การประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง สุขภาพสมบูรณ์สู่สังคมไทย ด้วยวิทยาศาสตร์การกีฬา


สร้างกระแสและเผยแพร่องค์ความรู้ให้ประชาชนสนใจการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และวิทยาศาสตร์การกีฬา

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย (โครงการพิเศษ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง สุขภาพสมมบูรณ์สู่สังคมไทย ด้วยวิทยาศาสตร์การกีฬา ณ ห้องเชียงแสน ชั้น 3โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน เชียงใหม่ วันอังคารที่ 3 และวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2552 เวลา 08.30-16.30 น. มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนสนใจการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อนำไปใช้ในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาในชีวิตประจำวันของประชาชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการบาดเจ็บ เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาเครือข่ายสถาบัน/องค์กร วิทยาศาสตร์การกีฬา

 

การสัมมนาครั้งนี้มีการกิจกรรมเกี่ยวกับการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจ มีกิจกรรมเกี่ยวกับการบรรยายเชิงวิชาการจากนักวิชาการทางด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ทันสมัย การเล่าประสบการณ์จากการปฏิบัติงานด้านนี้ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้ง Oral Presentation and Poster Presentation รวมทั้งในงานดังกล่าวได้มีการจัดบูธสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพอีกมากมาย มีรายละเอียดดังนี้

บรรยายพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ในสังคมไทย โดย ศาสตราจารย์ นพ.พินิจ  กุลละวณิชย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์การกีฬา วุฒิสภา (สว)

บรรยายพิเศษ เรื่อง Sports for Health and Sports for Athletes with Physical Disabilities โดย Assoc. Prof. Dr. James Laskin ผู้เชี่ยวชาญด้าน Exercise Physiology จาก University of Montana, USA.

การบรรยายเชิงวิชาการด้านเวชศาสตร์การกีฬา โดย ผศ. นพ. ชวินทร์  เลิศศรีมงคล และ ผศ.นพ. ชนะการ  พรพัฒน์กุล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

การเล่าประสบการณ์ (Lesson Learning & Best Practice) เกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา
ในการพัฒนากีฬาเพื่อสุขภาพและความเป็นเลิศ โดย ผศ นพ สุรศักดิ์ บุณยฤทธิชัยกิจ

การบรรยายเชิงวิชาการ เรื่อง โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับคนทุกวัย
โดย รศ. เจริญ กระบวนรัตน์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ รศ. มนัส ยอดคำ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การบรรยายพิเศษ เรื่อง จิตวิทยากับการออกกำลังกาย โดย  ผศ.ดร. นฤพนธ์  วงศ์จตุรภัทร จากมหาวิทยาลัยบูรพา

การบรรยาย Anabolic steroid: The truth behind bodybuilding (อนาโบลิกสเตียรอย: ความจริงเบื้องหลังการเพาะกาย) โดย ผศ.นพ.จักรกริช  กล้าผจญ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การนำเสนอผลงานวิจัย แบบ Oral Presentation คนละ 10-15 นาที และการนำเสนอโปสเตอร์รวมทั้งเชิญชมสินค้าจากร้านค้าทางด้านสุขภาพ

การประชุมผู้แทนสถาบันฯเพื่อก่อตั้ง “เครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนากีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ” และรายงานผลการประชุมและประกาศเจตนารมณ์เพื่อก่อตั้งเครือข่ายสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อพัฒนากีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และลงมติหาเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬาครั้งต่อไป

ในฐานะที่ผมเป็นศิษย์เก่า รุ่นที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความปรารถนาและความคาดหวังให้ศาสตร์ทางด้านนี้มีความก้าวหน้า ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติงานทางด้านนี้อย่างยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรมและเผยแพร่องค์ความรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะ นักวิชาการ ผู้ฝึกสอน นักกีฬา รวมทั้งเยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้มีความรอบรู้ ในเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา ทั้งการนำไปพัฒนาการออกกำลังกายและการกีฬา รวมทั้งกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันนำไปสู่การยกระดับองค์ความรู้และสุขภาพ รวมทั้งการกีฬา ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป จึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ โดยติดต่อได้ที่หน้างานหรือ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทะเบียนและ การชำระเงินได้ที่
นางสาวปรียาพัชร  ใสแสง

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   โทรศัพท์ /โทรสาร0-5394-2429 , 089-1807242
E-mail:[email protected]

หมายเลขบันทึก: 310323เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ ผม เอกภาพ นะครับ ปัจจุบันเป็นแพทย์ ยังไม่ได้ต่อเฉพาะทาง สนใจการออกกำลังกาย การกีฬา และสุขภาพ จะว่าไปผมยังเชื่อว่าการออกกำลังยังเป็นแนวทางสู่สุขภาพดีอย่างยั่งยืน มากกว่าการใช้ยารักษาที่ปลายเหตุ โดยส่วนตัว นิยม primary prevention มากกว่า secondar กับ tertiary prevention ครับ ไม่ทราบว่า มีสัมนาวิชาการของ sport science/medicine อีกไหมครับ ผมอยากไปร่วมครับ

ยินดีครับ ที่มีแพทย์หันมาสนใจทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่สัมมนาทางด้านนี้นอกจากจะจัดขึ้นในสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้ว ยังมีการจัดขององค์กรกีฬา เป็นระยะๆ เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงก่อนการแข่งขันมหกรรมกีฬาต่าง ๆ เช่น กีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งเจ้าภาพจะจัดสัมมนาวิชาการขึ้นก่อนการแข่งขันเพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างผู้ฝึกสอนและนักกีฬา รวมทั้งนักวิชาการ ครับ ยังไงคอยติดตามนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท