เก็บมาฝาก.. การเริ่มต้นครั้งแรกของน้อง ...คุณอำนวยKM สถาบันทันตกรรม


    
         หลังจากคุณอำนวย สถาบันทันตกรรม ผ่านเวที Train Facilitator และ Note taker ไปแล้ว  อาจารย์หมอนันทาและศรีวิภา ก็ถูกเชิญด้วยน้ำเสียงและสายตาขอร้องให้ไปเป็นกำลังใจกับการลงมือปฏิบัติการครั้งแรกของคุณอำนวย...เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พ.ค.49 เวลา 13.00- 17.00 น. ณ ลานKM ชั้น 6 สถาบันทันตกรรม
         การเริ่มต้นครั้งแรกของน้อง ...คุณอำนวยวัยกระเตาะอายุอานามเฉลี่ยประมาณ 23-27ปี  (โดยประมาณด้วยสายตา) การออกแบบเวทีจึงมีสีสันตามวัย  มีคำพูด คิ๊กคุๆ ประกอบอยู่บนสไลด์ของภาพเก็บตกจากกิจกรรมรอบที่แล้ว    และมีการบรรยายความรู้เบื้องต้นว่าด้วย KM  โดยทพ.กฤษดา ปัญจนุวัฒน์ ต่อจากนั้นก็มีน้องหนูอีกสองคน มาบรรยายต่อแนวคิดอีกนิดๆหน่อย แล้วถึงเป็น Role Play เพื่อแสดงเรื่องราวshot สั้นๆให้รู้ว่า    ในเวที KM นั้นมีตัวละคร 4 คน ได้แก่ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณประสาน และคุณกิจ ซึ่งก็ยังไม่ได้สัมภาษณ์แนวคิดของน้องหนูว่า เหตุใดและคิดอย่างไรเธอจึงเห็นว่า คุณประสานและคุณอำนวยต่างกันในบทบาทส่วนไหน? อย่างไร?  
          พื้นที่ของเวทีนี้ได้ออกแบบเป็นลานโถงกว้างที่ไม่มีโต๊ะและเก้าอี้   แต่ทุกคนนั่งแบบสบายๆบนพื้นซึ่งปูพรมไว้แล้ว  จัดแบ่งเป็นวงๆ 3 กลุ่มๆละประมาณ 10 คน    การเข้ากลุ่มก็ตามสมัครใจ 3 กลุ่ม 3 เรื่อง คือ กลุ่ม1 เรื่อง นวัตกรรม  กลุ่ม 2 เพื่อนช่วยเพื่อน  กลุ่ม 3 การบริการสุดประเสริฐ
          

         แล้วก็มาถึงตอนที่Fa  ต้องทำหน้าที่ Facilitatorในกลุ่ม ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทีมเราเฝ้าสังเกตดูว่า น้องๆลื่นไหลได้ตามบทบาทเพียงใดหลังจากผ่านคอร์สติวเข้มไปแล้ว ดิฉันและคุณหมอกับทีมFa ตกลงกันแล้วว่า ทางทีมเราจะทำหน้าที่สังเกตการณ์  เราจะไม่ทำให้นะ จะมองอยู่รอบนอก ทั้งหมดก็รับทราบกันดีถ้วน

         พอถึงตอนเริ่มต้นบทบาท กลุ่มที่ดิฉันสังเกตการณ์  มีสัญญานให้ดูฉงน ระทึกใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับน้องเรา การทำหน้าที่FA มีลักษณะประหนึ่งแฮรี่พอร์ตเตอร์ ที่ขี่ไม้กวาดบินโฉบไปมา  กล่าวคือ พอเริ่มคนแรกเล่า เล่าได้แปล๊บเดียว เธอก็โดดไปหาอีกคนหนึ่ง พออีกคนจะเล่าก็อีกแปล๊บเดียวโดดกลับไปอีกคน  


          ดิฉันอยากจะเข้าไปช่วยกระซิบเพื่อให้คำแนะนำ ก็ดูไม่มีจังหวะ ไม่มีพื้นที่ เพราะระยะห่างของการนั่งระหว่างสมาชิกแต่ละท่านก็ใกล้ชิดกันมาก และเกรงทำให้น้องขาดความมั่นใจ พิจารณาไปมาก็ไม่ช่วยก่อน ให้น้องโดดน้ำเอง ลอยคอไปก่อนนะ  ไม่น่าจะมีอะไรผิดและเสียหายมากมาย  แล้วถึงค่อยคุยกันอีกทีตอนAAR แล้วกันนะ ดิฉันอยากขอฟัง....ขอดูวิธีคิด เหตุผลของการตัดสินใจ รวมถึงดูวิธีปฏิบัติและการแก้สถานการณ์ของเธอก่อน  
          เอ๊ะ!! พอบางคนอยากเล่า...พูดไปได้ไม่นาน  เธอก็...ข้ามวกไปหาคนเดิมนามสมมติว่า  A อีกหลายรอบ ... สีหน้าที่ปรากฏของคนเล่าเรื่องดูเจื่อนไปทันที ...FAน้อยๆ ของดิฉันไม่ทันสังเกต   ดิฉันอยากรู้มากขึ้นว่า ...กำลังเกิดอะไรในใจน้อง ดิฉันแอบกระซิบกับคุณหมอนันทา เล่าเรื่องให้ฟังเพื่อให้ข้อมูลสำหรับช่วง AAR เรียนอาจารย์ขอให้ท่านเป็นผู้พูดคนเดียวเป็นภาพรวมในเวทีใหญ่  สำหรับดิฉันก็จะรอคุยในช่วง AAR เฉพาะกับทีม FA กันเอง เพราะคุณสมบัติสำคัญที่อาจารย์หมอนันทามี แต่ดิฉันมีน้อยมากคือ การสรุปประเด็นAARแบบ smooth and soft ...อาจารย์เป็นsurveyor ทีม HA และ HPH เทคนิคการcommend เชิงสร้างสรรค์ของอาจารย์จะดีมากๆ   ซึ่งดิฉันกำลังตามเก็บเกี่ยวจากอาจารย์อยู่ 


           แล้วก็ถึงตอนAARหล่ะ...  คุณFa ทั้งหมด ก็เริ่มทยอยพูดทีละคน บอกกับเราคล้ายๆกันว่า รู้สึกว่า ยังไม่บรรลุเป้าหมาย    ใช้คำถามไม่ถูก ...ไม่รู้จะ How to อย่างไรให้ได้ Tacit K. ออกมา...  รู้ว่าไอ้ที่เขากำลังเล่าอยู่ยังได้รายละเอียดไม่พอ ยังไม่เจอ Tacit แต่จะถามก็ทำไม่ถูก

             <p align="justify">
          น้องน้อยของดิฉันเล่ารายละเอียดเพิ่มเติมว่า หนูคิดเองว่าผู้เริ่มต้นเล่าเรื่องอาจจะยังนึกเรื่องเล่าไม่ออก เลยพยายามข้ามไปอีกคน   พอคนที่2 กำลังเล่าไป  เอ้าคนที่1 เกิดบอกว่านึกออกแล้วจะเล่าอะไร  อุ้ย!!! ตอนนั้นทำอะไรไม่ถูก ถ้าหากหนูใจเย็นอีกนิด รอหน่อยคนเล่าก็คงเริ่มเล่าได้  แต่พอข้ามไปแล้วเขานึกได้หนูเลยกังวล  รู้สึกว่าไม่บรรลุเป้าหมาย  ต้องฝึกอีก ... มาถึงตรงนี้ ดิฉันยิ้มออกทันที  </p> <p align="justify">
           พอถึงคิวหมอปุ้ม(ทพญ.ปรีณัน สุวัณนวิโรจน์) เธอก็บอกว่า ตอนบอกให้แบ่งกลุ่มแบบสมัครใจ พวกเดียวกันก็จะรีบวิ่งจูงมือมารวมกันเลยทำให้ไม่ได้ความต่าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือถูกกันอยู่แล้ว ที่นี่อาจมีconflict กันเล็กๆบ้าง  หากเราจัดกลุ่มให้น่าจะได้คนที่มีความต่างกัน   
           คุณหมอกฤษดา(CKO) ชื่นชมคุณหมอปุ้มว่า ... คุณหมอปุ้มละเอียดอ่อนดีนะครับ ผมอยู่มากลับไม่รู้   ไม่ได้สังเกต 
           สำหรับผม ผมรู้ว่ามัวแต่ให้ความสำคัญกับวิชาการKM มากไป ขาดการเตรียมตัว Fa  มัวแต่สนใจคิดถึงแต่จะจัดการประชุมและให้น้ำหนักกับเนื้อหามาก  กลัวแต่เขาไม่รู้และคิดว่า ต้องรู้เรื่องให้ชัดเจนก่อน นี่ถ้าน้องๆทีมงานไม่ทักนะครับ ผมเกือบจะพยายามให้ทำจนถึงตารางอิสรภาพ แถมอยากได้ปัจจัยความสำเร็จและเขียนสรุปออกมาให้เสร็จ   ซึ่งน้องๆเขารีบก็ช่วยกันห้ามผม และบอกว่า   ไม่ไหวๆ (แค่ 1/2วัน ผมจะเอาหลายอย่าง) 
           คุณอ้อย (นภัทรกุล บุญยัง) เล่าบ้างว่า รู้สึกคนน้อยกว่าครั้งที่แล้ว บางชั้นและหลายคนขาดหายไป เราต้องทำประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอีกคราวหน้า ....</p> <p align="justify">           ซึ่งดิฉันก็สังเกตเห็นตั้งแต่ย่างก้าวเข้าสถาบันทันตกรรมว่า น้องๆเขาทำPR(ประชาสัมพันธ์)กันเก่งดี  มีป้ายเชิญชวนหลายแบบติดหน้าลิฟท์ ในลิฟท์                 </p> <p align="justify">          พอถึงคิวของดิฉันพูดเกือบสุดท้าย จึงบอกว่า ดีใจมาก เข้าใจเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น และรู้สึกสบายใจเพราะน้องๆรู้คำตอบด้วยตัวเอง รู้ว่าอะไรเป็นเหตุและปัจจัยของการไม่บรรลุเป้าหมาย รู้ว่าถ้าจะทำครั้งต่อไปจะแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างไร </p> <p align="justify">           สำหรับดิฉันแล้ว ...ขอชื่นชมทีมงานจริงๆค่ะ  เพียงแค่คิด...ตระหนักรู้... ก็ถือว่า นี่เป็นความสำเร็จจากการเริ่มต้นในครั้งแรกแล้ว ขออย่าได้กังวลกับจำนวนหรือปริมาณของคนเข้าร่วมกิจกรรม แม้น้อยก็ไม่เป็นไร แต่อยากให้มีคุณภาพและชัดเจน(KM)ก็แล้วกัน 
          
</p> <p align="justify">          หากเปรียบเสมือน... อาจารย์หมอนันทาและดิฉันเป็นครู  การเห็นความสำเร็จในวันนี้ เหมือนเห็นศิษย์กำลังก้าวขึ้นฝั่งแล้ว ไม่มีกังวลแล้วค่ะ</p> <p align="center">          
</p>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31100เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท