องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : การมีส่วนร่วมของสามีเพื่อช่วยลดการผ่าตัดคลอดและการใช้หัตถการ


ผลการศึกษาการสนับสนุนให้สามี/ญาติเข้าเยี่ยมในระยะคลอดช่วยลดอุบัติการณ์การทำสูติศาสตร์หัตถการ และการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ไม่ได้สืบเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อน

                                                    นางสุมาลัย   นิธิสมบัติ       

                                                    นางบุษรา   ใจแสน          

                                                    นางสาวกัญญาณี   รัตนอารียกรณ์           

ในปัจจุบันพบว่าการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและการคลอดโดยการใช้สูติศาสตรหัตถการมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่วนใหญ่มาจากความต้องการของผู้รับบริการคลอดมากกว่าความจำเป็นจากการมีภาวะแทรกซ้อน เพราะผู้รับบริการเกิดความกลัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกลัวว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านั้นเพียงคนเดียวอีกทั้งไม่มั่นใจว่าตนเองจะคลอดได้อย่างปลอดภัย จึงต้องการให้เวลานั้นผ่านไปอย่างรวดเร็ว หากทำการผ่าตัดคลอดในครรภ์แรกครรภ์ที่ 2 ก็ต้องผ่าตัดอีก การผ่าตัดคลอดบุตรของประเทศไทยนอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เพื่อช่วยให้แม่และเด็กปลอดภัยแล้วยังเกี่ยวข้องกับด้านสังคมค่านิยม และเศรษฐกิจ  โดยทั่วไปร้อยละ80-90 ของการคลอดเป็นการคลอดธรรมชาติมีเพียงร้อยละ 10-20 ที่มีปัญหาคลอดเองไม่ได้แต่ตัวเลขการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องของประเทศไทยกำลังขยับตัวขึ้นประมาณ ร้อยละ 50(ปี 2531-2544) สูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ถึงกว่า 3 เท่าตัว   และสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ ในปี 2546 การผ่าตัดคลอดร้อยละ 33 และปี 2547 ร้อยละ 34   ดังนั้นหากสนับสนุนให้ญาติ/สามีได้เข้าเยี่ยมเป็นระยะ จะช่วยลดความหวาดกลัวและวิตกกังวล เกิดความมั่นใจจนเป็นผลดีในระยะคลอด ลดอุบัติการณ์ของการทำสูติศาสตร์หัตถการรวมถึงการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่เกิดจากความต้องการของผู้รับบริการคลอดลงได้

    จากการศึกษาพบว่า

  • ผู้รับบริการที่ได้รับการเยี่ยมจากสามีและญาติจำนวน 220 ราย มีญาติได้เยี่ยม 1 ครั้ง จำนวน 126 ราย (ร้อยละ 57.28)และได้เยี่ยมมากที่สุดเพียง 3 ครั้ง จำนวน 21 ราย (ร้อยละ9.54)    สามารถคลอดได้ด้วยวิธีธรรมชาติ จำนวน 126ราย (ร้อยละ 57.28)
  • คลอดโดยการใช้เครื่องมือทำสูติศาสตร์หัตถการ 24 ราย (ร้อยละ 10.90)  
  • คลอดโดยวิธีการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 70 ราย (ร้อยละ31.81)
  • การผ่าตัดคลอดโดยมีข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดคลอด 55 ราย (ร้อยละ 78.57 )
  • ไม่มีข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดคลอด  15 ราย (ร้อยละ 21.43) 

จากนี้พบว่าสถานการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แรกคลอดสามารถทำได้ร้อยละ 86.36 ไม่ได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แรกคลอดเพียงร้อยละ 13.63 

เพื่อพัฒนาการบริการในระยะรอคลอด และควรมีการจัดทำโครงการให้สามีมีส่วนร่วมในการคลอดเพิ่มขึ้น

หมายเลขบันทึก: 311116เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

* เย้..เย้..เห็นด้วยค่ะ

* สำหรับโครงการที่ให้สามีมีส่วนร่วมในการคลอด

* สามีจะได้เข้าใจความรู้สึกของภรรยาและเป็นกำลังใจให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท