การแพทย์แบบหลุดกรอบ


นอกกรอบแต่ไม่นอกเกมส์

การแพทย์แบบหลุดกรอบ

การแพทย์แบบหลุดกรอบ

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม1

ปัจจุบัน การแพทย์ นั้นมีอยู่ 2 แนวทาง ก็คือ การแพทย์กระแสหลัก หรือ อาจเรียกได้ว่า การแพทย์แบบชีวะกลไก และอีกแนวทางหนึ่งก็คือ การแพทย์ทางเลือก ซึ่งได้แก่ การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน อายุรเวทของอินเดีย การแพทย์พื้นบ้าน การรักษาโรคด้วยการเข้าทรง ไล่ผี ชีวจิต การใช้พลังจักรวาล การแพทย์เหล่านี้ เราเรียกว่า การแพทย์ทางเลือก หรือ การแพทย์นอกกระแสนั่นเอง

การแพทย์กระแสหลัก หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า การแพทย์แผนปัจจุบัน มีจุดเด่นที่ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย มีโครงสร้างของอำนาจรัฐมาสนับสนุนเกื้อกูล นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยหรือการทดลองมาสนับสนุนมากมาย ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้น มีจุดเด่นก็คือ การสนใจมิติอื่นๆ นอกจากร่างกายหรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า การแพทย์แผนปัจจุบัน มีจุดเด่นที่ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย มีโครงสร้างของอำนาจรัฐม ซึ่งได้แก่ จิตใจ สังคม วิญญาณ ความเชื่อและวัฒนธรรม

แต่อย่างไรก็ตาม การแพทย์ทั้งสอง ก็ยังมีจุดอ่อน อยู่ หลายส่วน สำหรับการแพทย์กระแสหลัก จุดอ่อนก็ คือ การละเลยสนใจมิติทางจิตใจ และสังคมซึ่งไม่สามารถปฏิเสธ ได้ว่าส่งผลต่อการเจ็บป่วยของผู้คน นอกจากนี้ การแพทย์แผนปัจจุบัน ยังถูกครอบงำด้วยระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม ซึ่งมุ่งเน้นการแสวงหากำไร ทำให้ ผู้ป่วยจำนวนมากต้องถูกเอาเปรียบ และขูดรีด ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้นก็มี จุดอ่อนเช่นกัน ได้แก่ การมีงานวิจัย งานวิชาการสนับสนุนน้อย การขาดมาตรฐานที่ชัดเจน และ มีการแอบอ้างเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคในการแพทย์ทางเลือกอยู่ไม่น้อยเช่นกัน จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ทางเลือกมตรฐานที่ชัดเจน งมุ่งเน้นการแสวงหากำไร ทำให้ ผู้ป หรือ การแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ไม่มีสิ่งใดดีพร้อมเต็มร้อย ดังนั้นผมเองจึงขอเสนอแนวทางการแพทย์แบบหลุดกรอบ ซึ่งก็คือการแพทย์ที่ไม่ยึดมั่น แนวทางการแพทย์แบบใดแบบหนึ่งอย่างตายตัว แต่จะเลือกใช้การแพทย์ทั้งสองแนวทางโดยดู จาก ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวิธีการรักษาเป็นหลักการแพทย์แบบนี้ ผมตั้งชื่อว่า เป็น “การแพทย์แบบหลุดกรอบ

การแพทย์แบบหลุดกรอบไม่ยอมยึดมั่น ถือมั่น กับวิธีการใด วิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียวและไม่ยอมเชื่อ การแพทย์แบบงมงาย โดยไม่ทดสอบ พิสูจน์ ลองผิดลองถูกเสียก่อน กล่าวคือ การแพทย์แบบหลุดกรอบ จะเลือกวิธีการใดๆ ก็ได้ในการรักษาที่ได้ผลดี หรือ อาจกล่าวได้ว่า การแพทย์แบบหลุดกรอบ ใช้หลักคิดตามแนวพุทธ หลายๆ คน อาจคิด ว่า การแพทย์ทางเลือกต่างหากที่เป็นการแพทย์แนวพุทธ หากอ้างอิงตามหลักธรรม เรื่องของการปล่อยวางแล้วนั้น กลับพบว่า การแพทย์ทางเลือกส่วนใหญ่ไม่ปล่อยวาง เน้นการยึดมั่นถือมั่น ยินยอมเชื่อโดยไม่พิสูจน์ ให้ถ่องแท้ การแพทย์แนวนี้ไม่ใช่แนวพุทธแน่นอน

การเลือกแนวคิดใดๆ มาใช้ในการรักษานั้น จำเป็น ต้องมีวิธีคิดหรือวิธีวิทยาที่เหมาะสมในการตัดสินใจ ในการเลือก หรือปรับใช้การแพทย์แผนต่างๆ ผู้ตัดสินใจจำเป็น ต้องมีฐานความรู้ด้านการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม สถิติและการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อยู่พอสมควร จึงจะสามารถตัดสินใจได้ดี การใช้เพียงความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก อย่างมีมายาคตินั้น เป็นอันตราย ในหลายครั้ง ทางฝั่งแพทย์แผนปัจจุบัน จะไม่ยอมเชื่อถือในการแพทย์ทางเลือก หาว่าไร้สาระ งมงายและหลอกลวง อันที่จริงแล้ว วิธีการแพทย์ทางเลือกหลายอย่างก็ได้ผลดีและมีความน่าเชื่อถือสูง ในทางตรงกันข้าม กลุ่มคนบางกลุ่มในแพทย์ทางเลือกกลับเชื่ออย่างฝังหัวว่า การแพทย์กระแสหลักไม่ดี เลวร้าย แม้จะมีหลักฐานอ้างอิงว่าดีอย่างไรก็ไม่สนใจ การยึดมั่นถือมั่นแบบนี้ ถือว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ที่เกิดจากอวิชา ทำให้การตัดสินใจในการรักษาผิดพลาดเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยได้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง คนไข้มะเร็งต่อมน้ำเหลืองรายหนึ่ง ครอบครัวคนไข้ไม่อยากให้ผู้ป่วยเข้ารับเคมีบำบัด เนื่องจากกลัวอันตราย จากการใช้ยาเคมีบำบัด แต่เมื่อผู้เขียนได้คุยกับผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงยินยอมเข้ารับเคมีบำบัดผสมผสานไปกับการใช้สมุนไพรเสริมด้วย ปัจจุบันผ่านไป 5 ปีแล้วผู้ป่วยก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงอยู่

ในตัวอย่างที่สอง คนไข้ 2 รายเป็นพี่น้องกัน ทั้งคู่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดคนไข้รายแรกรับยาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว และ รับประทานอาหารตามคำแนะนำของแพทย์ ในผู้ป่วยอีกรายหนึ่งนอกจากรับยาแผนปัจจุบันแล้ว ผู้ป่วยยังเพิ่มการสวดมนต์และฝึกสมาธิทุกวัน ในผู้ป่วยรายแรกเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลวแล้ว เมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนผู้ป่วยที่สวดมนต์และฝึกสมาธิทุกวันพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือหอบเหนื่อยมากนานกว่า 2 ปีแล้ว

จากกรณีตัวอย่างทั้งสองราย คงทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่า ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือการแพทย์ทางเลือกก็มีคุณค่า หรือข้อดีในตัวเองอยู่ ผู้รู้จัดคิด ตัดสินใจ เลือกมาปรับใช้ในผู้ป่วยอย่างฉลาด จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการแพทย์ที่หลากหลาย และมากมายในปัจจุบัน

1เป็นเภสัชกร โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 043-446113 [email protected]

หมายเลขบันทึก: 313325เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะคุณ "ศุภรักษ์"

การรักษาพยาบาลเป็นศาสตร์และศิลป์

การผสมผสานที่เป็นเนื้อเดียวกัน ของแต่ละคนย่อมต่างกัน

ขอบคุณ คุณระพี ที่มาให้กำลังใจครับ

ขอแก้ข้อความเล็กน้อยนะครับ ตรงการแพทย์ทางเลือก คือ กรแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้อบ้าน ไม่ถือว่าเป็นแพทย์ทางเลือกนะครับ ตาม พรบ.เเล้ว การแพทย์ทางเลือกคือการเเพทย์สาขาอื่นๆ ยกเว้นการแพทย์แผนไทยเเละการแพทย์พื้นบ้าน เพราะถือว่าเป็นแพทย์แผนไทย ไม่ใช้เพทย์ทางเลือกครับ

นี่คือ การแสดงนิยามตามกฏหมายไทยครับ

หากใช้ ความหมายสากลแล้ว

การแพทย์แผนไทย และแพทย์พื้นบ้าน จะถือเป็น การแพทย์ทางเลือกครับ

อ้างจากเอกสารWHO

แต่ก็ช่างมันเถอะครับ สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควร ยึดมั่น ถือมั่น สาธุ

เข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้ค่ะ ดิฉันมีโรคประจำตัว 2 โรค คือ ตาแห้ง ไขมันในเลือดสูง ทานยามาเกือบ 2 ปีแล้วค่ะ ตอนนี้ทาน ยา Atorvastatin 40 mg.(Lipiter) ตอนเย็นวันละครึ่งเม็ด วันเว้นวัน และทานยาแอสไพรินเช้าละ 1 เม็ดทุกวัน และเสริมด้วยการนวดแผนโบราณ สัปดาห์ละครั้ง ก็สบายดีขึ้นกว่าไม่นวดมากเลยค่ะ

เรียน

คุณ

P

ปริมปราง

ยาที่ได้มาดีแล้วครับเหมาะสม

แม้ lipitor จะแพงไปหน่อย

แต่แอสไพริน ขนาดต้องมากกว่า 70 มก. ต่อวันน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท