การเขียนเชิงสร้างสรรค์


การเขียนเชิงสร้างสรรค์

ชื่อเรื่อง                     ผลการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกลวิธีสอนความคิดสร้างสรรค์

                               ตามแนวคิดของวิลเลี่ยมส์ที่มีต่อความสามารถในการเขียน

                               เชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย                        นางประไพทอง  สิทธิพรหม

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร. ชาติชาย  ม่วงปฐม

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รพีพร  สร้อยน้ำ

                               อาจารย์ ดร. ฤทัยรัตน์  ชิดมงคล

ปริญญา                     ครุศาสตรมหาบัณฑิต

ปีการศึกษา                 2552

 

บทคัดย่อ 

 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้การสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกลวิธีสอนความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลี่ยมส์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เลือกเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนโนนสะอาด พิทยาสรรค์ อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี จำนวน 25 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง 

             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่เน้นกลวิธีสอนความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลี่ยมส์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา  16 คาบๆ ละ 60 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

             ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

             ผลการศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม ก่อนเรียน พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.34 คิดเป็นร้อยละ 51.70 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  14.88 คิดเป็นร้อยละ 74.34

             ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมนักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Thesis Title             The Effects of Teaching English Emphasizing Creative 

                             Thinking Teaching Strategies Based on Williams’ Model 

                             on Creative Writing Ability of Mathayomsuksa 5 Students

Author                    Mrs. Praphaithong  Sitthiprom

Thesis Advisor          Dr. Chatchai  Muangpatom

Thesis Co-advisor      Assistant  Professor  Dr. Rapeeporn  Sroinam

                              Dr. Ruthairat  Chidmongkol

Degree                    Master of  Education 

Academic Year         2009

 

       ABSTRACT

 

         The  purposes of this research were to study and compare the creative writing ability before and after using creative thinking teaching strategies based on Williams’ Model of Mattayomsuksa 5 students.

         The sample was 25 Mattayomsuksa 5 students who were studying English for Tourism in the  second semester of academic year 2007 at Nonsa-at Pittayasan School, Nonsa-at District, Udon Thani Province. The design of this research was a one group pretest-posttest design.

         The research instruments were eight lesson plans and an English creative writing test. The experiment lasted for 16 periods of 60 minutes in which 8 lessons were taught. Mean, percentage, standard deviation and t-test for dependent samples were used to analyze data. The findings of the research were as follows:

          The mean score of the English creative writing ability achievement before learning through the use of creative thinking teaching strategies based on Williams’ Model was 10.34 or 51.70 percent and after learning through the use of creative thinking teaching strategies based on Williams’ Model was 14.88 or 74.34 percent.

          The use of creative thinking teaching strategies based on Williams’ Model was found statistically significant different at the 0.01 level. The mean score on posttest was higher than pretest.

หมายเลขบันทึก: 309387เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าสำหรับท่านที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ยอด ๆ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท