“กบในกะลา...”


“อาจารย์ครับ...อย่าคาดหวังอะไรมากมายกับพวกผม พวกผมก็เหมือน “กบอยู่ในกะลา” แหละครับอาจารย์”


          ฝนตั้งเค้าก่อตัวเป็นเมฆดำ และในไม่กี่วินาทีต่อมาฝนมันก็เริ่มตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา ขณะที่ยังไม่ทันตั้งตัวฝนก็กระหน่ำตกลงมาสักพักก็หอบพายุมาถาโถมยิ่งเพิ่มความแรงให้มากขึ้นกว่าเดิม หากแต่ตัวเองกำลังเดินอยู่กลางสายฝนเนื้อตัวเปียกจนรู้สึกเหน็บหนาวมันหนาวลึกลงไปถึงข้างในจิตใจ ปากก็เริ่มสั่น มือก็เริ่มเหน็บ ดูท่าทางฝนจะตกหนักและคงจะอีกนานกว่าจะหยุด ตั้งใจว่าจะเดินสักพักแล้วค่อย ๆ วิ่ง แต่ฝนมันแรงพายุก็กระหน่ำจนหมดเรี่ยวแรงที่จะก้าวขาเดิน เหน็บหนาวจนแทบจะเดินต่อไม่ไหว ทั้งหนาวทั้งเจ็บด้วยเม็ดฝนที่สาดใส่เข้ามาโดนเนื้อตัวเม็ดแล้วเม็ดเล่า หนาวจนแทบจะทรุดตัวลงนั่งกับพื้นดิน แต่ก็พยายามฝืนตัวเองเพื่อเดินต่อไป นี่คือชีวิตคนกลางสายฝนและพายุ ณ ขณะนั้นมันเป็นวิถีชีวิตที่เลือกไม่ได้

          ในโลกกว้างแต่ยังมีห้องแคบ ๆ ของใครคนหนึ่ง ในขณะที่นั่งสอนนักศึกษา ในตอนเช้าของวันนี้ วิชา มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ให้นักศึกษาเขียนบทความการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เพื่อนการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข ขณะที่นั่งอ่านบทความของนักศึกษาในชั้นเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันทางด้านความคิด การรับรู้ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน บางคนก็เขียนมาน่าอ่านมาก แต่บางคนก็เขียนแบบอ่านไม่ค่อยจะเข้าใจสักเท่าไร แต่ก็พอจับใจความได้ก็อดที่จะยิ้มกับสำนวนของเด็กไว้เสียมิได้ แต่ในขณะที่ครูนั่งอมยิ้มอยู่นั้น มีเด็กนักศึกษาคนหนึ่งพูดขึ้นว่า “อาจารย์ครับ...อย่าคาดหวังอะไรมากมายกับพวกผม พวกผมก็เหมือน “กบอยู่ในกะลา” แหละครับอาจารย์” สะดุดมากกับประโยคนี้ “กบในกะลา” จึงเงยหน้าขึ้นถามด้วยความที่อยากรู้ถึงเหตุผลของเด็ก แน่นอนเขาต้องมีอะไรซ่อนอยู่ภายในคำพูดประโยคนี้ของเขา จะละเลยเฉย ๆ คงไม่ใช่ครูคนนี้แน่ เพราะรู้ว่าเด็กต้องการสื่ออะไรต่ออย่างแน่นอน “ทำไมถึงคิดว่าตัวเองเป็น “กบในกะลา” ล่ะ” ... “ก็พวกผมไม่เคยได้ออกไปไหนเลยครับอาจารย์ วัน ๆ หนึ่งก็เรียนอยู่ในแผนก อยู่ในวิทยาลัย ก็เลยเหมือนกบในกะลา”

          “กบในกะลา” นี่คือเหตุผลของเด็กคนหนึ่งที่สะท้อนภาพการจัดการเรียนการสอนที่ได้ถ่ายทอดออกมาด้วยคำพูดที่หวังเพียงให้ครูได้รับรู้และเข้าใจ ถ้าเพียงแค่ปล่อยให้คำพูดนี้หายไปในสายลม ในวันนี้ฉันคงเสียใจไปตลอดชีวิต คำพูดที่ไม่เจือปนด้วยเหล่เหลี่ยมของเด็กมันสะท้อนถึงระบบการศึกษาที่ยังไม่พัฒนาไปไกลสักเท่าไร คำพูดของเด็กทำให้นึกถึงการจัดการเรียนการสอนนอกสถานศึกษา การพานักศึกษาออกไปทัศนะศึกษาดูงาน ออกไปเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จากชุมชนสังคมที่เขาอยู่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้เห็น ได้ทดลอง ได้สัมผัสถือว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เยี่ยมยอด เพื่อนักศึกษาได้มองเห็นเป็นรูปธรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้ได้แนวคิดที่กว้างไกล และหลากหลาย แต่ด้วยในขณะนี้ตนเองทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้ก็คงแค่บอกให้เขาให้เข้าใจว่า “ในเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นกบอยู่ในกะลา...แล้วทำไมไม่หาอะไรมาเพิ่มพูนให้ตัวเองล่ะ หาหนังสือตำรามาศึกษาแล้วเธอจะได้เพิ่มพูนความรู้ให้เติมเต็มกับตนเองได้อย่างมากมายหลากหลาย แล้วเธอก็จะไม่เป็นกบในกะลา หรือไม่ก็เปิดแว๊บไซต์ดูแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  ดูโบราณคดี สถานที่ท่องเที่ยว ดูการทำงานในสถานประกอบการ การเรียนรู้เกิดขึ้นเยอะแยะมากมายในแว๊บไซต์ต่าง ๆ ถ้าเธอได้อ่านได้ดูก็จะกลายเป็นกบนอกกะลาไงจ๊ะ”  

          เขาก็นิ่งเงียบบอกแค่ว่า “ผมก็เข้าไปครับอาจารย์...แต่เข้าไปเล่นเกม”  จะบ้าตาย!! ฉันพูดต่อเพื่อให้เขาเกิดความคิดขึ้นมาบ้างสักนิด  “นั่นแหละที่เขาเรียกว่า..."กบในกะลาตัวจริง"...ถ้าขืนยังไม่เลือกบริโภคข่าวสารความรู้ เธอก็จะเป็นกบในกะลาอยู่นั่นแหละ ทุกอย่างล้วนเป็นดาบสองคมหมด ตัวเธอเองจะต้องเลือกและตัดสินใจว่าอะไรคือความรู้ที่เป็นแก่นสารสำหรับชีวิต ก่อนที่จะบริโภคอะไรเข้าไป ต้องนึกด้วยว่าสิ่งนั้นมีคุณหรือโทษต่อร่างกายเรา ถ้าเธอยังขืนไม่เลือกบริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับร่างกายเธอก็จะเป็นกบในกะลาตลอดไปค่ะ”  ฉันพูดแค่นี้เอง เนื่องจากบรรยากาศในชั้นเรียนเงียบสงบด้วยความตั้งใจฟังของนักศึกษา  แต่ในความเงียบครูกลับมองถึงเห็นอะไรบางอย่างผุดขึ้นมา “เหตุผลและความเข้าใจ” เด็กจะไม่ดื้อเพ่งหากแต่ครูใช้เหตุผลและอธิบายให้เขาได้เข้าใจเขาก็จะรับฟังและคิดตามด้วยความเข้าใจ ปัญหาทุกปัญหามีทางออกที่ดีเสมอหากแค่ได้อธิบายเพื่อให้เข้าใจกัน และในเวลานี้นี่คือวิถีชีวิตที่เราสามารถเลือกเองได้ "กบนอกกะลา"

หมายเลขบันทึก: 30885เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ถ้านักศึกษาสามารถเลือกข้อมูลข่าวสาร แหล่งเรียนรู้ ตามที่ตนเองชอบได้จะดีมากเลยครับ ผู้เรียนจะรู้สึกสนุกกับการเรียน เคยให้นักเรียนเรียนเรื่องแหล่งเรียนรู้
  • ลองดูงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนะครับ อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผม อาจหายไปช่วงเสาร์-อาทิตย์ หนีไปอบรมให้คุณครูครับ

แนะนำให้เด็กดูรายการ กบนอกกะลาซิครับพี่ แล้วมาเล่าให้ฟังกันในห้อง ตั้งโจย์หรือประเด็นอะไรก็ได้ แล้วให้เด็กค้นหาทางWeb มานำเสนอก็ยังดี ถ้าครูไม่ช่วยเด็กสมัยนี้ยากครับ ไม่กระตือรือร้นในชั้นเรียนก็ไม่ค่อยสนอยู่แล้ว นอกชั้นเรีบนยิ่งยาก ต้องช่วยครับ

เห็นด้วยกับ 007
ครูต้องช่วยค่ะ  ช่วยกระตุ้น "ต่อมอยากรู้อยากเห็น"  เรื่องที่น่าสนใจ  เรื่องที่เป็นสาระดีๆ    อยู่ๆ  จะให้นึกมาสนใจเพราะเห็นว่ามันมีประโยชน์นั้น  เป็นเรื่องยาก  (เช่น.ใครๆ หลายคน ก็รู้ว่าผักมีประโยชน์   แต่ยังไม่ชอบกิน)  อย่างรายการกบนอกกะลา  เค้าเริ่มจาก  ให้ข้อมูลในเรื่องใกล้ตัวก่อน เช่น  คนไทย  กินปูดองถึงปีละ....คำถามคือ  รู้มั๊ยว่าปูดอง มากมายเหล่านี้มาจากไหน ...
(พอรู้ว่าเป็นปูพม่า..เลยเลิกอยากกินเลย)

คุณ "007"

ขอบคุณค่ะ สำหรับคำเสนอแนะเห็นด้วยค่ะว่าคุณครูคงต้องช่วยเด็กเพราะเท่าที่สังเกตในการจัดการเรียนการสอนก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ หากครูไม่ช่วยด้วยคงไม่บรรลุผลอย่างแน่นอนค่ะ

คุณ "008"

ยินดีอย่างยิ่งค่ะ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน "ครูต้องกระตุ้นต่อมอยากรู้อยากเห็น" ให้กับเด็กซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกท่านควรตระหนักให้มากในปัจจุบัน "vij" เคยลงบทความเรื่อง "การสอน...ให้และรับอย่างมีความสุข..." โดยครูต้องสร้างทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอกให้กับเด็ก การจัดการเรียนการสอนจึงจะประสบผลสำเร็จ และมีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท