีปฏิทินปฏิบัติงานของกลุ่มโดยวางแผนเป็นเดือน  สัปดาห์  และวัน  และมีครู  ผู้ปกครองร่วมพัฒนาจุดต่าง ๆ ของโรงเรียน  สร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้อบอุ่นเอื้อต่อการเรียนรู้  มีการจัดระบบการใช้อาคารสถานที่  อาคารเรียน  และห้องเรียน  และจัดระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอ

1.2.3  การนิเทศ  ติดตาม  และประเมินผล  พบว่า  โรงเรียนมีการนิเทศ  ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง  โดยโรงเรียนมีการประชุมครูประจำเดือน  ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย  บางโรงเรียนมีคณะกรรมการนิเทศ  โดยครูวิชาการเป็นผู้ดำเนินการ  ผู้บริหารเป็นผู้นิเทศเดือนละครั้ง  และในแต่ละวันจะเดินเยี่ยมชั้นเรียน  โรงเรียนได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 6 เดือน  มีการบันทึก และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และต้นสังกัดอย่างเป็นระบบ  ให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  และส่งเสริมให้นักเรียน และบุคลากรปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษาที่วางไว้

1.2.4 ระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน  พบว่า  โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนถูกต้อง  ครอบคลุมกิจกรรมของโรงเรียน  และตรงกับความต้องการใช้งาน  มีระบบข้อมูลสารสนเทศ EIS (Executive Information System) มีระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน  ครู  และผู้บริหารครบถ้วน  ถูกต้องตรงกับความต้องการ  และสามารถนำไปใช้ทันต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

1.2.5  อาคาร  สถานที่  พบว่า  มีการจัดห้องเรียน  ห้องพิเศษ  ห้องบริการ  โรงฝึกงาน  โรงอาหาร  หอประชุมให้มีความเหมาะสม  อยู่ในสภาพที่ดี  และเอื้อต่อการเรียนรู้  มีระเบียบการใช้ห้อง  จัดการใช้ดูแลรักษาให้เป็นระเบียบ  ปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี  และดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน

               1.3  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  และชุมชน 

1.3.1  ผู้ปกครอง และชุมชนมีความสัมพันธ์  และให้ความร่วมมือกับโรงเรียน  คือร่วมเป็นคณะกรรรมการของโรงเรียน  และภาคีเครือข่าย  โรงเรียนให้ความสำคัญกับชุมชน  โดยการเชิญผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายการจัดการศึกษา  ร่วมพัฒนาการศึกษา ให้ข้อมูลพัฒนาโรงเรียน  และให้คำแนะนำปรึกษา

1.3.2  ผู้บริหาร  และครูสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน  ส่งคณะครู และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  งานประเพณี  และวันสำคัญต่าง ๆ ของชุมชน  มีโครงการ / กิจกรรมส่งเสริมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นร่วมกันอย่างต่อเนื่อง  โรงเรียนมีกิจกรรมให้นักเรียนร่วมพัฒนาวัด  มัสยิด  และสุเหร่า  ให้นักเรียนช่วยงานบริการแก่ชุมชน  เป็นเหล่งความรู้ของชุมชน และจัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ  จัดกิจกรรมความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างหลากหลาย  ตลอดจนผู้บริหารทำความรู้จัก และคุ้นเคยกับบุคคลในชุมชน

1.3.3      บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน  ผู้ปกครอง และชุมชนได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียน  เป็นวิทยากร / ภูมิปัญญา  และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน  สนับสนุนงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน

 

2.  กระบวนการที่นำไปสู่โรงเรียนดีที่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ

               จากผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4 โรงเรียน  พบว่า  กระบวนการที่นำไปสู่โรงเรียนดีที่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพในการจัดการทางด้านวิชาการ  ประกอบด้วย  หลักสูตรสถานศึกษา  การเรียนรู้  กิจกรรมนักเรียน  ระบบสารสนเทศ  และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

               2.1 หลักสูตรสถานศึกษา  โรงเรียนต้องสร้างหลักสูตรของตนเอง  โดยมีหลักสูตรแกนกลางเป็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน  โรงเรียนต้องนำสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตรไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  โดยมีคณะกรรมการ และอนุกรรมการของโรงเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ  การบริหารจัดการเน้นการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร ครู บุคลากร และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่งเสริมความเป็นท้องถิ่น  โดยเพิ่มความเป็นท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาในวิชาพื้นฐานทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดวิชาโครงงาน และโครงงานอาชีพ  ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง  ชุมชนในการพัฒนาการศึกษา  และนักเรียนสามารถเลือกวิชาเพิ่มเติมจากรายวิชาที่โรงเรียนจัดให้  หรือมีโอกาสเข้าชุมนุมที่นักเรียนสนใจ

               2.2 การเรียนรู้

               2.2.1 ระบบการเรียนรู้  มีการดำเนินงาน คือ การวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  วิเคราะห์ผู้เรียน  ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้แต่ละหน่วย  มีการผลิต และพัฒนานวัตกรรม  พัฒนาแหล่งเรียนรู้  การจัดการเรียนรู้  นิเทศติดตาม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประเมินผลการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนแต่ละหน่วย  พัฒนาการจัดการเรียนรู้  วิจัยพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  และบันทึกสรุปผลรายงาน

               2.2.2 การเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีกระบวนการ และวิธีการที่หลากหลาย  ผู้สอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกาย และสติปัญญา  วิธีการเรียนรู้  ความสนใจ  และความสามารถของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  การจัดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น  โรงเรียนจึงใช้รูปแบบ/วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้ร่วมกัน  การเรียนรู้จากธรรมชาติ  การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  การเรียนรู้แบบบูรณาการ  มีการวัด และประเมินผลตามสภาพจริง  และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนได้มีการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร  ดังนี้

               2.2.3 การจัดการเรียนการสอน  โรงเรียนจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร และสนองความต้องการของผู้เรียน  ชุมชน และท้องถิ่น  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการดำเนินการโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายเหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน  กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในทุกกลุ่มสาระ  การวัด และประเมินผลตามสภาพจริง  ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้าน  เทคโนโลยี  และสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  มีการใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาในชุมชน  ให้นักเรียนได้เรียนรู้กับวิทยากรในท้องถิ่น  โรงเรียนจัดให้มี และใช้แหล่งเรียนรู้ภายในบริเวณโรงเรียนและในชุมชน

               วิธีการจัดการเรียนการสอน

               ครูทุกคนต้องมีการจัดทำแผนการสอน  ใช้แผนการสอน  และบันทึกการใช้แผน และมีหัวหน้ากลุ่มสาระเป็นผู้ติดตาม  ปรับปรุง และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  แล้วสรุปเสนอเป็นภาพรวมของโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

               เทคนิคการจัดการสอน  มีหลากหลายวิธี  เช่น

               การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีขั้นตอนคือ นักเรียนกำหนดหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า  ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเพื่อไปศึกษา หรือค้นคว้าตามหัวข้อที่ได้รับ  นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการนำเสนอผลการศึกษา  นักเรียนกลุ่มอื่นๆ ร่วมกันอภิปราย  ครูทบทวน และสรุปอีกครั้งหนึ่ง  และประเมินผลตามสภาพจริง

               เทคนิคการวิเคราะห์ผู้เรียน  มีวิธีการดำเนินการ  คือ  วิเคราะห์ข้อมูลจากครู  เพื่อน  และตัวผู้เรียน  โดยการใช้แบบสังเกต และการสอบถาม  นำข้อมูลที่ได้จากผลการวิเคราะห์นักเรียนแต่ละคนมาจัดกลุ่ม  การเยี่ยมบ้านนักเรียน  วิเคราะห์จากพฤติกรรม  สังคมที่แวดล้อมผู้เรียนที่มีผลต่อพฤตกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

               เพื่อนช่วยเพื่อน  พี่สอนน้อง  คู่เรียน  มีวิธีดำเนินการ  คือ  เลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นแกนนำ  แนะนำเพื่อน ๆ หรือช่วยเหลือเพื่อนในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน  และประเมินผลการเรียนให้เพื่อน

               เทคนิคการใช้สื่อศิลป์สู่การเรียน  มีวิธีดำเนินการ คือ นำผลการวิเคราะห์ผู้เรียนมาจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้  นักเรียนต้องจับคู่แล้วอ่านเรื่อง  ให้นักเรียนถ่ายทอดเรื่องที่อ่านเป็นภาพงานศิลปะ ประเมินโดยการนำเสนอชิ้นงาน/ร่วมอภิปราย

               เทคนิคการสอนแบบผสมผสานตามสภาพผู้เรียน  และศักยภาพของผู้เรียน  มีวิธีการ คือ  ครูรู้จักผู้เรียนก่อนเรียน  จัดกลุ่มตามความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน  สร้างกิจกรรมให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน  ประเมินตามลักษณะกิจกรรมโดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้

               เทคนิคการสืบค้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีวิธีดำเนินการ คือ ให้นักเรียนสืบค้นความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ใช้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในชุมชนในการจัดการเรียนการสอน  จัดกิจกรรมแบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาหาความรู้ตามแหล่งชุมชน  และแหล่งการเรียนรู้  การศึกษาเรียนรู้แบบถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน และตรวจผลงาน  รวมทั้งมีการทดลอง การสาธิต

               กิจกรรมนักเรียน  โรงเรียนมีการจัดกิจกรรม  ได้แก่  กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  กิจกรรมพัฒนาสุนทรียภาพ  กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นประชาธิปไตย  กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา  กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม  เป็นต้น

               ระบบสารสนเทศ  เป็นการดำเนินการของโรงเรียนเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และชุมชน  ได้รับรู้เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน  และข่าวสารต่าง ๆ ของโรงเรียน  ทำได้ในรูปแบบการประชุมผู้ปกครอง และครู  การบันทึกข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์  ในด้านการบริหารจัดการ  พบว่า  มีระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน  ครู และผู้บริหารครบถ้วนถูกต้องตรงกับความต้องการ และสามารถนำไปใช้ทันต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่อง  โดยการสำรวจ  รวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ มีการบันทึก และรายงานผลการประเมินนำข้อมูล และผลการประเมินไปใช้  และด้านการเรียนรู้  พบว่า มีการจัดแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน  มีห้องปฏิบัติการ  กลุ่มสาระต่างๆ ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์  และมีระบบการรายงานผลการเรียนทางเว็ปไซต์ของโรงเรียนในอินเทอร์เน็ต

               การดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  มีกระบวนการดำเนินงาน  คือ  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  การคัดกรองนักเรียน  การส่งเสริมนักเรียน  การป้องกัน และช่วยเหลือนักเรียน  และการส่งต่อ  กิจกรรมที่โรงเรียนจัดในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ได้แก่  โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อให้ครู  ผู้ปกครอง  ประสานงานกันตลอดเวลา  ครูประจำชุมชน  เพื่อให้ครูประจำชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนคอยดูแลนักเรียน  และให้คำปรึกษาแก่นักเรียน และผู้ปกครองช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  กิจกรรมครูเวรเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  และการดูแลนักเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  นอกจากนี้  มีกิจกรรมอื่น ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว (โฮมรูม)  การดูแลนักเรียนด้านการเรียน  สวัสดิการนักเรียน  การส่งเสริมสุขภาพ  และกิจกรรมณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

 

 

 

3.  คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

               คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษา  จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร  รายงานของโรงเรียน  และสัมภาษณ์ผู้บริหาร  ครูผู้สอน  ผู้ปกครอง  และนักเรียนของโรงเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนดีมีคุณภาพ จำนวน 4 โรง  พบว่า คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น พิจารณาจากความรู้ความสามารถ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ดังนี้

               3.1 ความรู้ความสามารถของนักเรียน  พบว่า  ความรู้ความสามารถทางวิชาการ  นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (ปีการศึกษา 2545 ถึง 2547) สูงขึ้น  มีคะแนนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มสาระเพิ่มขึ้น  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  เรียนรู้ด้วยตนเองได้  มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร  และนำความรู้ และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  สำหรับด้านความรู้ความสามารถในการแข่งขัน  พบว่า  นักเรียนมีผลการเรียนดีเด่นสามารถสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนในการแข่งขันต่าง ๆ ได้แก่  นักเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน  เยาวชนดีเด่น  คนดีของสังคม  การประกวดสุนทรพจน์  นักเรียนเข้าร่วมประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ  แข่งขันตอบปัญหา  และเข้าร่วมโครงการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานอื่น

               3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน

  &nb

หมายเลขบันทึก: 313502เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ในที่สุดทำงานเสร็จแล้วอีกเรื่อง เก่งจริงๆๆๆๆ

รีบเสร็จงานจังพี่ยุทธ ของผมยังไม่ได้ทำเลย ว่างๆๆช่วยผมด้วยนะคับ อิอิ ฝันดีนะพี่

พี่ยุทธ...เวลาก๊อปปี้งานมาลงในบล๊อกทามไมสูตรไม่มาด้วย .... ช่วยบอกที(ขอบคุณค้า)

ไม่เคยก๊อป..เลย จริง ๆ ..จริง จริ๊งงงงง (เลยไม่รู้จะแนะนำอย่างไร..ขอโทษด้วยครับ)

ขอบคุณครับ อาจารย์ดิศกุลฯ ผมกำลังสรุปงานวิจัย ชิ้นที่ 2 เพื่อส่งงานเร็ว ๆ นี้ครับ

พี่ยุทธยอดเยี่ยมมากครับ ยังอยู่โรงเรียนอยู่เล ผมทำงานจนนอนนไม่หลับ นั่งชื่นชมพื่และเพื่อนๆ อยู่ครับเก่งทุกคนเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท