สรุปงานวิจัย


ชื่อเรื่อง ปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครู สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา

ผู้วิจัย ภิญญา   รักษาพันธ์

ปีที่วิจัย  2551

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครู สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครู สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามคุณวุฒิของพนักงานครู

3. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครู สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามประสบการณ์ทางการสอนของพนักงานครู

4. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครู สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามขนาดโรงเรียน

วิธีการวิจัย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(survey Research)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานครูโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกาาเมืองพัทยา จำนวน 402 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำนวน 10 โรงเรียน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน(yamane)ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling)ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการบริหารงานวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นแนวทางการบริหารงานวิชาการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดและพัฒนาบุคลากร ด้านพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล ลักษณะเคื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับสถานภาพของพนักงานครู ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา

ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ขอหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานครูในโรงเรียนจำนวน 10 โรงเรียน

2. ผู้วิจัยนำหนังสือขอความร่วมมือพร้อมแบบสอบถามไปส่งให้ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาทั้ง 10 โรงเรียนด้วยตนเอง จำนวน 200 ชุด พร้อมทั้งขอให้ช่วยแจกแบบสอบถามแก่พนักงานครู ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม และหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผู้วิจัยจะมารับแบบสอบถามคืนดด้วยตนเอง ผลปรากฏว่าได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 200 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100

3. ตรวจสอบความสมบูรณ์องแบบสอบถาม ซึ่งคัดเลือกเฉพาะแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์มาตรวจให้คะแนน เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และหาค่าสถิติตามจุดมุ่งหมายและสมมุติฐานที่ตั้งไว้

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. คำนวณสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละแล้วนำเสนอในรูปแบบของตารางประกอบความเรียง

2. คำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ระดับปัญหาของการบริหารงานวิชาการใน 5 ด้าน คือ ด้านการจัดและพัฒนาบุคคลากร ด้านพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล ทำการแปลความหมายตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้

3. ทำการทดสอบความแตกต่างตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยจำแนกตามคุณวุฒิของพนักงานครู ประสบการณ์ในการสอนและขนาดโรงเรียน โดยคุณวุฒิของพนักงานครูและขนาดโรงเรียนใช้สถิติการทดสอบ t-test และประสบการณ์การสอนใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(One - Way ANOVA)

 ผลการวิจัย พบว่า

1. พนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา มีปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านในระดับปานกลาง

2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามคุณวุฒิของพนักงานครู โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีมีปัญหาการบริหารงานวิชาการมากกว่าพนักงานครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

3. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามประสบการณ์ทางการสอนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

4. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 312953เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ แวะเข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจครับผม มีคำที่สงสัยครับ คือคำว่า พนักงานครู ไม่ทราบมีที่มาที่ไปอย่างไรครับ เพราะพึ่งได้ยิน ขอบคุณครับ

ขอตูบทคัดย่อ หรือสรุปผลการศึกษาด้วยได้ไหมครับ สนใจอยู่เหมือนกันครับ

สวัสดีค่ะ...คุณบุญเย็น พนักงานครู ก็คือ ข้าราชการครูที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้าราชการที่ทำงานเทศบาล ก็เรียก พนักงานเทศบาล เป็นครูในสังกัดเทศบาล ก็เรียกพนักงานครูเทศบาล สังกัดเมืองพัทยา ก็เรียกพนักงานครูเมืองพัทยา กทม. ก็ พนักงานครูกทม. ค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณสามารถ สรุปผลการศึกษาลงไว้แล้วนะค๊ะ

สวัสดี อย่าลืมแอดแพลนเนต นะ จะได้มองเห้นกัน อิอิ

ดีครับ คุงเพ่สรุปเสร็จแล้วดีใจจริงๆ

สวีสดีจ้า...อ่านแย้วจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท