ผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการพัฒนาตัวบ่งชี้ฯ


การบริหารความเสี่ยง
 การประชุมคณะทำงานจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน  ๒๕๕๒ เวลา ๐๘๓๐ น. ณ  ห้องประชุมพันเอกอาทร  ชนเห็นชอบ ๑ ชั้น ๖ สำนักงานคณะกรรมการกาอุดมศึกษา มีการพิจารณาผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ไตรมาส ๔ซึ่งโครงการพัฒนาตัวบ่งเพื่อติดตามการจัดการอุดมศึกษาตามกรอบมาตรฐานการอุดมศึกษาและกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕) ของสำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา เป็น ๑ ใน ๙ กระบวนงานที่อยู่ในระดับที่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วยอมรับได้ คือ มีระดับความเสี่ยงก่อนดำเนินการตามแผนฯ ในระดับสูง มีการดำเนินงานตามมาตรการควบคุมความเสี่ยง จำนวน ๑๐ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของการดำเนินการตามแผนฯ โดยคาดว่าจะได้ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๒ ตามตัวชี้วัดแผนฯ และมีความเสี่ยงที่เหลืออยู่ในระดับต่ำ และเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ คณะผู้วิจัยสามารถนำส่ง (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์ได้ ดังนั้น ผลการดำเนินการตามมาครการบริหารความเสี่ยงฯ จึงสำเร็จได้ด้วยดี
สำหรับการพิจารณา (ร่าง) แนวทางในการปรับปรุงและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงฯ สำหรับดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ให้อาศัยกรอบตามมติที่ประชุม พร้อมนี้มีข้อเสนอแนะ
ที่สำนัก/หน่วยงานรับผิดชอบที่แผนบริหารความเสี่ยงเดิมคาดไม่ถึง ทำให้การระบุปัจจัยเสี่ยงไม่ครอบคลุม เช่น ภาระงานของเจ้าหน้าที่ที่วิเคราะห์
รายงานความก้าวหน้าที่คณะผู้วิจัยส่งมอบมีงานด่วนเข้ามาหลายชิ้นงาน ประกอบกับอัตรากำลังที่มีน้อยทำให้กระบวนการตรวจรับงานล่าช้า  และ
กระบวนการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานต้นสังกัดของคณะผู้วิจัยซึ่งมีระเบียบขั้นตอนที่ไม่คล่องตัว นอกจากนี้ ความเสี่ยงบางครั้งมาจากคณะผู้วิจัยเอง
ที่ไม่มีเวลามารับเงิน หรือบางครั้งเป็นช่วงวันหยุดราชการยาวติดต่อกันหลายวัน ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของคณะผู้วิจัย
ทำให้ต้องขยายเวลา ซึ่งในการทำแผนบริหารความเสี่ยงครั้งต่อไป ควรระบุสิ่งเหล่านี้ในปัจจัยเสี่ยง และมาตรการควบคุมความเสี่ยงด้วย
ในแผนบริหารความเสี่ยง สำหรับการดำเนินการในปีงบประมาณต่อไป ขอเสนอแนะประเด็นดังกล่าวข้างต้นไว้ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของ สำนักต่างๆ ในลักษณะงานที่คล้ายคลึงกับงานดังกล่าวข้างต้น
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อย่างไรก็ตามได้แก้ไขปัญหาให้คณะผู้วิจัยสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้  เป็นผลให้ผลการดำเนินงานใกล้เคียงกับที่ระบุไว้
 
                         
    
           
หมายเลขบันทึก: 309500เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท