ตัวอักษรเพื่องานพิมพ์


แบบของตัวพิมพ์ 

วิธีการพิมพ์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ และได้มีการประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใช้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยรูปแบบตัวเขียนด้วยลายมือมาปรับปรุงเป็นตัวพิมพ์อักษรไทย แต่ตัวพิมพ์ดังกล่าวก็มิได้มีผู้กำหนดหลักเกณฑ์โครงสร้างรูปแบบและลักษณะให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับใช้เป็นแบบแผนโดยทั่วไป

ช่วงปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2539 ราชบัณฑิตยสถานมอบหมายให้คณะกรรมการชุดหนึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย พิจารณาร่างหลักเกณฑ์โครงสร้างของตัวอักษรไทยจนสำเร็จสมบูรณ์ สามารถจัดทำเป็นมาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทยและจัดพิมพ์ออกเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2540 ชื่อว่า“มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” มีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้

1. แบบตัวพิมพ์ไทย

ราชบัณฑิตยสถานแบ่งรูปแบบตัวพิมพ์ เป็น 3 แบบ คือ ตัวแบบหลัก ตัวแบบเลือก และตัวแบบแปร (มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. 2540: 1-3)

1.1 ตัวแบบหลัก  เป็นตัวพิมพ์ที่มีหัวกลม ความหนักเบาของเส้นเสมอกันหมด นอกจากส่วนที่เป็นเส้นโค้ง เส้นหัก รวมทั้งส่วนต้นหรือปลายของตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ บางตัว ขนาดของเส้นอาจหนาหรือบางกว่าได้บ้าง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

 

1.2 ตัวแบบเลือก เป็นรูปแบบที่ต่างจากตัวแบบหลักเล็กน้อย เช่นมีเส้นกิ่ง เส้นลำตัวอาจมีหนักเบาแตกต่างกัน เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไปและถือว่าเป็นแบบที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน

1.3 ตัวแบบแปร เป็นรูปแบบที่ใช้กันอยู่แต่ไม่อาจจัดเข้าหลักเกณฑ์นี้ได้ เช่น ตัวที่มีหัวบอดหรือตัน หัวแฝงเร้น ตัวแบบคัดลายมือ เขียนลายมือและตัวประดิษฐ์อื่นๆ (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. 2537: 224-229)

 

2. บทบาทของตัวพิมพ์

ตัวพิมพ์ที่ปรากฏในงานสิ่งพิมพ์ แสดงบทบาทและบุคลิกแตกต่างกันไปตามน้าที่ที่ถูกกำหนด บางกลุ่มทำให้หน้าที่เป็น หัวเรื่อง บางกลุ่มทำหน้าที่เป็น ชื่อเรื่องบางกลุ่มทำหน้าที่เป็น เนื้อเรื่อง แต่ละหน้าที่มีการใช้แบบตัวพิมพ์แตกต่างกันออกไป

2.1 หัวเรื่อง(Hading) เป็นตัวพิมพ์ที่โดดเด่นที่สุดของสิ่งพิมพ์ เพราะมีหน้าที่ในการดึงดูดให้ผู้อ่านมาสนใจในตัวสิ่งพิมพ์เป็นอันดับแรก เพื่อจะได้สืบค้นไปยังส่วนต่างๆ ของสิ่งพิมพ์เป็นลำดับต่อไป รูปแบบ ขนาด สีสัน และการออกแบบจึงต้องเน้นเป็นพิเศษ ส่งผลให้ประจักษภาพลดลง แต่บางครั้งก็เป็นความจงใจของนักออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องการให้หัวเรื่องอ่านยาก เพื่อเป็นการตรึงให้ผู้อ่านใช้เวลาอยู่กับหัวเรื่องให้มากขึ้น

2.2 ชื่อเรื่อง(Title) จะดูโดดเด่นกว่าเนื้อเรื่อง เพื่อแสดงตัวให้ปรากฏอย่างชัดเจนถึงการแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง แต่ละเรื่องคืออะไร อยู่ตำแหน่งใดตัวพิมพ์จึงควรมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อเรื่องเล็กน้อย มีสีสดกว่า เส้นตัวหนากว่า แบบของตัวพิมพ์จึงควรเป็นตัวแบบเลือกหรือตัวแบบแปร ถ้าเลือกตัวแบบแปรควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่ยังคงมีประจักษภาพระดับกลาง ๆ ยังคงอ่านได้โดยไม่ยากเย็นนัก

2.3 เนื้อเรื่อง(Body) เป็นตัวเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ บางทีอาจมีเป็นจำนวนมากกินเนื้อที่หลายบรรทัด ต้องใช้เวลาในการอ่านนานจึงต้องเลือกใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็ก ลักษณะเรียบง่าย ดูสะอาดตา มีประจักษภาพสูง อาจเป็นตัวแบบหลักหรือตัวแบบเลือกก็ได้โดยทั่วไปจะใช้ตัวพิมพ์สีดำ ในภาษาไทยนิยมใช้ตัวพิมพ์ขนาด 12-16 พอยต์ ภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ขนาด 10-14 พอยต์ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งพิมพ์ ถ้าจะใช้ตัวพิมพ์ภาษาไทยและตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษในเนื้อเรื่องเดียวกัน ต้องให้ตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษเล็กกว่าตัวพิมพ์ภาษาไทยประมาณ 2 พอยต์ จึงจะดูกลมกลืนกันพอดี (ศัพท์บัญญัติวิชาการพิมพ์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. 2532: 37)

 

Body                                         Title                                          Head

 

สื่อการสอน http://gotoknow.org/file/noontoon2001/Teaching_body2.pdf

ตัวอย่างงานพิมพ์............

http://noontoon7.multiply.com/photos/album/21/magazine_layout

ตัวอย่าง Typography จากเว็บ behancs .........http://www.behance.net/Search?category=projects&main-search=Search&realm=97

คำสำคัญ (Tags): #letter
หมายเลขบันทึก: 308559เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท