รูปแบบการประเมินโครงการ


CIPP Model

รูปแบบการประเมินโครงการทางการศึกษา มีอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ

1. รูปแบบที่ยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลัก แนวคิดนี้ คือ ไทเลอร์(Tyler) แฮมมอนด์(Hammond) ตาบา(Taba)และ เมทเฟสเซลและไมเคิล(Metfesel and Michael)

2. รูปแบบที่ยึดเกณฑ์ภายนอกเป็นหลัก ได้แก่ สครีพเว่น(Scriven) และของ สเตก(Stake) เป็นรูปแบบที่ใช้ตัดสินคุณค่า

3. รูปแบบที่ยึดเกณฑ์ภายในเป็นหลัก ได้แก่ รูปแบบของสมาคมภาคกลางเหนือของอเมริกา

4. รูปแบบที่ช่วยในการตัดสินใจ เป็นรูปแบบการประเมินที่ช่วยในการหาข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินงานของโครงการ ได้แก่ รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) ของอัลคิล(Alkin)และโพรวัส(Provous)

           แต่ละรูปแบบมีข้อจำกัดและลักษณะแตกต่างกัน

รูปแบบการประเมินแบบซิป(CIPP Model)

          มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่เหมาะสม ในการประเมินนั้นมุ่งประเมินจากสิ่งที่ประเมิน 4 ประการ

1. สภาวะแวดล้อม(context) เพื่อพัฒนาจุดมุ่งหมายของโครงการ

2. ปัจจัยเบื้องต้น(input) เพื่อออกแบบโครงการ

3. กระบวนการ(process) เพื่อประเมินขั้นตอนในการดำเนินการตามโครงการ

4. ผลผลิต(product)เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ตามโครงการ

วิธีการประเมินสภาวะแวดล้อมมี 2 วิธี คือ

1. การประเมินสภาวะแวดล้อม เพื่อหาโอกาสและแรงผลักดันจากภายนอกระบบ(contingency Mode) เพื่อให้ได้ข้อมูลมาพัฒนาส่งเสริมโครงการให้ดีขึ้น

    คำถามที่ใช้ในการประเมินสภาวะแวดล้อมแบบ(contingency Mode) คือคำถามประเภท"ถ้า......แล้ว..."

2. การประเมินโดยการเปรียบเทียบ ระหว่างปฏิบัติจริง(Attual result) กับวัตถุประสงค์ที่วางไว้(Congruence Mode) การประเมินแบบนี้ทำให้เราทราบว่าวัตถุประสงค์ใดบ้างที่ไม่สามารถจะบรรลุได้

การประเมินปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation)

1. ความสามารถของหน่วยงานหรือตัวแทนในการจัดการโครงการ

2. ยุทธวิธีที่ใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

3. การให้ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆซึ่งจะช่วยให้โครงการดำเนินไปได้

       ผลที่ได้จากการประเมิน คือ การวิเคราะห์รูปแบบวิธีการที่ใช้ในรูปของราคาและกำไรที่จะได้รับ(cost and benefit)

       รูปแบบของคำถาม เช่น วัตถุประสงค์จะกำหนดวิธีการด้หรือไม่และจะประสบความสำเร็จหรือไม่ฯลฯ โดยคำถามที่จะใช้มีตั้งแต่ระดับกว้างๆและคำถามเฉพาะ

การประเมินกระบวนการจำเป็นต้องได้รับการเตรียมการเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) แก่ผู้รับผิดชอบและผู้ดำเนินการทุกลำดับขั้น การประเมินกระบวนการมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

1. เพื่อหาและทำนยข้อบกพร่องของกระบวนการหรือการดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้

2. เพื่อรวบรวมสารสนเทศสำหรับผู้ตัดสินใจวางแผนงาน

3. เพื่อเป็นรายงานสะสมถึงการปฏิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น

ยุทธวิธีในการประเมินกระบวนการ

1. แสดงให้เห็นหรือกระตุ้นเตือนถึงศักยภาพของทรัพยากร ที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในโครงการ

2. เกี่ยวกับการวางโครงการและการตัดสินก่อนวางแผน โดยผู้อำนวยการโครงการ ระหว่างการดำเนินการโครงการนั้น

3. บอกลักษณะสำคัญใหญ่ๆของโครงร่าง โครงการ

ส่วนประกอบที่เป็นหัวใจสำคัญของการประเมินกระบวนการ

1. การจัดหานักประเมินกระบวนการเต็มเวลา

2. เครื่องมือที่เป็นสื่อในการบรรยายกระบวนการ

3. การร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอระหว่างนักประเมินกระบวนการและบุคลากรในโครงการหรือในแผนงาน

4. ปรับปรุงโครงร่างการประเมินอยู่เป็นนิจสิน

       โดยสรุปภายใต้การปะเมินกระบวนการ สารสนเทศจะถูกวิเคราะห์รวบรวมและนำเสนอเท่าที่ผู้ดำเนินโครงการต้องการสารสนเทศนั้นอาจจะบ่อยทุกวันถ้าจำเป็น เฉพาะอย่างยิ่งในการคาดคะเนล่วงหน้า และการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาเท่านั้น แต่ยังต้องบันทึกสารสนเทศของกระบวนการสำหรับแปลความหมายของความสำเร็จของโครงการด้วย

การประเมินผลผลิต

        มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดและแปลความหมายของความสำเร็จ ไม่เฉพาะเมื่อสิ้นสุดวัฏจักรของโครงการนั้น แต่ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งในระหว่างการปฏิบัติโครงการด้วย  การประเมินผลผลิต คือดูว่ากำหนดวัตถุประสงค์นั้นนำไปใช้ได้หรือไม่ เกณฑ์กรวัดที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมคืออะไร เปรีบบเทียบผลที่วัดได้กับมาตรฐานสัมบูรณ์ หรือมาตรฐานสัมพัทธ์ ที่กำหนดไว้ก่อนและทำการแปลความหมายถึงเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรายงานจากการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้าและกระบวนการร่วมด้วย

       ที่ผ่านมาการประเมินมีความหมายเพียงส่วนที่เป็นการประเมินผลผลิตเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีการประเมินแบบอื่นที่ต่างจากการประเมินผลผลิต การประเมินสภาวะแวดล้อมและการประเมินผลผลิตจะประเมินสิ่งที่มีอยู่ว่าบรรลุเป้าหมายใดอย่างมีระบบ

       การประเมินปัจจัยนำเข้า และการประเมินผลผลิตสามารถที่จะแยกให้เห็นได้ง่าย การประเมินปัจจัยนำเข้าจะเกิดขึ้นก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงการและการประเมินผลผลิตจะเกิดขึ้นในระหว่างและหลังโครงการในขณะที่การประเมินสภาวะแวดล้อมกำหนดสิ่งจำเพาะ สำหรับการประเมินผลผลิต การประเมินปัจจัยนำเข้า ก็แสดงสิ่งจำเพาะสำหรับการประเมินกระบวนการ

      การประเมินผลผลิตจะสืบสาวสิ่งที่มีอยู่ว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้วหรือกำลังจะบรรลุ แต่การประเมินกระบวนการจะประเมินสิ่งที่มีอยู่ว่าระเบียบการนั้นได้รับการกระทำไปตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ การประเมินทั้ง 2 ชนิดจะให้เขียนข้อมูลย้อนกลับสำหรับการควบคุมและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงระเบียบปฏิบัติในกระบวนการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 313247เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขยันทำงานจังพี่เรา สู้............

พี่เอ๋..... ก๊อปสูตรลงบล๊อกทำยังงัยดี มันทำไม่ด้ายเย้ยๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ใจเย็นๆ yonnapa พี่เองก็ยังใช้คอมไม่คล่องเลย แต่ก็พยายามเรียนรู้อยู่

เก่งจังเลย ขยันแท้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท