จงหันมองรอบๆซิ


ขอเพียงท่านมอบคำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการมัน คำแนะนำของท่าน จะเป็นเช่นโอสถวิเศษ

อย่าหงุดหงิดไปเลยสหาย

หากคำแนะนำอย่างจริงใจของท่านถูกเมินเฉย

อาจจะเป็นเพราะพวกเขาอิ่มเกินไป

พวกเขาจึงไม่อาจรับคำแนะนำนั้นได้อีก

แต่ โอ้ สหาย

ขอท่านจงหันมองรอบๆ

บางทีท่านเองอาจมองข้าม

ใครบางคน บางกลุ่ม

ที่คำแนะนำดีๆไม่เคยไปถึง

จงไปหาบางคนหรือบางกลุ่มนั่นซิ

สหายของฉัน

ผู้ที่คำแนะนำของท่าน แม้จะเพียงเล็กน้อย

แต่ยิ่งใหญ่และทรงคุณค่า

แล้วท่านจะพบว่า

พวกเขาพร้อมที่จะ"รับ" อย่างยินดี

และท่านก็มีความสุขที่ได้ "ให้"

ขอเพียงท่านมอบคำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการมัน

คำแนะนำของท่าน

จะเป็นเช่นโอสถวิเศษ

ที่ไม่เพียงให้ประโยชน์ต่อผู้ที่รับเอาคำแนะนำอย่างรู้ค่าของมันเท่านั้น

แต่มันยังนำความเบิกบานแก่หัวใจของท่าน

มิรู้ลืม...

คำสำคัญ (Tags): #จงหันมองรอบๆซิ
หมายเลขบันทึก: 309536เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

السلام عليكم

  • หนูอ่านแล้วรู้สึกว่ากินใจมากค่ะ Ayah
  • เหมือน "put the right words into the right person" หรือเปล่าคะ
  • ช่างเป็นถ้อยคำที่งดงามค่ะ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตของซิลเวียได้ดีทีเดียว

جزاك الله خيرا

วะอาลัยกุมุสสะลามครับลูกซิลเวีย

ดีใจครับที่ลูกชอบกวีบทนี้

ใช่ครับดั่งที่ลูกกล่าวนั่นแหละ  "put the right words into the right person"

เวลาลูกอ่านหะดิษ สังเกตให้ดีนะครับ หลายครั้งหลายครา ท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) มักจะพูดว่า เอาไหมฉันจะบอกสิ่งที่ดีที่สุด แล้วท่านก็ไม่ได้บอกทันที ท่านไปทำอย่างอื่น จนสาวกที่ได้ฟังและรออยู่ว่าเมื่อไหร่ท่านนบีจะบอกสักที จนต้องไปทวงถามท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เมื่อท่านมั่นใจว่าสาวกท่านนั้นกระหายอยากรู้อย่างแท้จริง ท่านจึงบอกออกไป ด้วยวิธีการเช่นนี้นี่เองที่บรรดาวจนะของท่านได้ฝั่งแน่นอยู่ในใจของสาวกของท่าน และถูกบอกเล่าต่อๆกันมาจนถึงรุ่นเราปัจจุบัน ผ่านกาลเวลานับพันปี

ขออัลลอฮฺทรงประทานวิทยปัญญาแด่ลูกซิลเวีย อามีน ยาร็อบบัลอาลามีน

อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี

แวะมาดื่มดำบทกวีสอนใจครับ

ขอบคุณมากครับ "คนตานี" และอาจารย์จารุวัจน์

หากมองจากมุมของการบริหารงานบุคคล บทกวีนี้ เป็นเช่น "สัญญาณเตือน" เพราะอะไรหรือ? เพราะว่าคนๆหนึ่งนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับแต่ละคนคือ "สิ่งที่เขาคิดและนำเสนอมันออกมาด้วยความจริงใจ" แต่หากว่ามันไม่ได้รับการ "ตอบสนองอย่างเหมาะสม" แน่นอนว่า องค์กรนั้นหรือผู้บริหารขององค์กรนั้น กำลังเป็นเช่นสถานีดับเพลิงที่ดับไฟความคิดของบุคลากรให้ค่อยๆมอดและอาจจะดับลงในที่สุด องค์กรที่ขาด "ความคิดที่สร้างสรรค์และก้าวหน้า" น่าเป็นห่วงที่สุดครับ และมันไม่อาจทะยานบินไปยังจุดหมายใดๆก็ตามได้เลย

และหากมองในเชิงการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เน้นให้บุคลากรทุกระดับ "คิด" ทั้งในแง่ "ปัจเจกบุคคล" และในแง่ "ทีมเวิร์ก" ที่นำบุคลากรมาระดม "ความคิด" เพื่อให้ได้ "มุมมองที่หลากหลาย" ซึ่งการที่ "ความคิดของแต่ละคน" ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ "ภารกิจ" ย่อมได้ใจของผู้เสนอความคิดไปด้วยโดยอัตโนมัติ ซึ่งเขาย่อมจะ "ทุ่มเท" ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาครอบครองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า "ความคิดนั้น" มันใช้ได้อย่างที่เขาคิด

พักหลังมานี่ ผมสังเกตพบว่า โรคสมองไหลกำลังออกอาการแม้เป็นเพียงอาการเริ่มต้น แต่ก็ไม่ควรประมาท

และที่น่ากลัวที่สุดคือ คนทำงาน ไม่ได้รับแรงจูงใจที่เหมาะสมที่ต้อง "ใช้ความคิดที่ดีที่สุด" เท่านั้นในการขับเคลื่อนภารกิจในความรับผิดชอบ แต่กลับใช้ความเคยชินเดิมๆที่ทำต่อเนื่องมาหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่สามารถเผชิญกับการท้าทายของยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

ผมพบว่า หลายคนได้ไปให้ "คำแนะนำ" นั้นของตนกับ "ผู้ที่ต้องการมันอย่างแท้จริง" แต่ แปลกมากๆที่องค์กรกลับอิ่มตัวที่จะรับคำแนะนำนั้น

แปลกดีนะครับ อาจารย์จารุวัจน์คิดเหมือนผมไหมครับ?

salamPอ.อาลัม

  • หนูแวะมาเยี่ยมค่ะ ..มาซึมซับแนวคิดดีๆที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะการทำงานในองค์กรค่ะ
  • หนูว่าถ้าเราเข้าถึงความเป็นพี่น้องหรือเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องอยู่แบบญามาอะห์ สิ่งดีๆอย่างอื่นก็น่าจะตามมาค่ะ..อินชาอัลลอฮฺ
  • แต่ทุกวันนี้สิ่งที่หนูอ่านกับสิ่งที่หนูเจอคือยังไม่ไปด้วยกันเท่าไร มันยังอยู่ในอุดมคติไปหรือเปล่าคะ
  • แวะมาเยี่ยมด้วยความเคารพค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.อาลัม ... ไม่ยัดเยียดคำแนะนำให้ผู้ที่อิ่มแล้ว ... แต่จงให้แนะนำแก่คนที่ต้องการ ... คำแนะนำนั้น ย่อมเป็นเช่นโอสถวิเศษเสมอ ... "การให้คำปรึกษา" ก็ใช้หลักการนี้เช่นเดียวกันค่ะ ... ขอบพระคุณมากค่ะ ... มีความสุขกับการทำงานนะคะ

สลามครับลูก Silvia

สิ่งที่อิสลามสอนไม่ได้เป็นอุดมคติหรอกครับลูก แต่สิ่งที่ได้เกิด กำลังเกิด หรือจะเกิดขึ้นต่อไปนั้น อาจเพราะความไม่สมดุลระหว่าง "สิ่งที่เรารู้" (จากการอ่าน ศึกษา ค้นคว้า) กับ "สิ่งที่เราทำได้แล้ว" มากกว่านะครับ

แต่หากเราเริ่มจาก "การปฏิบัติ" เมื่อเราทำสิ่งหนึ่งได้อย่างดีแล้ว เราต่อยอดจากเดิมทีละนิดๆ แบบนี้เรื่อยไป ลูกจะรู้สึกมั่นคงขึ้น และด้วยการที่เราพยายามที่จะ "ปฏิบัติ" ในตัวเราเอง ซึ่งมันไม่ง่ายเลยกว่าจะบรรลุในสิ่งที่เรากำลังทำ จะทำให้เรา"เข้าใจ" คนอื่นอย่างที่เรา "ตระหนัก" ในความยากลำบากในการทำสิ่งนั้นๆของเราเอง

ซึ่งจะทำให้เรามองคนอื่นๆอย่างเข้าใจเขาเท่าๆกับที่เราก็เข้าใจในตัวเราเองไปด้วย

เมื่อมาถึงจุดนี้ ลูกจะพบว่า เราต่างต้องช่วยในกันและกัน (นะศีหะฮฺ ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ หรือดุอาให้กับพี่น้องและเพื่อนๆ) เพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน นะครับ 

สวัสดีครับ อ.Vij

และแนวโน้มในปัจจุบันพบว่า "การให้คำปรึกษา" จะเป็นสิ่งที่ "ต้องการ"ทวีคูณจากคนระดับต่างๆในสังคมนะครับ โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว ขอบคุณอ.VijPที่แวะมาเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ ขอให้อัลลอฮฺทรงนำทางอ.Vijสู่ทางอันเที่ยงตรงและอบอุ่นยิ่งของพระองค์ อามีน

มารับโอสถวิเศษประดับปัญญาค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ยินดีต้อนรับครับครูอี๊ด

ได้รับข้อคิดดีๆอย่างนี้พอมีจิตใจเบิกบานขึ้นมาก ถ้าทุกคนมีความบริสุทธิใจที่จะรับควาามคิดเห็นของคนอื่นบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท