(¯`°.•°•.★* *★ พยางค์ ★* *★ .•°•.°´¯)


<< พยางค์ เรื่องง่าย ๆ ที่เราอาจลืม >>

★* พยางค์  *★ 

 

พยางค์ คือ จังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ หรือหน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม คําที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่าง ๆ นั้นล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น

 

พยางค์  

        พยางค์เป็นการประสมเสียงในภาษา เพราะพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ติดตามกันอย่างกระชั้นชิด

พยางค์มีองค์ประกอบดังนี้

  1. เสียงพยัญชนะต้น

  2. เสียงสระ

  3. เสียงวรรณยุกต์

  4. เสียงสะกด

         เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้   เช่น   อ่าง    (พยัญชนะต้น คือ อ) ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล) ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด) คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล) ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร) ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น

         เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น   งา         (เสียงสระ อา) ชล (เสียงสระ โอะ) เสีย (เสียงสระ เอีย) เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น

         เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป เช่น ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก) เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท) สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา) เป็นต้น

         พยางค์ การที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่ง ๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์” แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า ๑ พยางค์ หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะเป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง ๒ ครั้ง เราก็ถือว่ามี ๒ พยางค์ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น ๑ พยางค์

ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้

จากตัวอย่างข้างบนนี้สรุปได้ว่า

         พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่งเสียงออกมา ๑ ครั้ง ก็เรียก ๑ พยางค์ สองครั้งก็เรียก ๒ พยางค์  

     พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อม ๆ กัน พยางค์ที่มีความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

        พยางค์แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การประกอบสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี   ๔  วิธี   คือ

         ๑. การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์   เช่น

         ๒. การประสมสี่ส่วน คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ ตัวสะกด และวรรณยุกต์  เช่น

         ๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย พยางค์ที่ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์   เช่น

         ๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์  เช่น

       **  สรุป โครงสร้างของพยางค์  **

 

   ++ ทำแบบทดสอบ ได้ที่นี่  นะคะ ++

>> http://www.st.ac.th/bhatips/gramma2.htm

 

ที่มา  http://www.panyathai.or.th

 

 แล้วชื่อคุณล่ะ....มีกี่พยางค์ ???

 

 

หมายเลขบันทึก: 310159เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • แบบนี้ ชื่อดิฉัน ก็มี 3 พยางค์ ค่ะ
  • ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ ชุมชนคนทำงาน ลปรร. นะคะ

ขอบคุณค่ะ คุณ เพื่อนร่วมทาง 

ขอเป็นเพื่อนร่วมทางอีกคนนะคะ

 

สวัสดีค่ะ  คุณ ◕‿◕ นิดหน่อย ◕‿◕

ยินดีที่รู้จักค่ะ  บล็อกสวยนะคะ  เป็นกำลังใจให้ค่ะ..

 

  • ได้ทบทวนความรู้ที่ลืมๆไป ชื่อมีสองพยางค์ครับ..
  • ขอบคุณความรู้ รวมทั้งดีใจที่ได้เพื่อนใหม่ครับ

สวัสดีค่ะ

- เป็นสื่อการเรียนภาษาไทยชั้นยอดเลยค่ะ

- ได้ทบทวนความรู้ ที่เรียนผ่านมา นาน ๆๆๆๆๆๆ มาก ขอบคุณนะคะ

- บล็อก ประดับด้วยนางในวรรณคดีที่แสนงาม อ่อนช้อย น่ารัก ไหนว่าเป็นมือใหม่งัยจ๊ะ..

- ดีใจที่ได้เพื่อนใหม่ หวังว่าจได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอดไปนะคะ

คืนนี้ น้องนิดหน่อย อย่าลืมแหงนหน้าขึ้นไปมองท้องฟ้านะ พระจันทร์เต็มดวง ส่องแสงเรืองรองงดงามอร่ามตา เก็บความทรงจำที่งดงามของธรรมชาติไว้..... ก่อนที่เราจะไม่มีโอกาสได้เห็น   เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกใบนี้.....

- ครูใจดีคิดว่า น้องนิดหน่อย ต้องแต่งกลอนเกี่ยวกับพระจันทร์ได้อย่างโรแมนติกแน่นอน...แล้วจะรออ่านนะ  

- มีความสุขในวันลอยกระทงนะคะ.... อย่าให้กระทงหลงทางล่ะ...

- ระลึกถึงค่ะ....

 

 

  • เยี่ยมเลยครับ
  • ผมจะได้ทบทวนภาษาไทย
  • ขอบคุณมากครับ
P
สวัสดีค่ะคุณนีนานันท์
ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ
เพิ่งได้รับบรรจุเป็นครูมัธยมค่ะ
จะพยายามตั้งใจสร้างงานสร้างคนค่ะ
P
ที่แวะมาเรียนรู้นะคะ
ต่อไปแวะมาอีกนะคะ
P
ขอบคุณสำหรับกระทงนะคะพี่สาวคุณครูใจดี
ช่วยแนะนำเด็กๆมาศึกษาค้นคว้าได้นะคะ
จะพยายามสร้างงานต่อไปค่ะ
P
ดีใจที่บันทึกนี้เป็นประโยชน์บ้างนะคะคุณพี่ขจิต ฝอยทอง
ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท