การทำนาแบบลดต้นทุนในกลุ่มอนุรักษ์อุทัยธานี


การทำนาแบบลดต้นทุนในกลุ่มอนุรักษ์อุทัยธานี

การทำนาแบบลดต้นทุน

 นางสมศรี  พุ่มพงษ์      บ้านเลขที่      21    หมู่ที่ 1  ตำบลหนองนางนวล  อำเภอหนองฉาง  จังหวัดอุทัยธานี   ประกอบอาชีพทำนา  ตั้งแต่เด็กพ่อแม่ประกอบอาชีพทำนาได้ช่วยพ่อแม่ทำนา สมัยก่อนการทำนาใช้ควายไถนาและการใช้ปักดำไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวไม่มีปัญหาอะไร

ต่อมาแต่งงานแยกเรือนกับพ่อแม่ ก็ยึดอาชีพทำนำเหมือนเดิม การใช้สารเคมีเริ่มมีเกิดขึ้น   การใช้ปุ๋ยเคมีก็เช่นกัน ฃเมล็ดพันธุ์ข้าวก็ใช้พันธุ์ กข. ไม่ใช่นาปีแบบเดิม ภาวะการแข่งขันการผลิตเกิดขึ้น การใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมีใช้ตามเพื่อนบ้าน ไม่เชื่อคำแนะนำของเจ้าหน้าที่คิดว่า การปลูกข้าวมากต้นมากรวง  การหว่านข้าวน้ำตมเริ่มเกิดขึ้น  หว่านข้าวใช้เมล็ดพันธ์มาก 4 ถังต่อไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีใส่ในระยะแรกเพื่อให้ใบงามเขียวเข้ม  พอหนอนกินใบ ก็จะฉีดสารเคมี พอข้าวเหลืองก็ฉีดสารเคมี พอหอยกินก็หว่านยาเคมี ฯลฯ

          ฉะนั้น พอใช้สารเคมีมาก ๆ เข้าก็เกิดปัญหา  คือ

1. สารเคมีแพงมากขึ้น

2. สุขภาพเริ่มเจ็บป่วย

3. แมลงศัตรูพืชระบาดมากขึ้น ต้องฉีดพ่นสารเคมีบ่อยขึ้น

4. ต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น  เป็นหนี้

5. ผลผลิตลดลง

          เมื่อเกิดภาวะปัญหาดังกล่าวจึงเปลี่ยนแนวความคิดว่า การทำนาแบบใช้สารเคมีมาก ๆ เราตายแน่เพราะอายุมากขึ้นเริ่มเป็นหนี้สินค้างค่าปัจจัยการผลิตพอเมื่อได้รับคำแนะนำเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ดูโทรทัศน์บ้าง  ฟังข่าวบ้าง  ก็เกิดความสนใจโดยเริ่มจาก

1. การลดต้นทุนการผลิต

          1.1 ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลงไป จาก 4 ถังต่อไร่ เหลือ2 ถังครึ่งต่อไร่

          1.2 ลดการใช้สารเคมี จนไม่ใช้สารเคมีเลย

2.เริ่มจากเตรียมดิน

          2.1โดยการไถหมักตอซัง ทิ้งไว้ 1 เดือน โดยไม่เผาตอซัง

          2.2 ผลิตเชื้อราเขียว เพื่อผสมราดเมล็ดข้าวก่อนหว่านป้องกันเชื้อรา

          2.3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หว่านปรับปรุงบำรุงดิน ระยะแรกพร้อมปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในนาดินเหนียว

          2.4 ไม่ไล่นกปากห่างเพราะมันมากินหอย ทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมี

          2.5 ฉีดพ่นสารสมุนไพรผสมฮอร์โมนที่หมักเอง

          2.6 หากเกิดแมลงมาก ก็จะฉีดสารสมุนไพรเพื่อไล่แมลง 

3. กรรมวิธีการปฏิบัติดูแลแปลง

          3.1 หากพบข้าววัชพืช  ข้าวดีด  ข้าวหาง  ข้าวแดง  ทุกคนในบ้านช่วยกันถอนทิ้งตั้งแต่ข้าวยังเล็กจนถึงข้าวเจริญเติบโต

          3.2 หากพบแมลง ก็จะฉีดสารสมุนไพร

          3.3 ฉีดพ่นสารเชื้อราเขียว  (ไตรโคเดอร์ม่า) เมื่อพบว่าข้าวเป็นเชื้อรา โดยเฉพาะหน้าหนาว

          3.4 ตัดหญ้าบริเวณหัวคันนาไม่ให้รก

          3.5 หากมีปัญหาแบคทีเรีย ก็จะใช้สารชีวภัณฑ์ช่วย

          3.6 ปัจจุบันการหลีกเลี่ยงจากข้าววัชพืชที่ดีที่สุด คือการปักดำ เพราะดูแลง่าย ลดการใช้สารเคมีเพราะดูแลง่ายกว่านาน้ำตม

การผลิตฮอร์โมนใช้เอง

อัตราส่วนที่ผลิต

1.น้ำมะพร้าว          40      กิโลกรัม

2.ลูกตาลสุก          10      กิโลกรัม

3.มะละกอสุก        5        กิโลกรัม

4.ฟักทอง              5        กิโลกรัม

5.กากน้ำตาล        5        กิโลกรัม

6.หัวเชื้อจุลินทรีย์  5        ลิตร

วิธีทำ

นำน้ำมะพร้าว ใส่ถังพลาสติก  นำผลไม้ทุกอย่างตามสูตรมาบดพอหยาบ ๆ ใส่ลงในถังใส่กากน้ำตาล  ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ คนให้เข้ากัน ปิดฝา เก็บในที่ร่ม คนส่วนผสม วันละ 1 ครั้ง หมักไว้   

 1 เดือน แล้วนำไปใช้ได้

วิธีการใช้

นำน้ำ  200 ลิตร  ใส่ถังตักหัวเชื้อที่หมักไว้ 1 ลิตร  ผสมสารจับใบนำไปฉีดพ่นบนต้นข้าวได้ 4 ไร่ สารไล่แมลงที่ผลิตใช้เองนี้  คิดได้จากสรรพคุณของสมุนไพรในบ้านและหมู่บ้าน ที่หมอสมุนไพรใช้เป็นยารักษาโรคในหมู่บ้านแล้วนำมาประยุกต์ใช้

  สมุนไพรไล่แมลง

ส่วนผสม

          - น้ำหรือน้ำมะพร้าว        30      ลิตร

          - สาร พด.1           1        ซอง

          - เหล้าขาว             3        ขวด

          - กากน้ำตาล          3        กิโลกรัม

          - น้ำส้มสายชู 5 %  3        ขวด

          - หัวเชื้อจุลินทรีย์   3        ลิตร

 

สมุนไพรที่ใช้หมัก ประกอบด้วย

1. หัวหนอนตายหยาก1 กิโลกรัม       

2. หัวกลอย1  กิโลกรัม

3. บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม  

4.โล่ติ้น                 3  ขีด

5. ข่าแก่                ครึ่งกิโลกรัม         

6. หญ้าหนวดแมว 3  ขีด

7. ฟ้าทะลายโจร    3 ขีด          

8.ทองพันชั่ง          3  ขีด

9. ใบมะกา   3 ขีด          

10.ตะไคร้หอม      3  ขีด

11.ใบน้อยหน่า      3 ขีด          

12.สาบแล้ง-สาบกา3  ขีด

13.ใบสาบเสือ       3 ขีด            

14.มะกล่ำ(ต้น,ราก ,ใน,เมล็ด)   3  ขีด

15.หัวอุตตพิษ       3 ขีด          

16.เม็ดสะเดา        1   กิโลกรัม

17.เปลือกซาก (บด)  3 ขีด                 

18.เปลือกกรวย     3   ขีด

19.เปลือกยูคาลิปตัส 3  ขีด                

20.กระเพรา 3   ขีด

 วิธีทำ

          นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ในถังพลาสติก ใช้ไม้คนให้เข้ากัน ตั้งถังในที่ร่ม ปิดฝาให้สนิทใน 1 สัปดาห์แรกต้องคนทุกวันหลังจากนั้น คนอาทิตย์ละ 2 ครั้ง หมักไว้ 30 วัน นำไปฉีดพ่นเป็นสารไล่แมลง

อัตราส่วนที่ใช้

          นำน้ำสมุนไพร 1 ลิตร ผสมน้ำ  200 ลิตร  และสารจับใบ ฉีดพ่นในแปลงนาข้าวทุก 15 วันยิ่งดีการหลีกเลี่ยงจาก การที่มีข้าววัชพืช  ข้าวดีด  ข้าวเด้งการปักดำนา เป็นทางเลือกของเกษตรกร ที่มีปัญหาของวัชพืชข้าว ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัด   

 

 

ข้อมูลจาก

เกษตรกรต้นแบบครูติดแผ่นดินข้าว

คุณ สมศักดิ์  ยิ้มพักตร์

โทร 0898597532

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 310615เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท