จิตตปัญญา : พลังกลุ่มและความสุข (6)


“เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ไม่ได้ทำ และสิ่งที่เราไม่ได้พูดด้วย”“บาปที่ทำ และบาปที่ไม่ได้ทำ”

 

            วันที่ 20 มิถุนายน 2552 วันนี้ได้มาเรียนรู้เพิ่มจากเพื่อนก่อนเข้ากิจกรรมประจำวัน เช้านี้ 7 โมง เพื่อนในวงได้แลกเปลี่ยนโดยสอนโยคะเพื่อภาวนาและเพื่อออกกำลังกาย หลังจากนั้นตามเวลากิจกรรมปกติ ต้องทำสมาธิภาวนา วันนี้เปลี่ยนไปเดินภาวนาแทน ก็ได้ไปเดินในชุมชนใกล้ๆ ที่จัดประชุม ก็ได้รับรู้ถึงความสงบอีกแบบ ฝึกที่จะตามดู ตามรู้ ผ่านอายตนะทั้ง 6 แถมได้เหงื่อเป็นการออกกำลังกายไปในตัว

            หลังจากเดินภาวนา วันนี้ได้ทำกิจกรรมตาข่ายไฟฟ้า กิจกรรมอันนี้ ก็เคยเล่นใน OD สมัยก่อน  รู้เลยว่าวันนี้ตัวเองขี้เกียจคิด คิดมาเถอะ เดี๋ยวทำตาม ขณะเล่นไปตัวเองก็เกิดเบื่อๆ ช่วยเพื่อนไปมากๆ เลยไปนั่งดูบ้าง

            เมื่อถึงเวลาถอดบทเรียน จากคำถามความรู้สึกในการวางแผนและการทำ พบว่า กลัว สนุก ตื่นเต้น กดดัน เบื่อ

            ได้เรียนรู้เรื่องเบื่อ

            อาจารย์บอกว่า พระไพศาล กล่าวว่า “มีความสดทุกขณะ อะไรเกิดขึ้นจะกอดไว้ก่อน" "อะไรที่ทำมานานๆ ก็ไม่เหมือนกัน เพราะว่าคนเปลี่ยน ใจเปลี่ยน”

            เอาชนะความเบื่อได้อย่างไร

-         เฝ้ามองความเบื่อ

-         กำไร คือสิ่งที่ได้จากความที่เปลี่ยนไป

-         ความต่างของคนสดที่สุด ความต่างก็แชร์กัน

-         แม้บางอย่างเป็น Pattern ไปเรื่อยๆ แต่มีความใหม่

ข้อชวนคิดที่ชอบมากๆ

            “เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ไม่ได้ทำ และสิ่งที่เราไม่ได้พูดด้วย”

ทำให้นึกถึงคณบดี ที่พูดถึง

            “บาปที่ทำและบาปที่ไม่ได้ทำ”

             ข้อชวนคิดนี้เป็นประโยชน์มาก เมื่อผู้เขียนกลับมาในองค์กรและมีข้อร้องเรียนเรื่องค่าตอบแทน ก็เกิดอาการปล่อยวางความทุกข์ เพราะเมื่อก่อนต่อให้ทีมคิด ทุกคนก็มองว่าผู้เขียนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ผู้เขียนก็แบกทุกข์นั้นไว้ เรียกว่า สะสมไว้เยอะ (คนชมเยอะ) ดังนั้น ผู้เขียนก็เลยเชื่อมโยงเหตุและปัจจัย สิ่งใดเกิดขึ้นจากผู้เขียน เป็นผู้เริ่มต้นหรือไม่ ไม่สำคัญ สำคัญที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น เมื่อมีสิ่งใดออกมาให้เห็น ผู้ที่อยู่ในเส้นทาง ทั้งแสดงความคิดเห็นและไม่แสดงความคิดเห็น ผู้ต้องการ ผู้ไม่ต้องการให้เกิด ก็ช่วยผู้เขียนกระจายความทุกข์ไป แล้วจากข้อคิดดังกล่าว

              กันยายนที่ผ่านมา มีอีกตัวอย่างที่ผู้เขียนได้รับข้อสงสัยจากบุคลากรก็จะเป็นตัวเชื่อมนำเรื่องดังกล่าวเรียนให้ผู้บริหารทราบ บางเรื่องได้เสนอไปแล้ว4ครั้งผลไม่ออก หรือออกมาไม่ถูกใจผู้มีข้อสงสัย  ถ้าเมื่อก่อนผู้เขียนคงรู้สึกแย่มากๆ แต่ตอนนี้ถือว่าพยามแล้วก็คงได้เท่านี้ จะได้ไม่เป็นบาปที่ไม่ได้ทำ แต่ในมุมกลับกัน อาจเป็น บาปที่ทำ ต่อผู้มองกันคนละมุมก็เป็นได้

ได้เรียนรู้ว่าจริง เมื่อเข้าจิตตปัญญาแล้วชีวิตมีความสุขขึ้น ผู้เขียนจะเตือนตัวเอง แบกมานาน ปล่อยวางได้แล้ว

ติดตามตอนต่อไปนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 309900เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จิตตปัญญาศึกษาไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นการบัญญัติใหม่

  • สวัสดีครับ
  • จิตตปัญญาทำให้คนเปลี่ยนแปลงจากข้างใน
  • สนใจเรื่องนี้เช่นกันครับ แต่เป็นประเด็นการการเรียนการสอน

สวัสดีค่ะ คุณบีเวอร์

จิตตปัญญาศึกษาไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นการบัญญัติใหม่

พวกเราในวงก็ค้นหาคำตอบอยู่เหมือนกัน

แต่ได้ข้อสรุป ไม่ต้องรีบหาคำตอบ

เรียนรู้จากการเอาตัวเองเข้าไปเรียนรู้โดยตรง

และเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากข้างในของเรา

สวัสดีค่ะ จักรกฤษณ์

เห็นด้วยค่ะ จิตตปัญญาทำให้คนเปลี่ยนแปลงจากข้างใน

การออกแบบการเรียนการสอน

สำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้

และการถอดบทเรียน

ซึ้งต้องวางแผนเหมือนกัน

ในการออกแบบกระบวนการ

เชื่อว่าเมื่อพวกเราเรียนจบหลักสูตร

พวกเราก็สามารถออกแบบการเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น

สวัสดีปีใหม่ค่ะ คุณเพชรน้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท