ประวัติเมืองหนองคาย


ประวัติเมืองหนองคาย

ประวัติเมืองหนองคาย

เมืองหนองคายสมัยก่อนกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
เมื่อกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรืย์ศึก

และเจ้าพระยาสุรสีย์เป็นแม่ทัพ ได้ชัยชนะเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2322

ประชาชนจำนวนมากของเมืองเวียงจันทน์ หนีสงครามแตกฉานซ่านเซ็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งหลักแหล่งในหัวเมืองชั้นใน อันได้แก่หัวเมืองภาคกลาง

เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดสระบุรี

และจังหวัดลพบุรี เป็นต้น ส่วนที่เหลือก็ตั้งชุมชนอยู่บริเวณเมืองพานพร้าว

เมืองเวียงคุก เมืองปะโค และเมืองโพนพิสัย

(ในสมัยก่อนเรียกว่า เมืองโพนแพน ซึ่งปัจจุบันออกเสียงว่า โพนแพง)

ครั้นเมื่อผู้คนหายตื่นตระหนกกับศึกสงครามแล้ว ชาวเมืองเวียงจันทน์ก็อพยพกลับภูมิลำเนาเดิม

เมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเชื้อพระวงศ์อาณาจักรล้านช้าง

ไปปกครองเมืองเวียงจันทน์เหมือนเดิม
ส่วนชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขงตะวันตก (เขตจังหวัดหนองคาย)

ไม่พบหลักฐานว่าได้ทรงตั้งเป็นเมือง หรือให้อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์เวียงจันทน์ (เมืองเวียงจันทน์มีฐานะปกครองประเทศราช) แต่กระนั้นก็ตามเมืองโพนแพน (อำเภอโพนพิสัย) หรือเมืองปากห้วยหลวงนั้นเป็นชุมชนใหญ่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้พบหลักฐานว่า มีเจ้าเมืองปกครองอยู่ในตำแหน่ง"พระละครเมืองแพน"

เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งเมืองหนองคาย และโปรดเกล้าฯ

ให้ท้าวสุวอเป็นพระประทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองในสมัยรัชการที่ 3

นั้นดูเหมือนจะมีอำนาจครอบคลุมเมืองโพนแพนด้วย

ดังในประวัติ "ท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย" ว่า "แต่เดิมเพี้ยเมืองเป็นพระละครเจ้าเมืองท้าวจันทโสภา

หลานพระละคร เป็นราชวงศ์ ท้าวคำยวง บุตรพระละครเมืองแพน เป็นราชบุตร รักษาบ้านเมืองมาได้ 11 ปี พระละครเมืองแพนก็ถึงแก่กรรม"
ฉะนั้นลำดับเจ้าเมืองหนองคายและเมืองโพนแพน (โพนพิสัย) ได้ดังนี้

1. พระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง)
สมัยพระละครเมืองแพนเป็นเจ้าเมืองนั้น ไม่ได้กำหนดศักราชไว้ และไม่ได้กล่าวไว้ว่าพระละครเมืองแพนนั้นทำราชการขึ้นตรงกับกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ

หรือทำราชการขึ้นตรงกับราชธานีไทยแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2322

พระละครเมืองแพนเป็นเจ้าเมืองได้เพียง 11 ปีก็ถึงแก่กรรม ดังกล่าวแล้ว

กรมการเมืองสมัยนั้นมัดังนี้ อุปฮาด ไม่ปรากฏ
ราชวงศ์ ท้าวจันทโสภา (หลานพระละครเมืองแพน)
ราชบุตร ท้าวคำยวง (บุตรพระละครเมืองแพน)
เมื่อสิ้นสมัยพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) แล้ว ท้าวคำบุงบุตรพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) ได้ดำรงตำแหน่งพระละครเมืองแพนแทนบิดา

2. พระละครเมืองแพน (ท้าวคำบุง)
ท้าวคำบุง บุตรพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) คนหนึ่ง ไม่ทราบว่า

สมัยพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) เป็นเจ้าเมืองนั้น ท้าวคำบุงได

้ดำรงตำแหน่งกรมการเมืองใด เมื่อบิดาถึงแก่อนิจกรรมก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสืบแทน ส่วนตำแหน่งราชวงศ์และราชบุตรนั้นคงเดิม คือ อุปฮาด ไม่ปรากฏ
ราชวงศ ท้าวจันทโสภาหลานพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง)
ราชบุตร ท้าวคำยวง ซึ่งเป็นบุตรของพระละครเมืองแพน
พระละครเมืองแพน (ท้าวคำบุง) เป็นเจ้าเมืองได้ 21 ปี (ไม่ทราบ พ.ศ.ใด)

ก็ถึงแก่อนิจกรรมราชบุตรคือท้าวคำยวง ซึ่งเป็นบุตรของพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) เหมือนกันได้ดำรงตำแหน่งสืนต่อแทนพี่ชาย (หรือน้องชายไม่ปรากฏชัด)

3. พระละครเมืองแพน (ท้าวคำยวง)
ท้าวคำยวงเป็นบุตรพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) คนแรก และได้

ดำรงตำแหน่งราชบุตรทั้งสองสมัย คือสมัยบิดาเป็นเจ้าเมือง และพี่ชายเป็นเจ้าเมืองอีกสมัยหนึ่ง และได้แต่งตั้งบุตรหลานเป็นกรรมการเมือง ดังนี้ อุปฮาด ท้าวสุวรรณ

(บุครพระละครเมืองแพน (ท้าวคำบุง) เป็นหลานชายเจ้าเมือง)
ราชวงค์ ท้าวบุญจันทร์ (บุตรพระละครเมืองแพน (ท้าวคำยวง) เป็นบุตรเจ้าเมือง)
ราชบุตร ท้าวคำพาง (บุตรพระละครเมืองแพน (ท้าวคำยวง) เป็นบุตรเจ้าเมือง)
เรื่องราวของเมืองหนองคาย หรือเมืองโพนแพน (โพนพิสัย) มีหลักฐาน

เพียงเล็กน้อยดังกล่าวข้างต้น และไม่ทราบว่าเมืองหนองคาย หรือเมืองโพนพิสัยนั้นทำราชการขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์หรือขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์

(ไม่พบหลักฐานที่เป็นรายละเอียดกว่านี้ อีกประการหนึ่งเอกสารดังกล่าว

ก็ไม่ได้ให้ศักราชว่าเป็นเหตุการณ์ในปี พ.ศ.ใดอีกด้วย)

ครั้นเมื่อสมัยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว ราชธานีไทย คือ กรุงรัตนโกสินทร์มีเหตุการณ์เกี่ยวพันกับหัวเมืองในภาคอิสานมากขึ้น จึงพบเอกสารกล่าวถึงเมืองหนองคายชัดเจนยิ่งขึ้นแต่ก็ไม่มากนัก ดังนี้

เมืองหนองคายสมัยหลังกบฏเจ้าอนุวงศ์
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์โอรสเจ้าสิริบุญสารแห่งเมือเวียงจันทร์เติบโต

และเล่าเรียนสรรพวิทยาการที่กรุงเทพฯ ครั้นเจริญวัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

รัชการที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปกครองเมืองเวียงจันทน์แทนเจ้านันทแสน (พี่ชาย) ตอนปลายรัชการที่ 1 เจ้าอนุวงศ์มีความใกล้ชิดและคุ้นเคยกับเชื้อพระวงศ์ในกรุงเทพฯและขุนนาง เสนาบดีผู้ใหญ่จำนวนมากเจ้าอนุวงศ์มีความคิดที่จะกอบกู้หัวเมืองอีสาน

ที่ตกอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของกรุงเทพฯ (สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 5 ไทยปกครองหัวเมืองอีสาน

ในฐานะประเทศราชเกือนทุกเมือง คือส่งส่วยอากรและเกณฑ์แรงงานมาช่วยราชธานีรวม

ทั้งเกณฑ์กองทัพช่วยรบศึกพม่า) เจ้าอนุวงศ์ได้ติดต่อกับเจ้าเมืองในภาคอีสาน

ประกอบกับเจ้าราชบุตร (โย้) บุตรเจ้าอนุวงศ์ ได้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์อีกด้วย ฉะนั้นเจ้าอนุวงศ์จึงคิดการใหญ่ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ดังที่ทราบกันแล้วนั้น
พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์) ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมุหนายก ได้เป็นแม่ทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ครั้งนั้น และเป็นกองทัพสำคัญที่มี

บทบาทในการปราบกบฏครั้งนั้น เมื่อปราบเมืองเวียงจันทน์และจับตัวเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์

ได้ เมื่อ พ.ศ. 2370 จึงจัดราชการบ้านเมือง โดยยุบเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองร้าง ให้ผู้คนอพยพมาตั้งบ้านเมืองอยู่บริเวณเมืองหนองคาย จึงกราบบังคมทูลขอพระกรุณา

แต่งตั้งท้าวสุวอ หรือ ท้าวสุวอธรรมาซึ่งเป็นเชื้อสายพระวอพระตาเจ้าเมืองอุบลราชธานี

คือบุตรของอัครราชธานีเมืองยโสธร ท้าวสุวอเป็นกำลังรบสำคัญของกองทัพพระยาราชสุภาวดี (ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ได้ความดีความชอบ

ในการศึกปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์มาก จึงมีใบบอกกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านไผ่

หรือบ้านหนองไผ่เป็นเมืองหนองคาย และขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวสุวอเป็น

พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2370

1. พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) พ.ศ. 2370-2387
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านไผ่ หรือบ้านหนองไผ่เป็นเมืองหนองคายแล้ว

เมืองพานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหนองคาย

ส่วนเมืองโพนแพนหรือปากห้วยหลวงนั้น
โปรดเกล้าฯตั้งเป็นเมือง "โพนพิสัย" อีกประการหนึ่งในช่วงสมัยดังกล่าวประชาชนยังตื่นตระหนก

ในศึกสงครามอพยพหลบหนีจำนวนมาก ฉะนั้นเมื่อตั้งบ้านหนองไผ่เป็นเมืองหนองคายแล้ว ชุมชนก็เริ่มเจริญเติบโตมากขึ้นตามลำดับคณะกรรมการเมืองหนองคายมีดังนี้

1) พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) ตำแหน่งเจ้าเมืองท้าวสุวอเป็นบุตรอัครราชเมืองยโสธร

เป็นหลานพระวิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (ท้าวหน้า) ซึ่งพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2334 (ท้าวหน้าเป็นบุตรพระตา เดิมเป็นหัวหน้าบ้านสิงห์ท่าชุมชนเมืองยโสธร ได้ความดีความชอบในการปราบจลาจลกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโอง) ส่วนสมัยปรายกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ครั้งนั้น กองทัพเมืองยโสธรและเมืองอุบลราชธานีเป็นกำลังทัพสำคัญของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ท้าวสุวอจึงได้ปูนบำเหน็จเป็นเจ้าเมืองหนองคาย และเป็นต้นตระกูล "ณ หนองคาย"
2) อุปฮาด ให้ราชบุตรเมืองยโสธร (ท้าวเคน) เป็นอุปฮาดเมืองหนองคาย
3) ราชวงศ์ ท้าวพิมพ์ น้องพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ)
4) ราชบุตร ท้าวบิตาหลานพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ)

ในสมัยที่พระปทุมเทวาภิบาลเป็นเจ้าเมืองหนองคายนั้น บ้านเมืองอยู่ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองใหม่

นั่นคือชุมชนบ้านหนองไผ่ หรือบ้านไผ่นั้นยังเป็นชุมชนเล็ก ๆ ภายหลังประชาชน

ที่อพยพหนีศึกสงคราม ทราบว่าบ้านเมืองสงบร่มเย็นเป็นปกติแล้วต่างก็มาตั้งบ้านเรือน

ในเมืองหนองคายมากขึ้น
พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายมาจนถึง พ.ศ. 2381

ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาด (ท้าวเคน) ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเป็น

พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) สืบต่อไป (อุปฮาดเคนนี้ ประวัติศาสตร์อีสานของเติม วิภาคย์พจนกิจ

กล่าวว่าเป็นบุตรท้าวสุวอ แต่ "ในประวัติท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย" ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 เรื่อง

เมืองนครจำปาศักดิ์ ว่า "เจ้าคุณพระยาบดินทรเดชาฯ ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ เอาท้าวสุวอไปด้วย แล้วตั้งท้าวสุวอเป็นที่พระปทุมเทวาฯ เจ้าเมืองหนองคาย แล้วเอาราชบุตรเมืองยโสธร เป็นอุปฮาดเมืองหนองคายท้าวพิมพ์น้องชายพระปทุมฯ เป็นที่ราชวงศ์ท้าวบิตา

หลานพระปทุมฯ เป็นราชบุตร")

2. พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) พ.ศ. 2381
พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ดำรงตำแหน่งพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) เป็นเจ้าเมืองหนองคายสืบต่อจาก

ท้าวสุวอในสมัยพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) นั้น เกิดศึกฮ่อที่ชายแดนติดต่อกับประเทศญวน เมื่อ พ.ศ. 2420 ขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) ไปต้อนรับพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ซึ่งมาตั้งกองสักเลกและเร่งรัดเงินส่วยอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี

เมื่อทราบข่าวศึกฮ่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชการที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ สั่งให้

พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ซึ่งไปตรวจราชการอยู่ที่หัวเมืองอีสาน ให้เกณฑ์กองทัพใหญ่

จากหัวเมืองอีสานไปปราบศึกฮ่อ ครั้นเมื่อกองทัพของพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น)

ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคาย เมืองโพนพิสัย (โพนแพน) ทราบว่าผู้คนแตกตื่นหนีศึกฮ่อที่ยกมาตีเมืองเวียงจันทน์และตั้งมั่นอยู่ที่เวียงจันทน์ แม้แต่กรมการเมืองก็อพยพหนีพาครอบครัวเข้าป่าเข้าดงด้วย พระยามหาอำมาตย์

จึงให้หากรมการเมือง ในครั้งนั้นได้สั่งประหารชีวิตท้าวศรีสุราชตำแหน่งราชบุตรเมืองหนองคาย ที่รักษาการบ้านเมืองขณะที่เจ้าเมืองไปราชการ และพระพิสัยสรเดช (ท้าวหนู) เจ้าเมืองโพนพิสัยที่ไม่อยู่รักษาบ้านเมืองแตกตื่นข่าวศึก ในครั้งนั้นพระยามหาอำมาตย์

ได้ตีศึกฮ่อจนถอยไปทางทุ่งเชียงคำ (ทุ่งไหหิน) บ้านเมืองก็สงบสุข แต่กระนั้นก็ตาม

ใน พศ.ศ 2428 เกิดศึกฮ่อครั้งที่ 2 คราวนี้พวกฮ่อกำเริบเสิบสานได้เข้ายึดทุ่งเชียงคำ

และเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์อีก

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศขณะนั้น)

เป็นแม่ทัพเสด็จไปปราบฮ่อ เสร็จศึกฮ่อในครั้งนั้นได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อเ

พื่อบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในการทำศึกปราบฮ่อครั้งนั้นไว้ที่

เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2429
ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2434 ฝรั่งเศสเริ่มปฏิบัติการขยายดินแดนในประเทศลาว

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ

กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ

(ภายหลังเปี่ลยนเป็นมณฑลลาวพวน และมณฑลอุดรธานี ตามลำดับ)

ตั้งกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่ที่เมืองหนองคาย และย้ายไปตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้งใน พ.ศ. 2436 และยกบ้านเดื่อหมากแข้งเป็นเมืองอุดรธานีใน พ.ศ. 2450

เมืองหนองคายสมัยหลังปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน
เมื่อข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ

มาตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคายนั้น เจ้าเมืองหนองคายเดิมมีบทบาทน้อยลง อีกประการหนึ่งการบริหารบ้านเมืองของเมืองหนองคายในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น

หมิ่นเหม่ต่อการกระทบกระทั่งกับกองทหารฝรั่งเศส

ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายอำนาจลงมายังหัวเมืองภาคอีสานตลอดเวลา

ฉะนั้นรัฐบาลของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงต้องใส่ใจหัวเมืองชายแดนภาคอีสาน

เป็นกรณีพิเศษ โดยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน จัดเป็นมณฑลลาวพรวน

มณฑลลาวกาว และมณฑลลาวกลาง และได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอมาเป็นข้าหลวงใหญ่กำกับ

ราชการถึงสามพระองค์ ดังทราบกันแล้วนั้น
เมื่อย้ายกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการมณฑลลาวพรวนมาตั้งที่บ้าน

เดื่อหมากแข้ง เมื่อ พ.ศ. 2436 แล้วนั้น เมืองหนองคายก็เป็นเมืองหนึ่งของมณฑลลาวพรวน

(มณฑลอุดรธานีสมัยต่อมา) แต่ไม่มีหลักฐานว่าพระปทุมเทวาภิบาล ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อใด แต่ทำเนียบกองบัญชาการมณฑลลาวพรวน ตามข้อบังคับการปกครองท้องที่ ร.ศ. 117

(พ.ศ. 2441) ที่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ในหัวเมืองภาคอีสาน

มาเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการเมือง

มหาดไทยเมือง คลังเมือง โยธาเมือง นครบาลเมือง ศาลเมือง

เหมือนกันทั่วพระราชอาณาจักร ได้ปรากฏชื่อ พระยาปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเสือ ณ หนองคาย)

เป็นผู้ว่าราชการเมืองหนองคาย

พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย)
พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ได้เป็นเจ้าเมืองสืบแทน พระปทุมเทวาภิบาล

(ท้าวเคน) ไม่ทราบว่าสมัย ปี พ.ศ. ใด แต่ปรากฏหลักฐานในข้อบังคับการปกครอง

ท้องที่ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) ท้าวเสือ ณ หนองคาย ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ

เมืองหนองคาย และมีกรมการเมืองดังนี้ ข้าหลวงประจำเมือง

พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (จรัญ)
ผู้ว่าราชการเมือง พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย)
ปลัดเมือง พระยาบริหารราชอาณาเขต (กุแก้ว)
ผู้ช่วยราชการเมือง พระวิเศษรักษากิจ (ปาน)
ศาลเมือง พระพิเนตรกิจพิทักษ์
นครบาลเมือง พระบริบาลภูมิเขต (เถื่อน) ฯลฯ
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร มณฑลนครราชสีมา

และมณฑลอีสาน เมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) นั้น ได้ถึงเมืองหนองคาย

เมื่อวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) บันทึกว่า

อากาศหนาว 38 องศาฟาเรนต์ไฮต์ (3.3 องศาเซลเซียส) และลงเรือกลไฟไป

เมืองนครพนมเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2449 ได้แวะตรวจราชการเมืองโพนพิสัย

เมืองบึงกาฬ เมืองชัยบุรี (ตำบลชัยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม)

และเมืองท่าอุเทนถึงเมืองนครพนม เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2449 ดังนี้
ถึงห้วยหลวงซึ่งเป็นที่เขตอำเภอหมากแข้งกับเมืองหนองคายต่อกัน

พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ล่วงหน้ามาคอยรับ

แล้วผ่านบ้านดงลิง ทุ่งบ้านพันเหมือน เดินตามทางโทรเลขมาตั้งแต่บ้านหมากแข้งถึงบ้านขาว

เวลาเช้า 3 โมงครึ่ง ระยะทาง 380 เส้น พักกินข้าวเช้าแล้ว เวลาเช้า 4 โมงครึ่ง

เดินทางต่อไปผ่านหนองนกเขียน บ้านจูนบาน มีที่พักอีกแห่งหนึ่ง เวลาบ่ายโมงถึงริมลำน้ำซวย

ระยะทาง 358 เส้น มีที่พักแรม รวมระยะทางวันนี้ 738 เส้น เวลาค่ำวันนี้ปรอทลงถึง

38 ดีกรีฟาเรนไฮต์ หนาวกว่าวันอื่นที่ได้พบในคราวนี้
วันที่ 5 มกราคม เวลาย่ำรุ่งขึ้นพระยาปทุมเทวาภิบาล ขอให้เปิดสะพานข้ามน้ำซวย

ซึ่งสร้างใหม่ กว้าง 2 วา ยาว 22 วา 2 ศอก เสาไม้จริง พื้นปูกระดาน

และได้ทำศาลาที่พักไว้ใกล้เชิงสะพานด้วย เปิดสะพานแล้วข้ามสะพานผ่านทุ่งบ้านนาไหม

ห้วยดานบ้านโพนตาล มาพักกินข้าวเช้าที่บ้านผักหวาน (ค่ายบกหวาน)

ระยะทาง 258 เส้น ถึงเวลาเช้าโมงครึ่ง ที่ตำบลนี้ยังมีรอยดิน

เป็นสนามเพลาะค่ายเจ้าพระยาบดินเดชา ครั้งรบกับราชวงศ์เวียงจันทน์เหลืออยู่พอสังเกตได้

เวลาเช้า 3 โมงเดินทางไปข้ามห้วยตาด ห้วยยาง ห้วยกงสี ขึ้นโคกสร้างหิน ลงทุ่งคำแค้

ทุ่งห้วยแกถึงทุ่งระนาม แล้วถึงเมืองหนองคายเวลา 5 โมงเช้า

ที่พักแรมตั้งอยู่คนละฟากถนนกับวัดหายโศก ซึ่งอยู่ริมลำน้ำโขง

พระยาบริหารราชอาณาเขต (กุแก้ว) ปลัดเมืองหนองคาย และพระบริบาลภูมิเขต (เถื่อน)

นายอำเภอเมืองหรือนครบาลเมือง พร้อมด้วยกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยและราษฎรชาวเมือง

มาคอยรับ ราษฎรที่มาวันนี้มากต่อมากทั้งที่อยู่ใกล้และที่มาไกลทางตั้งวันหนึ่งสองวัน

มีเครื่องสักการะมาให้ ขอเฝ้าขอเห็นตัวเรื่อยกันไปเกือบวันยังค่ำเพราะตั้งแต่กรมหลวงประจักษ์เสด็จ

กลับไปได้ถึง 13 ปี พึ่งมีเจ้านายเสด็จขึ้นไปในคราวนี้
ในวันนี้นายพันตรี โนลัง ข้าราชการฝรั่งเศสที่เมืองเวียงจันทน์มาหา บอกว่าเคาเวอเนอเยเนราล

ให้นำเรือกลไฟชื่อลาแครนเดียลำ 1 เรือไฟเล็กอีกลำ 1 รวม 2 ลำ มาให้ใช้ในการเดินทางต่อไป และได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานข้างฝั่งซ้ายต้อนรับให้ทุกแห่ง ได้สั่งให้ขอบใจ

เคาเวอเนอเยเนราลและขอบใจตัวเขาตามสมควร เวลาบ่ายสามโมงเศษลงเรือชะล่ายาวเขียนลายทองมีเก๋งของพระยาปทุมเทวาภิบาล

ล่องตามลำน้ำโขงมาข้างใต้ ขึ้นที่ท้ายบ้านพวกจีนดูร้านพ่อค้าจีนขายของต่าง ๆ

ซึ่งนำมาจากกรุงเทพฯ และตลาดขายของสด แล้วเดินดูเมือง กลับมาที่พัก
เวลาค่ำได้เชิญนายพันตรีโนลัง ฝรั่งเศสซึ่งนำเรือมารับมากินอาหารด้วย
วันที่ 6 มกราคม เวลาเช้า 2 โมงเศษ ไปวัดมีไชย ซึ่งพระครูพุทธพจนประกาศ

เจ้าคณะรองเมืองหนองคาย เป็นเจ้าอาวาส
เวลาเช้า 4 โมง พวกชาวเมืองแห่บายศรีขวัญ ตีฆ้องและแห่บายศรีขวัญ ตีฆ้องและโห่ร้องเป็นกระบวนมาประชุมพร้อมกันที่ปะรำใหญ่ข้างที่พัก

พวกจีนพ่อค้ามีกิมฮวยอั้งติ๋วเข้ากระบวนแห่มาด้วย

ท้าวเกษน้องพระยาปทุมเทวาภิบาลอ่านคำอำนวยพรทำขวัญ แล้วผู้เฒ่าผูกมือตามประเพณี
เวลาบ่าย 3 โมงเศษ ไปเปิดสะพานข้ามลำห้วยหายโศก ริมลำห้วยหายโศก ฝั่งแม่น้ำโขง สะพานนี้ข้าราชการและราษฎรได้เรี่ยไรเงินสร้างขึ้น ยาว 14 วา 3 ศอก 5 นิ้ว

กว้าง 1 วา 1 คืบ 5 นิ้ว ปูกระดาน เสาไม้จริง กับสร้างศาลาหลังหนึ่ง 2 ห้อง

มีเฉลียงด้านหนึ่ง หลังคามุงกระเบื้อง แล้วไปดูแข่งเรือยาว 2 คู่

เสร็จแล้วไปวัดศรีสะเกษ วัดหอก่อง และวัดโพธิ์ชัยซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า

พระใส อันเป็นพระชุดเดียวกับพระเสริม พระสุก ซึ่งเดิมอยู่เมืองเวียงจันทน์

พระเสริมนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญลงมากรุงเทพฯ

เดี๋ยวนี้อยู่ในพระวิหารวัดปทุมวนาราม แต่พระสุกนั้นกล่าวกันว่า เจ้าอนุพาล่องแม่น้ำโขงลงไปเรือล่มจมอยู่ในแม่น้ำโขงของใต้เมืองหนองคาย ตรงที่ซึ่งเรียกว่า

เวินพระสุก บัดนี้ ที่วัดโพธิ์ชัยนี้มีพระเจดีย์ลาวองค์ 1 ฝีมือทำงามนัก
เวลาค่ำให้เชิญเจ้าเมืองกรมการ มีพระยาปทุมเทวาภิบาลและพระบริบาลและพระบริบาลภูมิเขตเป็นต้น

มากินอาหารด้วย
เมืองหนองคายนี้พึ่งตั้งเมื่อในรัชกาลที่ 3 เมื่อตีได้เมืองเวียงจันทน์คราวเป็นกบฏ

กวาดชาวเมืองเวียงจันทน์เป็นเชลยลงไป แล้วโปรดให้แบ่งคนเมืองยโสธรมาตั้งบ้านหนองคายขึ้นเป็นเมือง

แต่เป็นทำเลดี กล่าวกันว่าเดี๋ยวนี้ใหญ่โตกว่าเมืองอื่น ๆ บรรดาที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงทุกเมือง

มีหมู่บ้าน 421 หมู่ มีเรือน 60,044 หลังคาเรือน ราษฎรชาย 30,311 หญิง 29,733 รวม 60,444 คน
สินค้าออกส่งไปขายทางเมืองนครราชสีมาและกรุงเทพฯ มีเร่ว ครั่ง กำยาน

ยางกะตังกะติ้ว ยาสูบ และเขาหนัง ครั่งและกำยาน และยางกะตังกะติ้วรับมาจากหลวงพระบางโดยมาก

สินค้าจากหนองคายมีเกลือ ส่งไปขายเมืองเชียงขวางและหลวงพระบางปีละมาก ๆ
สินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ พ่อค้าได้ส่งไปขายฝั่งซ้าย ฝรั่งเศสยังไม่เก็บภาษีอะไรเว้น

แต่ไม้ขีดไฟต้องเสียภาษีแรง
วันที่ 7 มกราคม เป็นกำหนดจะล่องเรือจากเมืองหนองคายแต่ฤดูนี้เวลาเช้าหมอกลงจัด

คนอยู่ห่างกันเพียง 6 ศอก ก็แลไม่เห็นกัน ต้องรอจนเวลาเช้าโมง 40 นาที

พอหมอกในลำแม่น้ำโขงจางจึงได้ลงเรือแครนเดีย เป็นเรือสำหรับข้าราชการผู้ใหญของฝรั่งเศส

ตั้งแต่เครเวอเนอเยเนราล เป็นต้นไปมาทางลำแม่น้ำโขง

หมายเลขบันทึก: 313412เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท