แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วย ICT โดยใช้รุปแบบ Cippa Model


การจัดทำแผนแบบ Cippa Model เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์โรงเรียน โดยเน้นการใช้ iCt

แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วย ICT

โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA Model

รายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม  อ 30204  ชั้น ม.3

  เรื่อง  Isan Festival  เวลา    3    ชั่วโมง  

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

 ----------------------------------------------------------------------------------------------

1.  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ช่วงชั้นที่   3 

มาตรฐานการเรียนรู้  

         ต 2.2   เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

         ตัวชี้วัด  2. เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม

2.  สาระสำคัญ

      การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเพณีอีสาน  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยนั้น  เป็นสิ่งที่พึงส่งเสริมโดยเฉพาะการเรียนรู้ประเพณีไทยด้วยการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร  ซึ่งแสดงถึงการผสมผสาน Localization  กับ Globalization เป็นการให้ประสบการณ์จริงที่ใกล้ตัวกับนักเรียนโดยใช้กลวิธีแห่งความเป็นสากล  นักเรียนจึงจะกลายเป็นนักเรียนที่พึงประสงค์ของสังคม

3.  จุดประสงค์

  1. ใช้ภาษาและท่าทางในการสื่อสารได้เหมาะสมกับระดับบุคคลและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา (K)

  2. รู้ที่มาและเหตุผลของประเพณีวันสำคัญของชาติ  ศาสนาและวัฒนธรรมของไทยและเจ้าของภาษา(K)

  3. ค้นคว้าและนำเสนอผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีอีสาน ด้วยเทคโนโลยี (P)

  4. มีความรับผิดชอบและมีค่านิยมที่ดีต่อการจัดประเพณีในท้องถิ่น(A)

4.  สาระการเรียนรู้

      - ประเพณีแห่นางแมว  Hae Nang Maew festival

      -ประเพณีผีตาโขน      Phitakhon Festival

      -ประเพณีสงกรานต์      Songkran Festival

      -ประเพณีบุญบั้งไฟ     Rocket Festival (Boon bung fai)

      -ประเพณีเข้าพรรษา    Bhuddhist Lent 

      -พิธีทอดกฐิน           Kathin ceremony

      - ประเพณีลอยกระทง Loy krathong Festival

 

5.  กิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมลเดลซิปปา (CIPPA Model) โดย ทิศนา แขมมณี

ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม

  1. นักเรียนดูรูปภาพประเพณีไทย เช่น วันสงกรานต์ จากไสลด์  Power point แล้วสนทนาถาม – ตอบจากภาพ

  2. นักเรียนอ่านออกเสียงคำศัพท์จากสื่อ power point เรื่องประเพณีไทย แล้วศึกษาความหมายของคำศัพท์จากคำจำกัดความและตัวอย่างประโยค เช่น

-                   Merit = Merit is a goodness.

-                   Buddha = The name of the Buddha is Prince Sittata

-                   Splash = Splash means to make wet

-                   Zodiac = The 12 months of the year are in the zodiac

ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่

  1. นักเรียนทำแบบฝึกก่อนเรียน (Pre-test)

  2. นักเรียนระดมคำศัพท์จากเรื่องประเพณีไทย(อีสาน) Hae Nang Maew Festival / Bangfai Festival /  Phi Tha Khon Festival /  Buddhist Lent/ Kathin Festival /  Loy Kratong Festival

  1. นักเรียนบอกความหมายของคำศัพท์ให้เพื่อนๆ ทราบ  โดยใช้วิธีใดก็ได้  แต่จะต้องไม่แปลโดยพูดเป็นภาษาไทย

ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

  1.  นำคำศัพท์ยากทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในบทอ่านเรื่อง Isan Festival อันประกอบด้วยประเพณี  Hae Nang Maew, Bangfai, Phi To Khon, Buddhist Lent, Kathin และ Loy Krathong มานำเสนอคือ    

      folks                                         waxing  moon

     supernatural                           waning  moon

     urge                                         annual

     home-made                            robe

     traditional                               disciple

     origin                                       lunar  month

     event                                        launch

     crop                                          sin

     perform                                   drift

     monkshood                            document

  1. นักเรียนให้ความหมายคำศัพท์โดยใช้วิธีใดก็ได้  แต่จะต้องไม่แปลโดยพูดเป็นภาษาไทย

  2. ครูทบทวนการตั้งคำถาม และตอบคำถามที่แสดงความคิดเห็น โดยใช้ Model ตัวอย่าง                             

        A    :  How do you think about Hae Nang Maew Festival?

        B    :  I think it’s a good Festival. Because it helps folks to cheer up themselves. 

        A    :  What do you think the belief which is in Hae Nang Maew Festival?   

        B    :  The belief which is in Hae Nang Maew Festival should be about the rain god.

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

  1. นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 5-6 คน  ใช้ Model การตั้งคำถามและการตอบแสดงความคิดเห็นเหมือนที่ครูยกตัวอย่างแล้วนำคำตอบที่ได้มาเขียนเป็นเรียนความเป็น Paragraph ได้แก่ 

                        กลุ่มที่ 1 เรื่อง  Hae Nang Maew Festival

                        กลุ่มที่ 2 เรื่อง  Bangfai Festival

                        กลุ่มที่ 3 เรื่อง  Phi Tha Khon Festival

                        กลุ่มที่ 4 เรื่อง  Buddhist Lent

                        กลุ่มที่ 5 เรื่อง  Kathin Festival

                        กลุ่มที่ 6 เรื่อง  Loy Kratong Festival

    2. นักเรียนตัวแทนกลุ่มนำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียนตามกลุ่ม 6 กลุ่ม

ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้

  1. ครูแจกบทอ่านเกี่ยวกับประเพณีอีสาน 6 ประเพณี เช่นHae Nang Maew Festival / Bangfai Festival / Phi Tha Khon Festival  / Buddhist Lent / Kathin Festival / Loy Kratong Festival

  2. นักเรียนเปรียบเทียบงานกลุ่มและใบงานที่ครูแจกให้

  3. นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ 1, 2

  4. นักเรียนจดความรู้ที่ได้ลงในสมุด

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/ หรือการแสดงผลงาน

  1. นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 5-6 คน  ทำรายงานกลุ่มเพื่อรายงานเรื่องประเพณีอีสาน โดยการจับฉลากว่ากลุ่มใดจะได้เรื่องอะไรจาก 6 เรื่องที่ครูแจกบทอ่านให้  Hae Nang Maew Festival/ Bangfai Festival/ Phi Tha Khon Festival/ Buddhist Lent/ Kathin Festival / Loy Kratong Festival

  2. ดำเนินการรายงาน  โดยมีขั้นตอนในการายงาน 3 step คือ ขั้น Presentation ขั้น Practice และขั้น Production

  3. ดำเนินการรายงานโดยการใช้สื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลายเช่น Power point ,  E-book, Animation,  วีดีทัศน์ (VDO) หรือสื่อช่วยสอนต่างๆ อาทิ สื่อช่วยสอน CAI , Macromedia captivate,  E-learning เพื่อนกลุ่มอื่นและครูให้คะแนน  

  4. วิเคราะห์ผลคะแนนที่ได้ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม  แล้วนำมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการให้คะแนน

  5. ทำ Post - test

    ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้

    1. นักเรียนรายงานบุคคลไปสืบค้นประเพณีต่างๆ ของอีสานหรือของไทยนอกเหนือจากประเพณีที่ได้เรียนไปแล้ว

    2. นำมาจัดกระทำข้อมูลที่ได้มา  โดยจัดเป็นรูปเล่มที่มี  คำนำ  คำแนะนำ  จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา และแบบฝึกพร้อมกับวิเคราะห์ความเชื่อที่แฝงในประเพณีนั้นได้ โดยดูตัวอย่างจากเอกสารประกอบการเรียนเรื่องประเพณีอีสานที่ครูแจกให้

      6.  สื่อการเรียนรู้

      1. ภาพประเพณีไทย (อีสาน)

      2. Power point เรื่อง Thai Festival

      3. ใบงาน

      4. ใบความรู้ประเพณี 6 ประเพณี Isan Festival

      5. สื่อ Swish max เรื่อง Isan festival

      7. กิจกรรมเสริมการเรียนรู้

                      1. นักเรียนรายงานบุคคลไปสืบค้นประเพณีต่างๆ ของอีสานหรือของไทยนอกเหนือจากประเพณีที่ได้เรียนไปแล้ว

                      2.  นำมาจัดกระทำข้อมูลที่ได้มา  โดยจัดเป็นรูปเล่มที่มี  คำนำ  คำแนะนำ  จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา  และแบบฝึกพร้อมกับวิเคราะห์ความเชื่อที่แฝงในประเพณีนั้นได้ โดยดูตัวอย่างจากเอกสารประกอบการเรียนเรื่องประเพณีอีสานที่ครูแจกให้

                      3.  มอบหมายให้นักเรียนสืบค้นประเพณีไทยภาคกลาง ภาคเหนือ  ภาคใต้ (ประเพณีท้องถิ่น)รายงานเป้ฯรูปเล่มส่งเพิ่ม

      8. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม

      1. ห้องสมุดดิจิตอลโรงเรียนเชียงกลมวิทยา

      2. สืบค้นทางInternet

              http://www.thaifestivalblogs.com/

              http:// www.thailandlife.com/

              http://www.baanmaha.com

              http://www.google.com

      9. การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

               กระบวนการวัดและประเมินผล

      1. วิธีวัดผล

           1.1  วัดจากการปฏิบัติกิจกรรม

                      1)  การวิเคราะห์ประเพณีท้องถิ่น

                       2) การสืบค้นภูมิปัญญาเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น

             1.2 วัดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                      1)จากผลการทดสอบก่อนเรียน

                      2) จากผลการทดสอบหลังเรียน

              1.3 การวัดเจตคติ

                      1.เครื่องมือวัดผล  

                         1.1 แบบบันทึกพฤติกรรมในการทำงานตามชิ้นงาน

                            1.2 แบบประเมินพฤติกรรมด้านเจตคติ

                            1.3 แบบให้คะแนนการทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน

          ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

           

           

           

           

           

          หมายเลขบันทึก: 309192เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


          ความเห็น (11)
          • สวัสดีคะ
          • เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนแบบบูรณาการ ICT แบบ CIPPA Model
          • เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เป็นต้นแบบของการจัดการเรียนรู้ได้เลยคะ
          • ร่วมเป็นกำลังใจให้กันและกันนะคะ
          • ขอบคุณวิทยากรคนเก่ง
          • เห็นภาพทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม
          • ก็ชื่นชมและเป็นกำลังให้นะคะ
          • ขาว-เขียว สู้
          • ยังต้องพัฒนาอีก
          • ขอคำแนะนำด้วยนะคะ
          • ตามมาอ่านการจัดกิจกรรมของอาจารย์
          • ชอบที่อาจารย์จัดกิจกรรมเรื่องโครงงานด้วยครับ
          • เยี่ยมมากๆๆๆๆๆ

          สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นน้องใหม่ใน G2K มีความสนใจในวิชาภาษาอังกฤษ และก็กำลังสับสนกับการจัดทำแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ แต่พอมาได้อ่านของอาจารย์แล้วก็ทำให้เกิดความเข้าใจในการจัดทำแบบการเรียนการสอน ขึ้นมากทีเดียว ขอบคุณค่ะ

          • สวัสดีค่ะอ.ขจิต Pขจิต ฝอยทอง
          • ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะที่ตามมาดูกิจกรรม
          • และให้คำแนะนำดีๆเสมอเลยค่ะ
          • ขอบคุณมากๆนะคะ
          • สวัสดีค่ะคุณPGnusty
          • ยินดีต้อนรับสู่ G2K
          • เป็นกำลังใจในการเขียนบันทึกนะคะ
          • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

          ผมกำลังหาข้อมูลเกี่่ยวกับการสอนเรื่องวัฒนธรรม เพื่อไปใช้เป็นหัวข้อในการอบรมภาษาอังกฤษให้กับ นศ ราชภัฏเลย แปลกมากท่ีgoogle กลับพาให้ผมมาพบกับงานของพิกุล ที่เป็นรักกันมานาน เหอะๆๆ โลกเรามันเล็กนะครับ ขอบคุณเพื่อนกุล งานแกดีมั่กๆ

          หมี

          ศริญญา จันทร์ห้างหว้า

          สวัสดีค่ะอาจารย์ เห็นงานของอาจารย์แล้วเป็นแผนการสอนที่ดีมากๆ

          ขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ

          ขอบคุณเพื่อนหมี วรชัย ที่แวะมาทักทายกัน

          ขอบคุณศริญญา จันทร์ห้างหว้านะคะ

          เป็นกำลังใจให้ ครูมือใหม่

          ครูไทยของเราทำได้ทุกอย่างค่ะ

          พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
          ClassStart
          ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
          ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
          ClassStart Books
          โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท