มหันตภัยเงียบ...ที่คุณคาดไม่ถึง


คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก....

 

คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก  ยิ่งรอบพุงมากเท่าไร  ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น  ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ  มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี  เกิดเป็น  "โรคอ้วนลงพุง"  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ  เช่น  น้ำตาลในเลือดสูง  ความดันโลหิตสูง  โรคไขมันเลือดสูง  โรคเบาหวาน  โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหลอดเลือดสมอง  โดยเอวที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ  5  ซม.  จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน  3-5  เท่า  ดังนั้น

"ยิ่งลงพุงเท่าไร  ยิ่งตายเร็วเท่านั้น"

ทางที่ดีเราควรลดน้ำหนักและลดพุงเราให้เป็นปกติค่ะ  จะได้ไม่มีโรคภัยอะไร....

                          

หมายเลขบันทึก: 310558เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โรคตับ โดยทั่วไปในตับจะมีไขมันสะสมเกินร้อยละ 5 ของน้ำหนักตับ ถ้ามีไขมันเกาะมากกว่าปกติเรียกว่า โรคไขมันเกาะตับ (Fatty Liver Disease) ทำให้เกิดอาการตับอักเสบและมีการตายของเนื้อเซลล์ อันนำไปสู่การเกิดพังผืดและตับแข็ง หากทิ้งไว้นานตับจะเสื่อมมากขึ้นและเกิดภาวะตับวายหรือเป็นมะเร็งตับได้ ซึ่งยังไม่มีการรักษาโรคไขมันเกาะตับโดยเฉพาะ แต่ที่ได้ผลสูงสุดคือการลดน้ำหนัก ถ้าลดน้ำหนักตัวลงร้อยละ 10 ของน้ำหนักเดิมจะช่วยให้ความผิดปกติของตับลดลง โดยการลดน้ำหนักที่ดีคือการควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและไขมัน และเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น

สาเหตุของไขมันพอกตับ

1. ผู้ที่มีไขมันพอกตับโดยที่ไม่มีสาเหตุเรียก Primary

2. ส่วนพวกที่มีสาเหตุเรียก Secondary สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

- จากการดื่มสุรา alcoholic liver disease (ALD)

- จากไวรัสตับอักเสบ บี

- ไวรัสตับอักเสบซี

- จากโรคแพ้ภูมิ chronic autoimmune hepatitis (AIH

- จากยา เช่น prednisolone

- การขาดอาหาร

- อ้วน โดยเฉพาะอ้วนที่ลำตัวหรือลงพุง คือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ในผู้ชายหรือมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิง

ต่างประเทศได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกายและความเสี่ยงของการเกิดไขมันพอกตับไว้ดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและความเสี่ยงไขมันพอกตับเมื่อเทียบกับคนปกติ ดัชนีมวลกาย ความเสี่ยง

25-30 2

30-35 4

35-40 5

มากว่า40 6

สำหรับผู้หญิงก็มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและความเสี่ยงไขมันพอกตับเมื่อเทียบกับคนปกติ ดัชนีมวลกาย ความเสี่ยง

25-30 2

30-35 2.5

35-40 4

มากว่า40 5

ผู้ป่วยไขมันพอกตับกว่า 50% ไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นไขมันพอกตับระยะแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะไขมันพอกตับก็จะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้:

- รู้สึกอึดอัดหรือปวดแน่นบริเวณชายโครงด้านขวา

- เบื่ออาหาร รู้สึกท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย

- ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ

- อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง

- ในรายที่รุนแรงอาจมีอาการดีซ่าน (ผิวเหลือง และตาเหลือง) หรือคลื่นไส้ อาเจียน

- ตรวจพบค่าเอ็นไซม์ตับ SGPT, SGOT สูงขึ้น (แสดงว่าตับมีการอักเสบ)

- ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

ตัวเองเป็นพาหะ hep B มีอ้วนลงพุงอยู่ พออ่านโรคนี้ ก็เริ่มอยากลดพุงให้เป็นเรื่องเป็นราวแล้ว เพราะมีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อเลย

สวัสดีค่ะคุณส้มจุก.....สงสัยต้องไปลดพุงเสียแร้วววววววว

 

ขอบคุณค่ะ

P
  
         ที่เข้ามาเยี่ยมชม

แวะมาวัดพุงดูบ้าง

 แนะนำให้ใคร ๆ วัดพุง

ส้มจุกวัดบ้างหรือเปล่า

ห้องข้าง ๆเขาแอบดูอยู่เสียงกระซิบมาว่า

น้ำหนักขึ้นลงวันละกิโลแล้วอย่างนี้พุงจะยืดเข้าออกวันละกี่เซ็นต์จ๊ะ

ขอบคุณค่ะ 2.

PT [IP: 222.123.173.172]

ที่เข้ามาเยี่ยมชม ความรู้ที่นำมามีประโยชน์มาก คนเราถ้าหากไม่รู้จักควบคุมและดูแลตัวเอง

เหมือนกับทำร้ายตัวเอง เราต้องรักตนเอง ดูแลสุขภาพตนเอง

ขอบคุณค่ะ   pepra

       ที่เข้าแวะเยี่ยม และแนะนำ ส้มจุกกำลังควบคุมดูแลตนเอง ต้องดูแลตนเองก่อน กำลังควบคุมลดน้ำหนัก นำหนักลง 4 กก. ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง                  เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง ทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวดีด้วย                                    มีพี่คนสวย  . P      pepra     ให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท