ความด้อยโอกาสของคนจนในการเข้าถึงยา


คนจนมีสิทธไหมครับ

ความด้อยโอกาสของคนจนในการเข้าถึงยา

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

 

ปัจจุบันประชาชนทุกคนในประเทศไทย     มีสิทธิรักษาพยาบาลฟรี   ครอบคุมประชากรทุกกลุ่มแล้ว          แต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคม  ระหว่างคนรวยกับคนจนยังคงมีอยู่อย่างเหนียวแน่นต่อไป       ปัญหาสำคัญในการเข้าถึงยาของคนจนก็คือ    คนจนไม่มีโอกาสเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ    หรืออาจเรียกว่าได้ว่า  คนจนไม่มีโอกาสได้ตรวจโรคกับอาจารย์แพทย์       คนจน  คนชนบทส่วนใหญ่ต้องไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน  ต้องไปตรวจรักษากับแพทย์จบใหม่     ในโรคหลายชนิด  ซึ่งได้แก่  โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด   โรคหัวใจล้มเหลว     โรคเหล่านี้   ยังไม่มีการบังคับใช้มาตรฐานในการรักษาโรค(Clinical Practice Guideline) ในระดับโรงพยาบาลชุมชน     ทำให้ยาจำเป็นหลายชนิด ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ    ประชาชนที่ยากจนในชนบทก็ยังไม่มีโอกาสได้รับยาอยู่ดี    ถึงแม้ว่ายาเหล่านั้น จะมีราคาถูก    และมีงานวิจัยยืนยันว่าได้ผลดีก็ตามที      

 

ในโรงพยาบาลชุมชน    อาจมีการบังคับใช้ มาตรฐานในการรักษาโรค ต่างๆ มากมายเช่น  โรคไข้เลือดออก   โรควัณโรค   โรคไข้หวัด 2009   แต่แน่นอนไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานในการรักษาโรค   ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ   ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด  โรคไตวายเรื้อรัง   โรคหัวใจล้มเหลว      ฯลฯ     ยาที่จำเป็น ตาม มาตรฐานในการรักษาโรคในผู้ป่วยเหล่านี้    มีหลักฐานยืนยันชัดเจน   ว่าจำเป็น  ต้องได้รับยาเหล่านี้   แต่เนื่องจากผู้ป่วยจนๆ      ไม่มีโอกาสได้ไปตรวจรักษากับระดับอาจารย์แพทย์    เมื่อไปตรวจรักษากับโรงพยาบาลชุมชน   จึงมีผู้ป่วยมากมาย   ที่ไม่ได้ยาครบตามความจำเป็น  ใน มาตรฐานในการรักษาโรคหลายชนิด   

 

ในทางตรงกันข้าม  กับคนรวย   คนใหญ่  คนโต  เมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรัง  หรือโรคหัวใจล้มเหลว  คงไม่มีใครบ้าพอ    จะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน      แต่พวกคนรวย เหล่านั้น  คงต้องตรงไปตรวจรักษาโรคกับ ระดับอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลเอกชนอย่างแน่นอน     ดังนั้นการสั่งใช้ยาในโรคเดียวกัน  ระหว่างคนรวยกับคนจน    จึงมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่อย่างชัดเจน ต่อไป 

 

ปัญหาความไม่สอดคล้องกันในการรักษาโรคของแพทย์   ตามมาตรฐานในการรักษาโรคนั้น  เกิดจากระบบการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุข   ที่ไม่ยอมใส่ใจกับโรคนอกกระแส  ข่าวหน้า 1ของ หนังสือพิมพ์   กล่าวคือ   โรคหัวใจและหลอดเลือด  มันไม่เป็นข่าวโด่งดังเหมือนโรคไข้หวัด 2009  ดังนั้นการบังคับใช้ มาตรฐานในการรักษาโรค เหล่านี้  จึงไม่มี    แต่ถ้าโรคใดโด่งดังเป็นข่าว     หรืออยู่ในกระแสสังคมก็จะมีการบังคับใช้หรือนิเทศติดตามแน่นอน  

 

หมายเหตุ

 

 ปัจจุบัน  กระทรวงสาธารณสุข     ไม่ได้มี  นโยบายใดๆ   ในการบังคับใช้ มาตรฐานในการรักษาโรคเพื่อให้แพทย์  ใช้เป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วย ในกลุ่มโรคต่างๆ   โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ   ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของคนไทย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km#patient care#primary care
หมายเลขบันทึก: 310077เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นความแย่ในระบบบ้านเรา เป็นความโชคร้ายของคนจนครับ...แต่มองอีกแง่ก็ดีครับ คนจนเราแข็งแรง...ไม่ค่อยป่วยเหมือนคนรวยครับ...

ขอบคุณ อ.ขจิต ที่ให้กำลังใจครับ

เอที่กำแพงแสน หนาวไหมครับ

ที่ขอนแก่น อากาศ้ริ่มเย็นแล้วครับ

สวัสดีค่ะ...

อ่านแล้วคงบอกได้อย่างเดียวว่าเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม...ไม่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่แทบจะทุกเรื่องในสังคมนี้..."คนจนมีสิทธิไหมครับ คนจนมีสิทธิไหมครับ..." ร้องเพลงให้ฟังซะเลย ... ขอบพระคุณมากค่ะที่แวะทักทาย ... มีความสุขกับการทำงานนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • หลังจากไม่สบาย....วันนี้สบายหายใจคล่องขึ้นแล้วค่ะ
  • เข้าเน็ตมาดูหนังชุดนี้  ประทับใจมากค่ะ
  • คุณหมอเต็มศักดิ์อภินันทนาการมา
  • ชุดนี้..Make A Difference

ถึงแม้คนจนจะสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตามความเหลื่อมล้ำในสังคมก็ยังมีอยู่เสมอ

สวัสดี ครูคิม รักษาสุขภาพด้วยน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท