บทกวีสรภัญญ์ ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่การสอนที่สร้างความรู้อย่างยั่งยืน


สรภัญญ์ : อาหารพื้นถิ่น...ชวนกินเพื่อสุขภาพ

 

บทกวีสรภัญญ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน

สู่การสอนที่สร้างความรู้อย่างยั่งยืน

ผมได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากครูหยูมีบทสรภัญญะ ที่สอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่นำไปใช้ได้เพื่อสุขภาพ

สรภัญญ์ : อาหารพื้นถิ่น...ชวนกินเพื่อสุขภาพ

เด็กเตยสรภัญญ์   
อยากเชิญท่านลองฟังดู
ศูนย์เด็กฯ มีความรู้             
นำมาสู่ท่านวันนี้ ( ซ้ำ )
 
การกินเป็นเรื่องใหญ่         
โปรดใส่ใจห่วงบุตรหลาน        
กายาเราต้องการ 
หมู่อาหารโภชนา ( ซ้ำ )
 
ห้าหมู่ในตำรา                     
มีคุณค่าต่อร่างกาย
ชายหญิงถ้วนทุกวัย            
จะสดใสในชีวา ( ซ้ำ )
 
ด้วยว่าเรื่องอาหาร             
ของพื้นบ้านเรามากมี
เด็กเล็กฟังทางนี้                 
อาหารดีบนผืนดิน ( ซ้ำ )
 
ตามรั้วมีของกิน                 
ผักตำนินมะละกอ
มะยมเอาใบห่อ                   
ตำเมี่ยงข่าหัวสิงไค ( ซ้ำ )
 
ปลูกกินด้วยตนเอง           
ปลอดมะเร็งสารเคมี
สดใหม่ให้คุณดี                   
สิ่งเหล่านี้อย่ามองข้าม ( ซ้ำ )
 
จำไว้จะขอบอก                    ข้าวกล้องงอกวิตามิน
น้ำดื่มต้มสุกกิน                   
หรือกรองรินสะอาดดี ( ซ้ำ )
 
บ้านเฮานั้นยังมี                  
พวกกุ๊ดจี่แมงกะซอน
แม่เอาสวิงซ้อน                   
ปลา กุ้งนอนอยู่ในน้ำ ( ซ้ำ )
 
ปรุงสุกเสร็จก่อนกิน          
สะดวกสิ้นอาจสิ้นใจ
ก้อยดิบหยิบเมื่อไหร่          
พยาธิภัยไปคุกคาม      ( ซ้ำ )
 
หน่อไม้ค่าบ่แพง                 
เอามาแกงใส่ย่านาง
ไข่มดแดงปลาย่าง              
ผักหวานวางใส่หม้อแกง ( ซ้ำ )
 
สิ่งหนึ่งท่านต้องเติม         
เสริมอาหารจากทะเล
กุ้งหอยปูขาเก                      
ปลาทะเลมีหลายหลาก ( ซ้ำ )
 
แคลเซียมไอโอดีน             
พร้อมโปรตีนในปลาทู
โอเมก้าทรีซ่อนอยู่              
มีเคียงคู่ตู้เย็นไว้ ( ซ้ำ )

 

 กินตามเราบอกมา              
ให้ปัญญาอารมณ์ดี
จัดสรรให้ถ้วนถี่                  
อยู่ร้อยปีบ่มีป่วย ( ซ้ำ )
 ขอบคุณ นายพูล ถือโคตร ศิลปินอาวุโสบ้านเตย ผู้แต่ง  
นับว่าบทสรภัญญะข้างต้นสอดคล้องกับโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63 (ชุมชนบ้านคำแดง) ขอบคุณครูหยู    
สรินทร ถวิลหวัง ที่ส่งข้อมูลมาให้
ติดตามสรภัญญะเด็กยุคใหม่ไม่กินหวานครับ
  
หมายเลขบันทึก: 308057เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

สวัสดีครับท่าน ผอ.พรชัย

  • สรภัญญ์ : อาหารพื้นถิ่น...ชวนกินเพื่อสุขภาพ
  • บทนี้สุดยอดจริงๆ ไม่เคยได้ยินมาก่อน
  • น่าให้เป็นบทอาขยานกับเด็กๆเอาในช่วงชั้นที่ 1
  • พอกลับบ้านเด็กๆจะได้ไปท่องบ่นให้พ่อแม่ ผู้ปกครองฟัง
  • เป็นการเอาเด็กๆไปสอนผู้ใหญ่
  • ไม่เป็นไร ขออนุญาตเอาไปเผยแพร่ต่อนะครับ
  • ขอบพระคุณ

  • แวะมาอ่านสรภัญญ์ ตอนไปวัดเคยท่อง
  • อย่างเดียวกันใช้ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับท่านผอ.
  • ผมยกบล็อกกลอน 108  บท ของผมมาให้ท่านเลือกอ่านตรงนี้ครับ
  • http://gotoknow.org/blog/ku-1
  • แต่ถ้าท่านต้องการแนวใดที่นอกเหนือจากนี้
  • กรุณาบอกผมได้ครับ
  • ขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยมเยียนที่อาศรมของนายก้ามกุ้งครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ผอ.พรชัย

  • ครั้งแรกที่อ่านบทสรภัญญ์ทำให้นึกถึงคุณค่าอย่างลึกซึ้งของอาหารครับ

  • ไม่เคยได้ยินเหมือนกัน แต่แต่งได้ไพเราะดีและมีความหมายดีครับ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์สำหรับบทความดีๆ ครับ

สวัสดีค่ะคุณครู

หนูมาอ่านบันทึกบทสรภัญของคุณครูค่ะ

ดีจังนะคะ  ที่โรงเรียนหนูยังไม่เคยได้ฝึกค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดีจังเลยค่ะ

อย่างนี้หมออนามัยก็ทำงานน้อยลง

เพราะคุณครูช่วยสอนให้เด็กรักษาสุขภาพค่ะ

ขอบคุณหลายๆเด๊อ

  • สวัสดีค่ะท่าน ผอ.
  • ขอมาตอบตรงนี้กับกลอนบทนั้นนะคะ
  • ไม่มีคนให้รัก ไม่มีช้อยส์ให้เลือกหรอกค่ะ
  • ขอบพระคุณที่ห่วงใย

เรียนท่าน ผอ.ประจักษ์ ปานอินทร์

ผมก็คิดว่าจะนำไปใช้กับเด็ก เป็นสะพานสู่ผู้ใหญ่ครับ ขอบคุณที่แนะนำให้ไปใช้กับเด็กครับ

เรียนท่านมหาเหรียญชัย

เป็นสรภัญญะอีสานครับ ท่านคงคุ้นเคยดีส่วนใหญ่จะแสดงที่วัดครับดังที่ท่านว่า

ถ้าท่านมีกลอนอื่นๆ ก็นำมาฝากด้วย ขอบคุณครับ

เรียน นายก้ามกุ้ง

ขอบคุณครับเปิดดูกลอนที่ท่านยกมาให้อ่านบ้างแล้ว จะอ่านทุกวันในวันเปิดเทอมครับ

เรียนคุณณัฐวรรธน์

ถ้าเป็นคนภาคอื่นจะไม่คุ้นเคยครับ แต่ถ้าอ่านจับใจความน่าจะเข้าใจ คงยากแต่ทำนอง

ขอบคุณครับที่สนใจ ต่อไปอาจจะใช้เสียงใส่แต่ผมยังไม่มีความรู้เลย กรุณาแนะนำด้วยครับ

เรียน น้องนัท

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม ภาคกลางคงไม่นิยมใช้ ถ้ามีคนอีสานในพื้นที่เขาอาจพาร้องได้

เรียน คุณหมอรุ่ง

ผมก็พึ่งพาคุณหมออนามัยในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนเช่นกันครับ

คนบ้านนอกด้วยกันทราบดี คุณหมอติดดินมีวิธีการดีๆ อะไรเกี่ยวกับ 6 อ.ก็ช่วยแนะนำด้วยครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมชม

เรียน คุณมนัสนันท์ ขอบคุณที่มาตอบบทกลอนที่เขียนแสดงความคิดเห็น ที่จริงกลอนพาไปไม่ได้คิดอะไรมาก อ่านสรุปประเด็นได้ก็ตอบไปเล่นๆ เท่านั้น ไม่มีคนให้รัก ไม่มีช้อยส์ให้เลือกหรอกค่ะ

  • แหม..ท่าน ผอ.ช่างค้น ช่างคว้า ช่างหา ช่างคิดได้ดีจริงๆ
  • ติดตาม ผอ.มานี่ สาระหลากหลายเสียจริงๆ
  • ขอชื่นชม ด้วยความจริงใจครับ
  • เรียน  ผอ.พรชัย
  • มาชื่นชม  บทกลอนดีมีสาระ
    ปลูกฝัง  เสริมสร้าง ให้เด็กซึมซับวิธีการดูแลตนเอง
    ในเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างดี
  • ขอบพระคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • แวะอ่านบันทึกบทสรภัญ มีสาระ ได้ข้อคิดดี ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
  • อาหารพื้นถิ่น...ชวนกินเพื่อสุขภาพ มีความสุขกันทั้งโรงเรียนเลย
  • ขอบคุณผู้แต่งกลอนบทนี้
  • ขอบคุณอาจารย์ผู้บันทึกเรื่องราวดี ๆ ให้สังคมได้รับรู้กันถ้วนหน้า
  • แวะมาอ่าน บทสรภัญ
  • ภูมิปัญญาชาวอีสาน

Dsc03661

สวัสดีค่ะ

เรียนคุณสามสัก

ขอบคุณที่มาให้กำลังใจครับ ที่จริงผมประทับใจในความมุ่งมั่นของครูและเขามีวิธีสอนที่โดนใจผม

ยังมีบทกลอนเกี่ยวกับโรคอ้อนอีกนะครับ ถ้าเป็นประโยชน์ขอยกความดีให้กับคนต้นเรื่องครับ

เรียน คุณธรรมทิพย์

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมชม บทกลอนมีประโยชน์กับการเรียนการสอน ถ้าครูนำไปใช้

เรียน คุณบุษรา

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อบายมุข อโรคยา คือการสร้างสุขภาวะ

เรียน คุณเกด เกศนี

ขอบคุณที่มอบช่อดอกกล้วยไม้ ขอให้ดอกแห่งน้ำใจจงเบ่งบานในใจคุณเกดตลอดไป

ที่สำคัญให้สวย สดชื่นเหมือนดอกไม้ อย่าได้ร่วงโรย

สวัสดีค่ะท่านผอ.เด็กๆน่ารักจังเลยนะคะ พวกเขาคงมีความสุขมาก

                     การใช้วัฒนธรรมมาจัดการเรียนรู้ให้เด็กน้อยในยุคนี้...

                     ดิฉันคิดว่าพวกเขามีบุญคุณครูได้บุญที่ได้สืบมรดกภูมิปัญญา

                     ของบรรพชนไว้          

                                     "พี่น้องเอ้ยอันว่าคนดีนี่บ่ดีมาแต่มื้อเกิด

                             เฮียนนำพ่อ...ก่อนำครู...จังได้...ดีให้ตืมกัน."

                                                                  ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครู

หนูมาเยี่ยมคุณครูอีกครั้งค่ะ  หนูขึ้นบันทึกใหม่แล้วค่ะ วันละ ๒-๓ บันทึก

แต่ไม่มีเวลาตอบหรือไปเยี่ยมใคร ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยม ชื่นชม บทกลอนกับภูมิปัญญาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  แวะมาท้าแข่งสรภัญ  กับ  ท่านอ้าย  ผอ.

              

ท่าน ผอหายไปไหนคะ สุไปเยี่ยมท่าน เหมือนท่านไม่อยู่  วันนี้เห็นมาทักทายคนอื่นเลยแวะตามเขามา  มาฟังบทสรภัญญกัน  นี่แหละคะภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ได้มีโอกาสแสดง และบรรยายสิ่งดีงามทั้งหลายออกมา  สุเคยได้ฟังที่เก่งนะคะ เพราะมาก น่าฟังด้วยคะ แล้วอย่าลืมไปเยี่ยมสุนะคะรู้สึกว่าสุ จะขึ้นบทใหม่ 3 บทแล้ว แต่ ผอ.หายเงียบไป ไม่ไปหาเลยคิดถึง ถึงได้มาสอดแนม แต่ไม่เห็นซักทีคะ

  • สวัสดีครับท่านผอ.
  • แวะมาทักทายครับ
  • โรงเรียนของท่านเปิดเรียนรึยัง
  • ขอบคุณครับ

 

 

มาชม

ตอนยังเป็นเด็กชอบฟังการร้องทำนองนี้ละ...

เรียน คุณครูจอมใจ

คุณครูแต่งกลอนอีสานเก่ง เน้นภูมิปัญญา เผื่อบางทีได้ขอแรง(ปัญญา)จะไปหาสมเด็จไม่ไกลหรอกนะ

จะบอกให้ ไปบัวขาวบ่อยๆ ขอบคุณที่มาทักทายครับ

เรียน น้องนัท คนขยัน(ครูคิมคงเผื่อแผ่ให้)

ครูติดตามงานเขียนของหนูเสมอครับ เขียนได้ดี เป็นนักเล่าตัวยง โตมาเป็นนักเขียนได้สบายครับ

เรียน คุณมีนา

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมชม ขอให้มีความสุขกับการอ่าน การเขียน การทำงานประสบความสำเร็จ

เรียนคุณครูวิไล

อ้ายยอมเจ้าอย่างเดียวคือเขียนกลอนผญานี่แหละ กับเฮ็ดนากะบ่เก่ง เพราะพ่อเฒ่ายังบ่แบ่งมูล เลย บ่ มีนา ซั่นแหลว

ข้าวงามคือสิขางเล้าเอ่นน้อหล่า คนงามแก้มแป่งแซ่ง

เรียน คุณสุ

ผมไปอบรมกลับมาวันนี้(27 ต.ค.) จะติดตามงานเขียนคุณสุ ขอบคุณที่ตามมาเยี่ยมครับ

เรียน นายก้ามกุ้ง

ขอบคุณที่ตามมาอ่านสรภัญญะ จะประชุมก่อนเปิดเรียน 30 ตุลาคม นี้ เปิด 2 พฤศจิกายน ครับ

เรียน ดร ยูมิ

เสน่ห์อีสานอย่างหนึ่งคือสรภัญญะ ซึ่งควบคู่กับผญา ที่อาจารย์คงคุ้นเคยเป็นอย่างดี ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม

จะติดตามงานเขียนอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท