โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ ๑ แถว ๑ เหตุผล ๑ แต้ม


          การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ให้นักเรียนมีความสนุกสนานกระตือรือร้นในการเรียนรู้  รู้สึกว่ายากเหลือเกิน   ในวันแรกคิดออกละว่าใช้สำนวนสุภาษิต มาเป็นตัวจุดประกาย  แต่พอถึงเนื้อหาล่ะจะทำอย่างไร  เพียงแต่ครูอธิบายและเด็กฟัง  มันก็ธรรมดา  เด็กก็เบื่อ ทำอย่างไรนะ  ถึงจะไม่ให้น่าเบื่อ  งานนี้ครูภาทิพถึงขั้น(ใช้หมอง นั่งสมาธิ) เหมือนอิคคิวซังเลยทีเดียว  เพราะเด็กยังมีอารมณ์สนุกในคาบที่ผ่านมา  แล้วคาบนี้อยู่ๆ มันจะจืดชืด น่าเบื่อได้อย่างไร 

 

         ว่าแล้วก็คิดออกเหมือนอิคคิวซังเลย  คิดเกมคล้ายๆ เกมสุภาษิตนั่นล่ะ ๑ แถว ๑ เหตุผล ๑ แต้ม

รูปแบบ

๑. แบ่งนักเรียนตามแถวที่นั่ง

๒. เขียนตารางบันทึกคะแนนบนกระดาน ตามแถวที่นั่ง

                          

แถวที่ ๑ แถวที่ ๒ แถวที่ ๓ แถวที่ ๔
       
       
       
       
       
       
       
       
       

ขั้นตอนกิจกรรมโดยสังเขป

๑. นักเรียนอ่านออกเสียง โคลงสุภาษิตทีละบท  ตั้งแต่ว่าด้วยความสามอย่าง  ครูอธิบายความหมาย และคำศัพท์ยาก  นักเรียนอ่านบทสามสิ่งควรรัก ครูอธิบายความหมายและคำศัพท์ยาก  อ่านถึงบทที่ ๓ สามสิ่งควรเกลียด

๒. จากบท สามสิ่งควรรัก ประกอบด้วย ความกล้า ความสุภาพ  และความรักใคร่ ให้นักเรียนแต่ละแถวหาเหตุผลว่า

  • ทำไมจึงควรรักหรือควรจะมี ความกล้า

       เริ่มจากแถว ๑ ไปถึงแถว ๔ ตามลำดับ  คำตอบห้ามซ้ำกัน  แถวไหนตอบได้อย่างมีเหตุผลจะได้คะแนน ๑ แต้ม  แถวไหนตอบไม่ตรงประเด็นหรือช้าจะได้ ๐

  • ทำไมจึงควรรักหรือควรจะมีความสุภาพ

       เริ่มจากแถว ๒  ๓ ๔ และ ๑ ตามลำดับ  ทำเหมือนเดิม

  • ทำไมจึงควรรักหรือควรจะมีความรักใคร่  

       เริ่มจากแถว ๓ ๔ ๑  และ ๒  ตามลำดับเหมือนเดิม

๓. ทำไปจนกระทั่งถึงบท สามสิ่งควรเกลียด ซึ่งครูได้อธิบายไปแล้ว  รวมคะแนน แสดงความยินดีร่วมกัน

๔. นักเรียนอ่านบท สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน  ครูอธิบายแล้วให้นักเรียนหาเหตุผลเขียนลงสมุด

  • ทำไมจึงควรรังเกียจติเตียนความชั่วเลวทราม

  • ทำไมจึงควรรังเกียจติเตียนมารยา

  • ทำไมจึงควรรังเกียจติเตียนฤษยา

 

ผลของการนำไปใช้ กับนักเรียนห้องค่อนข้างเก่ง ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองกลุ่มแรก

   ๑. นักเรียนได้คะแนนเต็ม คือ ๙ แต้ม ๒ แถว   ได้ ๘ แต้ม ๑ แถว และ๕ แต้ม ๑ แถว

   ๒. กลุ่มที่ได้คะแนนน้อย จะตอบไม่ตรงประเด็น  คำตอบไม่ใช่เหตุผล  แต่เป็นคำอธิบายคำแปล

   ๓. บรรยากาศในการเรียนรู้มีความสนุก กระตือรือร้นในระดับดีไม่ถึงกับมาก  ครูต้องคอยกระตุ้นตลอดเวลา  และเมื่อก้าวเข้าไปในห้องก็มีเสียงเรียกร้องว่าเล่นเกมเป็นคำแรก ถ้าครูไม่เตรียมตัวไปล่ะ?

 

ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

   ๑. คุณครูต้องคอยกระตุ้นให้ความช่วยเหลือขยายความกับนักเรียนแถวที่ตอบไม่ค่อยจะได้ 

   ๒. การให้ทำงานเดี่ยวใน ๑ ชั่วโมง ให้เพียงบทเดียวก็พอ  นักเรียนจะได้พบกับความสำเร็จในการทำงานได้ง่าย ทำให้ไม่ท้อ ไม่ล้า  และไม่เป็นภาระของครูมากเกินไป

 

ความดีงามใดๆ ของบันทึกนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณ พ่อแม่และครูบาอาจารย์
หมายเลขบันทึก: 310669เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากค่ะ ซึ่งหนูก็คิดอยู่นานมากก่อนจะเริ่มสอนบทเรียนนี้ จะทำอย่างไรดีให้เรียนแล้วสนุก ไม่น่าเบื่อ พอเปิดมาเจออ่านแล้วโดนใจครู แต่ไม่รู้นักเรียนจะเป็นอย่างไร ขออนุญาตนำไปใช้แล้วจะมาเล่าให้ครูภาทิพฟังนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท