หัวข้อที่ได้รับมอบหมาย


การวิจัยการศึกษา งานวิชาการวิจัยทางการบริหารการศึกษา

   การวิจัยการศึกษา

 ความหมายของการวิจัย
       คำว่า "การวิจัย"   ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  "Research"   Re   มีความหมายว่า  "อีก"   Search  แปลว่า  "การค้นหา"  ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก  และความหมายของคำว่า "การวิจัย" มีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างเช่น 
       พจนานุกรมฉบับนักเรียน (2536 :470) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า การสะสมการรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา 
       อนันต์ ศรีโสภา (2521 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่าเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้พยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งให้คงที่ 
       รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2535: 1 - 2) ได้ให้ความหมายของการวิจัย RESEARCH จำแนกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ 
       R = Recruitment & Relationshipหมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวบรวมรายชื่อผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน 
       E = Education & Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และประสิทธิภาพสูงในการวิจัย 
       S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง และผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นในความคิดริเริ่มมีความกระตือรือล้นที่จะทำวิจัย 
       E = Evaluation & Environment หมายถึง รู้จักประเมินผลดูว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำการวิจัยต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย 
       A =  Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และมีเจตคติที่ดีต่อการติดตามผลการ
       R =  Result  หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาจะเป็นผลในทางไหนก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้น ๆ เนื่องจากเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ 
       C =  Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม 
       H  =  Horizon หมายถึง เพื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างขึ้น ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง 
       ไพโรจน์ ตีรณธนากุล (2534 : 1)ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าการศึกษาค้นคว้า   รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ  และมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอนแล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายตลอดจนหาเหตุผล และความเป็นมาของข้อมูลทำการสรุปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และทางสถิติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและหลักการบางอย่าง 
       จากที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา หรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ 
               ธรรมชาติของมนุษย์ส่วนใหญ่ต้องการที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้นซึ่งเหตุนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มนุษย์มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าใจในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเองวิธีการแสวงหาความรู้ความจริงของมนุษย์โดยทั่วไปมีดังนี้ 
     1. การแสวงหาความรู้ความจริงโดยไม่อาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้ ความจริงอย่างง่าย ๆ โดยมากมักจะเป็นความจริงส่วนบุคคล(Personal Facts) เช่น 
        - ความรู้จากประสบการณ์ส่วนบุคคล  ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอาจจะเป็นความรู้ที่ได้จากการสะสมขึ้นมาเองหรือแสวงหาความรู้แบบบังเอิญ  เช่นเด็กเล็ก ๆ เอานิ้วมือไปใกล้ไฟมากๆ ก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าไฟร้อน  หรือได้ความรู้มาโดยการลองผิดลองถูกเช่น มีบาดแผลเลือดไหล ลองขยี้ใบไม้ชนิดต่าง ๆ มาปิดแผลถ้าใบไม้ชนิดใดห้ามเลือดได้ ก็จะเกิดความรู้ใหม่ ซึ่งได้จากการลองผิดลองถูก 
         - ความรู้จากบุคคลอื่นเช่น โดยประเพณีและวัฒนธรรม โดยมีผู้รู้บอก ให้หรือโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้บอก 
      การแสวงหาความรู้ของมนุษย์โดยไม่อาศัยเหตุผลอาจจะเป็นไปได้ทั้งความรู้ที่ถูกและความรู้ ที่ผิดไปจากความเป็นจริงที่ได้ และในขณะเดียวกันความรู้นั้น ถ้าเป็นการถ่ายทอดกันมาก็ไม่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่เพิ่มเติม 
       2. การแสวงหาความรู้ความจริงโดยอาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้ความจริงซึ่งมักจะเน้นความจริงทั่วไป (Public  Facts)เช่น 
          2.1 วิธีอนุมาน(Deductionmethod) เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย  แล้วจึงลงสรุปจากความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และย่อย ตัวอย่างเช่น 
                ข้อเท็จจริงใหญ่  :  คนทำวิจัยได้ทุกคนมีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และด้านการสังเคราะห์ 
                ข้อเท็จจริงย่อย   :  นายอนันต์ ทำวิจัยได้ 
                 สรุป               :  นายอนันต์ มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ 
 การใช้วิธีอนุมานถูกโจมตีว่าไม่ได้สร้างความรู้ใหม่ อีกทั้งข้อสรุปจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อยเป็นจริงดังนั้น ผู้ที่จะนำเอาวิธีอนุมานไปใช้ถ้าขาดความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่นำมาอ้างก็จะทำให้สรุปผิดได้แต่วิธีอนุมานยังมีประโยชน์ต่อการวิจัยบ้าง ในเรื่องการตั้งสมมติฐาน วางแผนเก็บข้อมูลเป็นต้น 
          2.2 วิธีอุปมาน(Induction method) เป็นวิธีย้อนกลับกับวิธีอนุมาน นั่นคือเป็นวิธีการค้นหาความรู้ความจริงจากข้อเท็จจริงย่อยๆ โดยพิจารณาสิ่งที่เหมือน กัน ต่างกัน  สัมพันธ์กัน  แล้วจึงสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ตัวอย่างเช่น 
                ข้อเท็จจริงย่อย  : คนที่เป็นโรคเอดส์แต่ละคนรักษาไม่หายในที่สุดจะตายทุกคน 
                 ดังนั้น        :  กลุ่มคนที่เป็นโรคเอดส์ต้องตายทุกคน 
                ข้อบกพร่องของวิธีอุปมาน คือ หากเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนก็จะทำให้การลงสรุปความรู้ใหม่ผิดพลาดไป 
          2.3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)  ถือว่าเป็นวิธีสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์สมัยใหม่และเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งประ-กอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 
                1) ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดลงไปว่า ปัญหาที่  แท้จริงคืออะไร 
                2) ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)  เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมี เหตุผล 
                3) ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐาน 
                4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นมา 
                5)  ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปว่าข้อเท็จจริงของปัญหาคืออะไร
            วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุด  นักวิจัยจึงยึดถือและปฏิบัติตามลำดับขั้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก  

จุดมุ่งหมายของการวิจัย 
       จุดมุ่งหมายของการวิจัยเมื่อพิจารณาตามเป้าหมายในการวิจัยแบ่งได้ 2  ประการคือ 
           1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการ  เป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา ไม่คำนึงถึงเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ เพราะการวิจัยแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการรู้เรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น เช่น การวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติการโคจรของดาวหางเป็นต้น 
           2. เพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยตรง เช่น การวิจัยแก้ปัญหาการจราจรการวิจัยปัญหาการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นต้น  
ประโยชน์ของการวิจัยทางการศึกษา 
       การวิจัยนั้นถ้าดูตามเป้าหมายจะมี2 ลักษณะ คือ การวิจัยพื้นฐาน (Pure Research or Basic Research) และการวิจัยประยุกต์(Applied Research) ซึ่งการวิจัยพื้นฐานมีเป้าหมายที่จะแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อสร้างกฎ สูตร ทฤษฎีในแต่ละสาขาวิชา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป  ส่วนการวิจัยประยุกต์ มุ่งนำผลจากการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ 
       การวิจัยทางการศึกษา มีทั้งการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ

          1.ได้ข้อความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ    ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น  ผลการวิจัยทำให้เราทราบว่ามนุษย์แต่ละคนมีความถนัดในการเรียนวิชาการสาขาต่างๆ แตกต่างกันออกไป การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการสอน ทำให้ทราบว่าเทคนิคการสอนที่ต่างกันนั้น  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน แตกต่างกันไปอย่างไร 
          2. ช่วยให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุดจากการได้ความรู้และ ความเข้าใจต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทำให้นักการศึกษาสามารถที่จะจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ 
          3. ก่อให้เกิดประดิษฐ์กรรมและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการศึกษา ผลของการวิจัยในทางการศึกษาส่วนหนึ่งก่อให้เกิดแนวคิด วิธีการเครื่องมือ  ตลอดจนวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการศึกษาให้ดีขึ้น 

ขั้นตอนการวิจัย 
       การดำเนินการวิจัย ยึดถือและปฏิบัติตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักมีลำดับขั้นของการทำวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 
          ขั้นที่ 1  การกำหนดปัญหา(Problem Identification) เมื่อต้องการศึกษาเรื่องใด ต้องตั้งปัญหาที่จะศึกษาให้ชัดเจนซึ่งในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องตั้งชื่อเรื่อง และนิยามปัญหาที่จะวิจัย ว่าในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายอย่างไรการที่จะนิยามปัญหาได้ชัดเจน ต้องมีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ 
          ขั้นที่ 2  การตั้งสมมุติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมุติฐานเป็นการทำนายผลการวิจัย เป็นการเดาว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร 
          ขั้นที่ 3   การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data) ผู้วิจัยจะต้องวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดเก็บรวบรวมข้อมูลและหาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการตอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 
          ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) ผู้วิจัยจะต้องใช้ วิธีการทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยและแปลความหมายของข้อมูล 
          ขั้นที่ 5 การสรุปผล (Conclusion)  เป็นการสรุปผลว่าการวิจัยครั้งนี้ได้ผลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ แล้ว  ทำเป็นรายงานการวิจัย เพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการศึกษาค้นคว้า
       ในการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยจะต้องทำการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อให้งานวิจัยเป็นไปอย่างมีแบบแผน ซึ่งอาจแยกแยะขั้นตอนทั้งการวางแผนและลงมือปฏิบัติจริงได้ดังนี้ 
          1. เลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยเป็นการกำหนดของงานวิจัยว่า จะทำการศึกษาในเรื่องใดสาขาวิชาใด มีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน ปัญหาที่ทำการวิจัยนั้นต้องมีคุณค่าและเหมาะสมกับความสามารถ เวลาและเงินทุนสำหรับการวิจัย 
          2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง    ผู้วิจัยต้องศึกษาทฤษฎี หลักการ ความรู้พื้นฐานผลงานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เห็นแนวทางในการวิจัย 
          3. เขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อให้การวิจัยดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายละเอียดของกระบวนการวิจัยไว้ล่วงหน้าว่าจะต้อง ทำอะไรบ้าง ตามลำดับแต่ต้นจนจบ โดยมีปฏิทินการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายเครื่องมือในการวิจัยไว้ด้วย 
          4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากเขียนเค้าโครงการวิจัย เรียบร้อยแล้ว ก็มีการนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย 
          5. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย 
          6. สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  ขั้นนี้เป็นการสรุปผลที่ได้จาก การวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะทำการวิจัย ในลักษณะคล้าย คลึงกันหรือนำผลการวิจัยไปใช้ 
          7. เขียนรายงานการวิจัยงานวิจัยจะเสร็จสมบูรณ์ต้องมีการรายงานวิจัยออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยขั้นนี้จะรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบตามแนวการเขียนรายการวิจัย เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าต่อไป 

ประเภทของการวิจัย 
       งานวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการจัดประเภทในที่นี้ขอกล่าวถึงประเภทของงานวิจัยเมื่อใช้เกณฑ์ 4 ประเภท ดังนี้ 
       1. แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 
          1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research)  เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งที่จะนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทันทีในชีวิตจริงแต่มีความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ข้อเท็จจริงพื้นฐานทางทฤษฎีหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก 
          1.2 การวิจัยประยุกต์(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติเช่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อนำไปพัฒนาโครงการเป็นต้น 
       2. แบ่งตามลักษณะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภทคือ 
          2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น 
         2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์ 
      3.  แบ่งตามประเภทของศาสตร์ แบ่งได้2 ประเภท คือ 
          3.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(SciencesResearch) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและวัตถุต่างๆ รวมทั้งมุ่งนำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น งานวิจัยทางด้านการแพทย์อุตสาหกรรม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น 
          3.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยทางการศึกษา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม  การเมืองการปกครอง เป็นต้น 
     4.  แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย 
          ระเบียบวิธีวิจัยหมายถึง แบบแผนในการวิจัยซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบปัญหาที่ทำการวิจัย 
          การแบ่งประเภทของการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภทคือ 
          4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical  Research) เป็น การวิจัยที่มุ่งแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตโดยศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยจะต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์แนวคิดต่าง ๆ ที่ค้นพบ มาประมวล แปลความ วิเคราะห์และสังเคราะห์  ตัวอย่างเช่น 
              - ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พ.ศ.2493-2529                                                    

              -พัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2459-2532
          4.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)   เป็น การวิจัยที่ค้นหาความจริงโดยอาศัยการทดลองเพื่อให้ได้คำตอบในเชิงเหตุผลว่ามี สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผลที่เกิดตามมา  การวิจัยประเภทนี้จะมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ตัวอย่างเช่น 
               - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยอ่านบทเรียนก่อนและหลังการเรียน (ธนัฐ  กรอบทอง.) 
               - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่อง กฎและวงจรไฟฟ้ากระแสตรง   ที่เรียนจากหน่วยการ เรียนกับการสอนปกติ
          4.3 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive  Research)  เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาคำตอบ คำอธิบาย ของสภาพการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ  ที่อยู่ในช่วงปัจจุบันที่กำลังมีการวิจัยโดยชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นอย่างไร  เช่น เกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ
             4.3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ   (Survey Studies)  เป็นการศึกษาเพื่อที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงปัจจุบันที่มีการเก็บข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานในการวางแผนหรือปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตัวอย่างเช่น 
                  - ความคิดเห็นของครู-อาจารย์ที่มีต่อการจัดโครงการ อาหารกลางวัน 
                   - การสำรวจประชามติ (public opinion survey) เช่น สำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล 
                   - การวิเคราะห์งาน (job analysis)  เป็นการศึกษารายละเอียดของงาน 
                   - การวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของเอกสารในปัจจุบันเช่น หนังสือแบบเรียน หลักสูตร 
             4.3.2 การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Studies) เป็นการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 
                   ก. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case studies) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  เพื่อให้ทราบรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ 
                   ข. การศึกษาเปรียบเทียบ (Causal comparative studies) การศึกษาแบบนี้ยังไม่เป็นการทดลองเป็นเพียงการศึกษาผลที่ปรากฏว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ไม่มีการควบคุมตัวแปร 
                  ค. การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์(Correlation studies) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ 
             4.3.3 การศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies) เป็นการวิจัยในลักษณะเฝ้าติดตามดูความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใด ๆ ที่ฝันแปรไปตามเวลา แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 
                   ก. การศึกษาภาวะการเจริญเติบโต (Growth studies) เช่นการศึกษาพัฒนาการทางร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นต้น 
                  ข. การศึกษาแนวโน้ม  (Trend Studies)   เช่น การศึกษาถึงแนวโน้มของอาชีพที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสกลนครอีก15 ปีข้างหน้า การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในทศวรรษหน้า เป็นต้น 
ลักษณะของนักวิจัยที่ดี 
       การวิจัยเป็นงานที่มีระบบระเบียบเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักวิจัยได้ดีจะต้องได้รับการฝึกหัดที่ถูกต้อง  และมีความรับผิดชอบสูงดัง ได้สรุปลักษณะของนักวิจัยที่ดีไว้  6 ประการ ดังนี้ 
       1. กรณีที่นักวิจัยต้องการนำข้อความรู้ความคิดเห็นหรือข้อค้นพบของบุคคล อื่นมาใช้ประโยชน์ จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความรู้หรือบุคคลที่เป็นผู้ค้นพบข้อความรู้นั้นๆ 
      2. นักวิจัยจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาจะต้องไม่มีการบิดเบือนปิดบัง ตกแต่ง หรือกำหนดตัวเลขค่าสถิติ ขึ้นเองโดยไม่มีการเก็บข้อมูลต่างๆ มาจริง 
       3  นักวิจัยจะต้องรายงานผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมาใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ถูกต้องชัดเจน ไม่ปิดบังซ่อนเร้นหรือเขียนรายงานการวิจัยให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลกลุ่มใดๆ โดยไม่มีผลการวิจัยที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน 
       4. ก่อนที่นักวิจัยจะเก็บข้อมูลจากบุคคล หน่วยงาน หรือสถาบันใด ๆ จะ ต้องมีการติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า และลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากที่ได้รับอนุญาตแล้ว 
       5. นักวิจัยจะต้องไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะของการบังคับจิตใจหรือ ฝืนความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูล และทำการวิจัยในลักษณะทดลองจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้เข้ารับการทดลอง 
       6. ในการรายงานผลการวิจัย   นักวิจัยจะรายงานผลการวิเคราะห์ในลักษณะของผลรวมทั้งหมด  ไม่นำเอาข้อมูลเฉพาะบุคคลมาเปิดเผยหรือกล่าวอ้างชื่อของบุคคลที่ให้ข้อมูล 

ตัวแปรในการวิจัย 
                ตัวแปร : Variable  มาจากคำว่า  vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง  able = สามารถ   Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ 
                ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือสภาวะการณ์ต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกหรือเป็นระดับหรือมีค่าได้หลายค่า       ตัวแปร คือ สิ่งที่โดยสภาพทั่วไปแล้วสามารถแปรค่าได้ค่าที่แปรออกมาของตัวแปรย่อมมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
                ตัวแปร คือ สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง       โดยสรุปแล้ว ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร 
                 ประเภทของตัวแปร 
                เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ

       1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
                1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น 
             ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 
             บุตรคนที่ (1, 2, 3,...) 
             คะแนนของนักเรียน (17, 18, 19,....) 
             จำนวนบุตรในครอบครัว (0, 1, 2,....) 
                1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น 
             อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) 
             เพศ  (ชาย หญิง) 
             ภูมิลำเนา (ในเมือง ชนบท) 
       2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
                2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น ค่าของตัวแปรเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขเต็มหน่วยพอดีอาจเป็นทศนิยมหรือเป็นเศษส่วนได้ 
                2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 
       3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 
                3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 
                3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 
       4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 
                4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 
                4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 
                4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย 
          ตัวอย่าง
          1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ 
            ตัวแปรต้น  คือ วิธีสอน 
            ตัวแปรตาม คือ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 
            ตัวแปรแทรกซ้อน  ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 
          2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย 
                                       และนักเรียนหญิง 
            ตัวแปรต้น   คือ  เพศของนักเรียน 
            ตัวแปรตาม  คือ  ความถนัดด้านเครื่องจักรกล 
            ตัวแปรแทรกซ้อน  ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 
          3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน 
            ตัวแปรต้น    คือ  อาชีพของผู้ปกครอง 
            ตัวแปรตาม   คือ  พฤติกรรมความเป็นผู้นำ

 

หมายเลขบันทึก: 312086เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ไปวังน้ำเขียว....เสียวจัง

ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยดีมากเลยครับ..น้องยา

แต่สงสัย..ทำไม คุณปรีชากร ถึงเสียว...

น้องบอยคงเคยไปทำเสียวที่วังน้ำเขียวมั้งพี่ยุทธ

ข้อมูลชัดเจนดีมากครับ เก้งจัง /// ขยันหาข้อมูลเหรอเกิน /// ขอชมเชยครับ อิอิ

แหล่ม...........................................................................................

มีข้อมูลเยอะจัง หาได้ไงเนี่ย ช่วยหาเผื่อหน่อยดิ ฮิฮิ

ขยันจังเลยนะคนสวย เก่งมากเลยจ๊ะ

อนาคตต้องเป็น ดร. แน่ๆเลยพี่เรา สู้ๆ

หนูก็สงสัยนะพี่ยุทธว่าไปแล้วทำไมต้องเสียวล่ะ.........น้องบอย

เสียว..งานวิจัย งานวิจัย...เสียว น้องบอยทำวิจัยเรื่องนี้ก็ดีนะท่าทางเชี่ยวชาญประสบการณ์เยอะ...รับรองได้ว่าจะเป็นงานวิจัยยอดนิยมแน่ ๆ

  • สวัสดีคะคุณจริยา
  • งานวิจัยน่าสนใจมาก
  • ขอให้มีความสุขนะคะ
  • ยา ทำการบ้านเสร็จยังฮ่ะ เอามาให้ลอกมั่งดิ ช่วงนี้ยุ่งฮ่ะ กำลังสอนงานน้อง ๆ ที่บริษัทอยู่ เนี่ยเพิ่งจะว่างวันนี้ แต่ตอนนี้ คิ ม่าย ออก ฮ่ะ ส่งมาให้ลอกมั่งนะ (คืนนั้นเสียงดังมาถึงข้างบนเลย 555...)

    ยา น้อง ๆ ชั้นมาเปิด Mail ชั้น แล้วเจอ Mail แกที่ส่งมา ชั้นเสียภาพพจน์ หมดเลยแก (เลยมีคนขอให้ Reply ต่อเพียบเลย)

    วันนี้ไป Train มาใช่เปล่าจ๊ะ เอาเอกสารมาให้ Copy หน่อยนะจ๊ะ คุณครูจริยา คนงาม (ถ้าจะให้จองหัองให้รีบบอกนะจ๊ะ จะได้จองให้เดี๋ยวห้องเต็ม เพราะช่วงนี้เป็นเทศการบางแสน นักท่องเที่ยวเยอะ ) มีอีกอย่าง พอดีว่าจะจัดงานเลี้ยงน้อง ๆ ที่บริษัท มีอะไรนำเสนอเป็นของขวัญ ไหมจ๊ะ ของดีราคาถูก มีหรือเปล่า (มี Web นี้ก็ดีนะ ไม่เปลืองค่าโทรศัพท์ )

    ลืมบอกไปว่ามีหนังสือภาวะผู้นำเยอะเลย จะทำวิจัยเรื่องนี้ใช่ไหม เอาเปล่าหนังสือ ถ้าจะเอาบอกล่วงหน้านะจ๊ะ จะได้ขนไปให้

    ยาเอ๊ย เก็บอาการนิดนึง พี่หัวใจจะวายแทนพี่ยุทธ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท