แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง(4)


แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง(4)

แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง(4)

แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งแมลงช้างปีกใส  ด้วงเต่า  และแตนเบียน ทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถควบคุมปริมาณเพลี้ยแป้งได้ 

หมายเหตุ  : 

          แมลงศัตรูธรรมชาติ  ทุกชนิดอ่อนแอต่อสารกำจัด  ทั้งเคมีและชีวินทรีย์  เกษตรกรจึงควรระมัดระวัง  อัตราการใช้สารกำจัดอย่างเคร่งครัด

มันสำปะหลังอายุ 3 เดือนเศษ

                   ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นต้นพันธุ์ในแปลงที่เคยรับการระบาดมาแล้ว  และบำบัดโดยเชื้อรา    บิวเวอเรีย  ก่อนการปลูกได้ทำการแช่ท่อนพันธุ์อีกครั้งด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย  และสารเสริมประสิทธิภาพไคติน  ณ  วันนี้ยังไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้ง  และการเจริญเติบโตของมันเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งการ   สร้างหัวและต้นอย่างสมดุล  อาจกล่าวได้ว่าแมลงที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ท่ออาหาร (xylem)  ของพืช  แล้วคงอยู่ในเซลล์จึงทำให้แมลงไม่สามารถเข้าทำลายได้

ที่มา  :  Biological  Control  Agents  in Agriculture and Public Health

แตนเบียน

แตนเบียน  เพชฌฆาตที่ร้ายกาจของแมลงศัตรูพืช  มีพฤติกรรมการวางไข่ไว้ในตัวแมลงศัตรูพืชและใช้น้ำเลี้ยงในตัวแมลงที่วางไข่ไว้  เป็นอาหารในการเจริญเติบโต  และทำให้แมลงศัตรูพืชที่ถูกแตนเบียนวางไข่ตายในที่สุดง

แตนเบียนที่กำจัดแมลง  คือ  แตนเบียนเพศเมีย  มีอวัยวะวางไข่ลักษณะเรียวยาว  ปลายแหลมคม  คล้ายฉมวกสำหรับแทงสอดเข้าไปในตัวแมลงศัตรูพืช  แตนเบียนแต่ละตัวจะวางไข่ได้ประมาณ  100  ฟอง  (ตลอดชีวิต)

แตนเบียน  สามารถมีไข่ที่ออกเป็นตัวได้  โดยไม่ต้องผสมพันธุ์จากตัวผู้  แต่ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะออกเป็น “เพศผู้”  ส่วนไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะออกเป็น “เพศเมีย”  (เราต้องการเพศเมีย)  ส่วนใหญ่ จะพบเพศผู้  เพราะแตนเบียนเพศเมียจะมุ่งแต่การวางไข่มากกว่าการผสมพันธุ์กับตัวผู้

(ที่มา : รศ.ดร.สังวรณ์  กิจทวี  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล)

สรุป

                   การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังครั้งนี้  ถือว่าเป็นวิกฤติของเกษตรกร  และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตของมันสำปะหลัง การบำบัด  หรือการเยียวยา  คงต้องมุ่งเน้นวิธีการ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด  ไม่ว่าจะเป็นวิธีเขตกรรม  วิธีกล  ชีววิธี  หรือ  เคมีกำจัด  จะต้องเน้นความรวดเร็ว  คุณภาพและประสิทธิภาพ  บนพื้นฐานความเป็นจริง  ทั้งคุณภาพและราคา  เกษตรกรต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง  ใส่ใจกับการเรียนรู้กับหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ         เพราะถ้าเกษตรกรมองการเรียนรู้เป็นเรื่องยุ่งยาก  เป็นเรื่องลำบาก  การดำเนินงานครั้งนี้  จะสูญเปล่า           ความเสียหายจะเกิดกับเกษตรกรเองก่อน  และแน่นอนผลกระทบจะต้องมีถึงผู้ประกอบการ  และประเทศไทยอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 312363เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท