การพัฒนาIT


 

เนื่องจากโรงพยาบาล ได้ทำสัญญากับทางจังหวัด ว่าต้องลดค่าใช้จ่ายโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน   ลดขั้นตอนการให้บริการและการบริการเชิงรุก  ต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้ทันสมัย 

สิ่งที่วางแผนไว้ก็คือต้องพัฒนาระบบfront office คือการให้บริการผู้ป่วยนอก ให้เป็นระบบที่ลดขั้นตอนในการบริการ ตอนสนองความต้องการรายงานต่างๆ ซึ่งมีเปลี่ยนแปลง งอกใหม่บ่อยมาก ระบบเดิมที่ใช้อยู่ล้าหลังมาก ยังทำงานบนระบบปฏิบัติการเก่า(DOS)ซึ่งมีข้อจำกัด หลายอย่างและมีปัญหาความเสถียรของระบบ  และที่สำคัญไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ เช่น รายงาน การประมวลผลรายวัน 
       นอกจากนี้ในระบบเก่ายังมีขั้นตอนที่ทำให้การบริการล่าช้า เช่นผู้ป่วยต้องเข้าคิว หน้าห้องยาและมารอรับยาอีก ทำให้มีการแออัดหน้าห้องจ่ายยา  ผู้ป่วยต้องไปรอผลlab เป็นต้น  ทางคณะกรรมการสารสนเทศจึงได้ประชุมกันและ มีความเห็นว่าสมควรพัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าเดิม คือทำงานบนระบบปฏิบัติการwindows ซึ่งเสถียรกว่าและมีความยืดหยุ่นมากว่า  และต้องเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ให้มีการลดขั้นตอนต่างๆเพื่อความรวดเร็ว เช่น มีการทำเป็นเอกสารอิเลคโทรนิค ให้มากขึ้น เช่นมีการบันทึกข้อมูลการตรวจรักษา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การสั่งยา เข้าในระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถพิมพ์เป็นเอกสารได้เมื่อต้องการ สามารถเรียกประวัติการตรวจรักษามาดูได้ทันทีโดยไม่ต้องค้นบัตร  และเมื่อแพทย์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว ก็จะมีการรายงานผลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์สามารถ เรียกดูได้ทันที เป็นการลดขั้นตอนที่ผู้ป่วยต้องไปนำผลมาเอง
        การที่จะทำอย่างนี้ได้ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะแพทย์ ต้องใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ซึ่งก็อาจมีปัญหาในระยะแรก แต่หลังจากนั้น เมื่อระบบเข้าที่ การบริการจะมีความรวดเร็วขึ้นมาก ตัวอย่างโรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในเรื่องนี้ก็คือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
         ที่จริงก็ได้แอบให้เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมฯดัดแปลง software จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งให้เข้ากับความต้องการและปรับรูปแบบ ให้คล้ายกับของโรงพยาบาลมอ. แต่ทำได้ช้าเพราะ ทีมมีคนน้อย เงินก็น้อย ถ้าต้องซื้อsoftwareอีก ก็คงไม่ไหว   เอาเงินไปซื้อ hardwareดีกว่า ทำโครงการเข้าไปในแผนแล้ว เป็นเงินล้านนิดๆ  ใช้เวลาประมาณ 1ปี   ระหว่างนี้ก็ให้แพทย์หัดพิมพ์ดีดไปก่อน

        แต่ถ้าทางผอ.ไม่เล่นบทบังคับกันบ้าง ก็คงเอาพวกแพทย์ไม่อยู่แน่   ทำเรื่องนี้เปลืองตัวจริงๆ คงจะมีคนเกลียดเราเพิ่มขึ้น อีกมากแน่ๆ   จำได้ตอนเอาคอมพิวเตอร์เข้าในwardใหม่ๆ แทบจะกราบให้ช่วยใช้งานหน่อย  เจ้าหน้าที่บางคนเอง เพิ่งเคยพบแป้นพิมพ์เป็นครั้งแรกในชีวิต อยากร้องไห้เหมือนกัน 

      คราวต่อไปจะเล่าเรื่องการพัฒนาwebsite ของโรงพยาบาล ไปดูพลางๆก่อนก็ได้ที่
www.sk-hospital.com

    

       

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3106เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2005 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอค่ะ

ของดี ๆ มีคุณค่าแบบนี้สักวันต้องเป็นที่นิยมแน่ ๆ

เห็นด้วยกับคุณหมอค่ะ  ผู้บริหารและบุคลากรทุกคนจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะการใช้ IT และขอเป็นกำลังใจให้หมอค่ะ

คนเรามักกลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวมีภาระงานเพิ่ม ทั้งที่วันนี้เป็นโลกยุคไอทีแล้ว และเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ทุกคนต้องกล้าที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและผู้ใช้บริการทั้งหลาย
ถ้าวันนี้ไม่เปลี่ยน ซักวันก็ต้องเปลี่ยน เพราะโรงพยาบาลจะไม่สามารถให้บริการที่เป็นเลิศได้เลย หากไม่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
ค่าใช้จ่ายจะแพงในระยะแรก เพราะพึ่งนำมาใช้ แต่ค่าใช้จ่ายจะลดลงในระยะยาว (ค่าบำรุงรายปี ก็คงต้องมีเป็นปกติครับ) แต่ประสิทธิภาพการทำงานจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน สร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการทั้งหลาย
ในโรงพยาบาล ควรพัฒนาะระบบที่เน้นการทำงานในเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็น Web Application (PHP, ASP.NET) ที่รองรับการทำงานบนอินเตอร์เน็ตได้ด้วย หรือจะใช้ภาษาอื่นๆ เช่น (VB.NET, C++) ก็ตาม
เป็นกำลังใจให้คุณหมอด้วยคนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท