บริหาร


Posted : 2009-10-22 00:53:08
 
สำหรับ SP 2 คอมฯต่อคน ไม่ใช่ 10:1 แต่เป็น 20:1
งบประมาณไม่ใช่ 59,000 ล้านบาท ตามที่สพฐ.ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์มติชน แต่มากกว่า 69,000 ล้านบาท(เรื่องที่ สพฐ. จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล สพท. ทั้ง 185 แห่ง ซึ่งมีผลเป็นรูปธรรมใน 5 ด้าน) ===============================
สรุปได้ตามด้านล่างครับ ร่วมทักท้วงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ เนื่องจากเอกสารที่ได้มามีหลายส่วนครับ (จากหน่วยงานราชการและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง)
=================================
สรุปโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 : SP2)
=================================
ปัญหาของ สพฐ.
1. ผลสัมฤทธิ์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อังกฤษต่ำ
2. ด้านคุณธรรมและสำนึกความเป็นไทย
3. คุณภาพชีวิตและการศึกษาของผู้เรียนในสามจังหวัด ภาคใต้ยังไม่ดีพอ
4. สถานศึกษาไม่ผ่านมาตรฐานการศึกษา
5. โรงเรียนขนาดเล็กขาดประสิทธิภาพ
6. ขาดครูและบุคลากรทางการศึกษา
7. การขาดแคลนอาคารเรียน อาคารประกอบ คอมพิวเตอร์
===================================
นิยาม
SP 1 (Stimulus Package) = โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
SP 2 (Stimulus Package) = แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 = แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2: 2553-2555
==================================
SP 2 มี 16 โครงการ คือ
1. เพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
2. ลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. พัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน
4. สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน
5. พัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในภูมิภาคอาเซียน
6. พัฒนาครูทั้งระบบ
7. ปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษา (จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา)
8. เพิ่มประสิทธิภาพของส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.)
9. พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย
10. จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐ
11. สนับสนุนโรงเรียนคู่ขนานศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด (ตาดีกา)
12. พัฒนาการเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย – มลายู)      13. รินน้ำใจสู่น้องชาวใต้
14. ทุนการศึกษาภูมิทายาท
15. โรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์)
16. ศูนย์ครูใต้
หมายเหตุ โครงการ (9 -16) เป็นโครงการการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้  (มี 5 จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา)

- ทั้งนี้ SP 2 ได้ออกเป็น “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พ.ศ. 2552” ลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 กันยายน 2552  ประกาศโดยนายกฯอภิสิทธิ์ วันที่ 18 สิงหาคม 2552
===================================

โครงการ 1 เพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

เป้าหมาย
ปี 2553 2,930 แห่ง
ปี 2554 2,430 แห่ง
ปี 2555 2,430 แห่ง

กิจกรรม
1. เสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียน
2. จ้างพนักงานธุรการ
3. เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้ครูและผู้บริหาร
4. จ้างอาสาสมัครชุมชนช่วยสอน
5. จัดคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย
6. จัดซื้อสื่ออิเลคทรอนิกส์
7. ตั้งเครือข่ายการบริหารจัดการคุณภาพ
8. เพิ่มศักยภาพศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา
9. กำกับ ติดตามและการประเมินคุณภาพ
10. วิจัยและพัฒนา
11. สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
===============================
โครงการ 2 ลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

เป้าหมาย
1. โรงเรียนที่จัดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 207 โรง
2. โรงเรียนแกนนำ 5,250 โรง
3. โรงเรียนร่วมพัฒนาคุณภาพ 26,364 โรง

กิจกรรม
1. พัฒนาห้องปฏิบัติการ
2. จัดจ้าง Lab boy
3. จัดจ้างผู้มีศักยภาพสูง
4. จัดหาสื่อ ICT
5. ประเมินศักยภาพครู
6. พัฒนาครู
7. จัดค่ายนักเรียนและประกวดแข่งขัน
8. ประเมินศักยภาพครูวิทย์ คณิต ทุกคน
9. พัฒนาครูวิทย์ คณิตตามระดับศักยภาพ

ที่มา:ครูไทยดอทอินโฟ

คำสำคัญ (Tags): #สอบผู้บริหาร
หมายเลขบันทึก: 307787เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ข้อสอบถาม-ตอบ ชุดที่ 1และ 2 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับ 2 2545

ข้อสอบถาม-ตอบ ชุดที่ 1และ 2 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับ 2 2545

ข้อสอบถาม-ตอบ ชุดที่ 1 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

1. พรบ.นี้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด (บังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 20 สิงหาคม 2542)

2. การศึกษาหมายถึง (กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม ...........ให้บุคคลได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต)

3. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า (การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา)

4. การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า (การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย พัฒนาคุณภาพชีวิต

5. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า (ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ฯ)

6. ผู้สอน หมายความว่า (ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ )

7. ครู หมายความว่า (บุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

8. หมวด 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 ว่าอย่างไร (การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นที่มนุษย์ที่สมบูรณ์ฯ)

9. หมวด 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 8 ว่าอย่างไร (การจัดการศึกษายึดหลักการ 3 หลัก คือ ตลอดชีวิต มีส่วนร่วม พัฒนาสาระและกระบวนการต่อเนื่อง

10. หมวด 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 9 ว่าอย่างไร (การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ยึดหลัก 6 ข้อ เอกภาพด้านนโยบาย / กระจายอำนาจ / กำหนดมาตรฐาน การประกันคุณภาพ / ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู ระดมทรัพยากร / การมีส่วนร่วม)

11. ข้อใดกล่าวถูกต้อง สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 (บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย)

12. หมวด 3 มาตรา 15 การจัดการศึกษามีกี่รูปแบบ (3 รูปแบบ คือ ในระบบ(แน่นอน) นอกระบบ(ยึดหยุ่น) และตามอัธยาศัย(ตามความสนใจ ต้องการศักยภาพ)

13. มาตรา 16 การศึกษาในระบบมีกี่ระดับ (2 ระดับเข้า ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน(ไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนอุดมฯ) และการศึกษาระดับอุดมศึกษา(ต่ำกว่าปริญญาและปริญญา))

14. การศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี จัดอย่างไร (ให้เด็กซึ่งมีอายุย่างปีที่ 7 เข้าเรียนจนถึงย่างปีที่ 16 เว้นแต่สอบได้ปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ)

15. หมวด 4 แนวการจัดการศึกษายึดหลักว่า (ม.22 ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด)

16. มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ อัธยาศัย ต้องเน้น (ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ บูรณาการตามความเหมาะสม)

17. มาตรา 26 การประเมินผู้เรียนพิจารณาจาก (พัฒนาการ ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรม การร่วมกิจกรรม การทดสอบความรู้ควบคู่การเรียน)

18. มาตรา 27 ว่าด้วยเรื่อง (กพฐ.จัดทำหลักสูตรแกนกลาง สถานศึกษา จัดทำสาระของหลักสูตร)

19. มาตรา 30 (สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม)

20. มาตรา 36 (ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล)

21. มาตรา 41 (อปท.มีสิทธิ์จัดการศึกษาทุกรูปแบบทุกระบบ)

22. มาตรา 44 (ให้สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการ คือ ผู้แทนครู / ผู้ปกครอง / ชุมชน / ศิษย์เก่า / ผู้ทรงคุณวุฒิ / ผู้รับใบอนุญาต / ผู้บริหาร

23. มาตรา 45 (ให้สถานศึกษาเอกชน จัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกรูปแบบ)

24. หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 (ให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก)

25. หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 48 (ให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในและถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา)

26. มาตรา 49 (ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (ส.ม.ศ.) มีฐานะเป็น องค์การมหาชน)

27. มาตรา 51 กรณีผลการประเมินภายนอกไม่ผ่าน (ให้สมศ.รายงานหน่วยงานต้นสังกัด เสนอให้แก้ไขถ้าไม่แก้เสนอ กพฐ./กอศ/กอ)

28. หมวด 7 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 45 (ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู)

29. หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มาตรา 58 (ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ใช้จัดการศึกษา)

30. มาตรา 60 (ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา เช่น จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล กองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ)

31. หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 69 หน่วยงานทำหน้าที่ประเมินผลการใช้เทคโนโลยี (สำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ)

32. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 มีกี่หมวดกี่มาตรา (9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล)

33. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ประกาศใช้และบังคับวันใด (ประกาศ 19 สิงหาคม 2542 บังคับใช้ 20 สิงหาคม 2542)

34. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ (นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี)

35. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ผู้รักษาการ คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

ข้อสอบถาม-ตอบ ชุดที่ 2 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545

1. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ประกาศและบังคับใช้วันใด (ประกาศ 19 ธันวาคม 2545 บังคับใช้ 20 ธันวาคม 2545)

2. สภาการศึกษามีกี่คน (59 คน เป็นนิติบุคคล)

3. มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาให้ยึดอะไร (เขตพื้นที่การศึกษา เว้นแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายอาชีวศึกษา)

4. มาตรา 38 (ในแต่ละเขตพื้นที่ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล ตั้ง ยุบ รวม เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน)

5. คณะกรรมการเขตพื้นที่ประกอบด้วย (3 สมาคม (สมาคมครู,บริหารการศึกษา,ผู้ปกครองและครู) 3 ผู้แทนองค์กร(องค์กรชุมชน , เอกชน ,อปท.) 4 ผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษา , ศาสนา , ศิลปะ ,วัฒนธรรม)

6. มาตรา 39 (ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง)

7. มาตรา 40 (คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 9/15 คน ตามจำนวนนักเรียน ประกอบด้วยผู้แทน ครู / ผู้ปกครอง / ชุมชน / อปท. / ศิษย์เก่า / พระสงฆ์(1/2) / ผู้ทรงคุณวุฒิ (1/6))

8. มาตรา 51 ผลการประเมินภายนอกไม่ผ่าน สมศ.รายงานหน่วยงานต้นสังกัดให้แก้ไข หากไม่แก้ไขรายงานต่อ กพฐ/กอศ/กอ

9. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี)

10. มีการยกเลิกกี่มาตรา (ให้ยกเลิก จำนวน 13 มาตรา ของพรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้แก่ มาตรา 4 , 5 , 31 , 32 , 33 , 34 ,37,38,39,40,45,51,74 )

แถมข่าวพลวัต

นาย ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากผู้แทนวธ.ของไทยเข้าร่วมประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 องค์การ การศึกษา วิทยา ศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทางคณะกรรมการฝ่ายพิจาร ณาบุคคลสำคัญและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก มีมติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลสำคัญและเหตุการณ์ฯ ของโลก รวม 63 ท่าน/แห่ง ในวาระครบรอบ 50 ปี 100 ปี 150 ปี 200 ปี และมากกว่านั้น ประจำปี พ.ศ. 2553-2554 โดยมีบุคคลสำคัญของไทย 2 ท่าน ตามที่วธ.เสนอ ได้แก่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ.2528 ยกย่อง 4 สาขา การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล

นายธีระ กล่าวอีกว่า ยูเนสโกยังได้ยกย่องบุคคลสำคัญของโลกอีก อาทิ คุณแม่เทเรซา หรือชื่อเดิม “แอ็กเนส กอนจา โบยาจู” เสนอโดยอินเดีย เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง นักประพันธ์เพลงชาวโปแลนด์ เสนอโดยโปแลนด์ ฟรานซิส เบคอน นักเขียนและนักปรัชญาชาวอังกฤษ เสนอโดยสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ ไฮน์ริช ฟอน ไคลสท์ นักเขียนชาวเยอรมัน อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน และมีสถานที่ ทา ลอง ฮานอย ของเวียดนามรวมอยู่ด้วยฉลองครบรอบ 1,000 ปี

รมว.วัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า การเฉลิมฉลองครูเอื้อ สุนทรสนาน รัฐบาลร่วมกับมูลนิธิสุนทราภรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานภาคอื่นๆ ร่วมกันจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี 2553 อาทิ การแสดงคอนเสิร์ตพิเศษ บรรเลงโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ในประเทศไทย อเมริกา จีน และลาว ติดป้ายชื่อถนนครูเอื้อ ที่อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และบริษัทไปรษณีย์ไทยได้จัดจำหน่ายดวงตราไปรษณีย์ยากรรูปครูเอื้อ และจัดทำอัลบั้มพิเศษย่อขนาดเอกสารชุดที่ยื่นเสนอต่อยูเนสโกเป็นต้น

“ส่วนของการเฉลิมฉลอง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รัฐบาลร่วมกับมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวธ. หน่วยงานอื่นๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีชาต กาล 2554 ตลอดทั้งปี อาทิ นิทรรศการเคลื่อนที่ชีวิตและผลงานของท่านไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จัดแสดงละครสี่แผ่น ดินจากบทประพันธ์ของท่าน และจัดการแสดงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ในความสนใจของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อีกด้วย” รมว.วัฒนธรรม กล่าว

สรุป พรบ.ลูกเสือ พ.ศ.2551

สรุปสาระ พระราชบัญญัติลูกเสือฉบับใหม่ (พ.ศ.2551 )

ร่างพระราชบัญญัติลูกเสือพ.ศ.ได้ ผ่านการพิจารณาวาระ2และ3 จากที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2550 เวลา 20.00น โดยมีการขอแก้ไขเล็กน้อยในมาตรามาตรา17(12)และมาตรา38(8)โดยแก้ข้อความทั้ง 2มาตราจากเดิม “

กำกับดูแลกิจการลูกเสือชาวบ้าน “ มา เป็น “ กำกับดูแลสนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้าน”

พระราชบัญญัติลูกเสือฉบับใหม่นี้จะได้นำเสนอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้ต่อไป คาดว่าคง มีผลบังคับใช้ได้ต้นปี2551

เหตุผลที่ต้องออกกฎหมาย

1. กฎหมายลูกเสือได้เริ่มพัฒนาจากการออกเป็นข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ ไทยฉบับแรกเมื่อ1 ก.ค. 2454 หรือ 96ปีมา แล้ว ต่อมาได้ออกเป็นพระราชบัญญัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และได้ปรับปรุงอีก 3ครั้ง หลังจากการปฎิรูประบบราชการในปี2546 ทำให้กฎหมายลูกเสือไม่สอดคล้อง กับสถานการณ์ที่ได้เปลี่ยนไปหลายประการ

2. กฎหมายฉบับใหม่ ต้องการปรับการบริหารงานของลูกเสือ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการที่ใช้มาเมื่อ7กรกฎาคม2546 ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเดิมเป็นอธิบดีกรม พลศึกษา ต้องเปลี่ยนมาเป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากได้โอนงานกองลูกเสือเดิม และงานสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติที่เคยอยู่ที่กรมพลศึกษา มาอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

3. ต้องปรับการบริหารของคณะกรรมการลูกเสืออำเภอ ให้เป็นคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษาแทน เพื่อให้เป็นไปตามระบบกระจายอำนาจใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ

4 เพิ่ม สาระที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้สอดคล้องกับสภาพจริง

ประโยชน์ของการออก พ.ร.บ. นี้

ช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของ กระบวนการลูกเสือที่ต้องการสร้างพลเมืองดี ให้เป็นไปตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 และ

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือไทย รวมทั้งได้ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ด้วย

สาระของพ.ร.บ.ลูกเสือฉบับใหม่

ประกอบด้วย 6 หมวด 74 มาตรา ได้แก่หลักการและนิยาม มาตรา 1 - 5 หมวด 1บททั่วไป มาตรา 6 – 10 หมวด 2 การปกครอง ส่วนที่ 1 สภาลูกเสือไทย มาตรา 11 – 14 ส่วนที่ 2 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มาตรา 15 – 27 ส่วนที่ 3 ลูกเสือจังหวัดมาตรา 28 – 34 ส่วนที่ 4 ลูกเสือเขตพื้นที่มาตรา35 – 39 ส่วนที่5 ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มาตรา 40 – 42 หมวด 3 การจัดกลุ่ม ประเภท และตำแหน่งของลูกเสือมาตรา 43 – 49 หมวด 4 ธง เครื่องแบบ และการแต่งกายมาตรา 50 – 52หมวด 5 เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติมาตรา 53 – 68 หมวด 6 บทกำหนดโทษมาตรา 69 – 70 และบทเฉพาะกาล มาตรา 71 – 74 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่

1) เพิ่มคำนิยามลูกเสือ และบุคลากรทางการลูกเสือให้ชัดเจนขึ้น และได้รวมกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ด้วย

2) ปรับชื่อสภาลูกเสือแห่งชาติ เป็นสภาลูกเสือไทย เพื่อให้เป็นชื่อสากลที่ประเทศสมาชิกทั่วโลกจะระบุชื่อ ของประเทศไว้ด้วย และได้ปรับ องค์ประกอบของสภาลูกเสือไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการไปตาม การปฏิรูประบบราชการเมื่อปี2546 เช่น ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จากอธิบดีกรมพลศึกษามาเป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปรับชื่อตำแหน่งของ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เ ลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้เปลี่ยนชื่อและภารกิจใหม่แล้ว และปรับให้มีหน่วยงานใหม่เพิ่มเข้ามาได้แก่ได้แก่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม ความมั่นคง และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

3. ปรับองค์ประกอบคณะกรรมการลูกเสือระดับจังหวัด เป็น ซึ่งต้องใช้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต1 เข้าไปแทนศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งปัจจุบันไม่มีตำแหน่งนี้

4. ต้องปรับการบริหารลูกเสืออำเภอที่มีอยู่เดิมโดยใช้เขตพื้นที่การศึกษาแทน ทำ ให้ต้อง ปรับองค์ประกอบคณะกรรมการและภารกิจของการบริหารลูกเสืออำเภอ มาเป็นการบริหารลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

5. เดิมคณะลูกเสือแห่งชาติเป็นนิติบุคคล ทำให้สถานะของสำนักงานไม่ชัดเจน เนื่องจากในกฎหมายเดิมระบุว่าคณะลูกเสือแห่งชาติประกอบด้วยลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ และกรรมการเจ้าหน้าที่ลูกเสือ และระบุให้มีให้มีสำนักคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยบริหาร จึงได้ปรับให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติซึ่งมีหน่วยงานนี้อยู่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งยังคงอยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ตั้งหน่วยงานใหม่ ไม่เพิ่มงบประมาณ

6. เพิ่มระบบการตรวจสอบและการจัดทำบัญชี เพื่อเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

7. กำหนดให้รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่งมาเป็นตำแหน่งเลขาธิการลูกเสือ โดยไม่มีเงินเดือน

8. การบริหารค่ายเป็นไปตามหลักการบริหารแนวใหม่ มอบให้ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด) กำกับดูแล และ

9. ให้โอนทรัพย์สิน จากคณะลูกเสือแห่งชาติ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

ตัวอย่างข้อสอบ

1. วันประกาศและวันบังคับใช้

ตอบ ประกาศ 4 มีนาคม 2551 บังคับใช้ 5 มีนาคม 2551

2. บุคลากรทางการลูกเสือ หมายถึงใคร

ตอบ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลุกเสือ

3. ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติคือ

ตอบ พระมหากษัตริย์

4. สภาลูกเสือไทย ใครดำรงตำแหน่งสภานายกและอุปนายก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 80 คน

ตอบ นายรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ

5. คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ใครเป็นประธานกรรมการ

ตอบ รมต.ศธ. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 15 คน

6. ใครดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ตอบ รองปลัดกระทรวง

7. ประธานคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดคือใคร

ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

8. สำนักงานลูกเสือจังหวัดตั้งอยู่ที่ใด ใครเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ และกรรมการและเลขานุการฯ

ตอบ สพท.เขต 1 มี ผอ.เขตเป็นผู้อำนวยการสำนักฯ มีรองผอ.เขต เป็นกรรมการและเลขานุการ

9. ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือสูงสุดและท้ายสุดคือ

ตอบ ผู้อำนวยการใหญ่ และ รองนายหมู่ลูกเสือ

10. ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือสูงสุดและท้ายสุด คือ

ตอบ ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ และรองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

11. ผู้ที่จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ ต้อง ลักษระเด่นของเหรียญ

ตอบ ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี , เป็นดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปไข่ พื้นลงยาสีน้ำเงิน ขนาดกว้าง 2.5 ซม. ยาว 3.3 ซม. เบื้องบนมีพระมหามงกุฎรัศมีโปร่งและเลข "9" สีทอง ด้านหลังกลางดวงตราเป็นดุม พื้นลงยาสีม่วง มีอักษรด้านล่างสีน้ำเงินว่า เราจะบำรุงกิจการลูกเสือสืบไป

12. เหรียญลูกเสือสรรเสริญ มีลักษณะ

ตอบ เป็นเหรียญเงินมีลักษณะกลมรี ขนาดกว้าง 2.5 ซม. ยาว 3.2 ซม.ริมขอบบนมีอักษรว่า "ลูกเสือ" ริมขอบล่างมีอักษรว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" มี 3 ชั้น ชั้นหนึ่งมีเฟลอร์เดอลีส์ 2 ดอก ชั้นสองมีเฟลอร์เดอลีส์ 1 ดอก ชั้นสามมีเฟลอร์เดอลีส์ ประดับที่แถบแพร

- ชั้น 1 ชั้น 2 ต้องทำความดีทุกอย่างรวมกันไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง แต่ละอย่างไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง

- ชั้น 3 ช่วยชีวิตผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียวก็ได้

13. เหรียญลูกเสือสดุดี มีกี่ชั้น

ตอบ 3 ชั้น ชั้น 1 มีเข็มวชิระ ชั้น 2 มีเข็มหน้าเสือ ชั้น 3 ไม่มีเข็มวชิระและเข็มหน้าเสือ

14. เหรียญลูกเสือยั่งยืนต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องกี่ปี

ตอบ ไม่น้อยกว่า 15 ปี

15. เข็มลูกเสือสมนาคุณมีกี่ชั้น

ตอบ 4 ชั้น พิเศษ , ที่หนึ่ง , ที่สอง , ที่สาม

16. โทษของการแต่งเครื่องแบบลูกเสือโดยไม่มีสิทธิ

ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

17. ผู้ปลอมเข็มลูกเสือสมนาคุณหรือเข็มลูกเสือสมณาคุณ มีความผิด

ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

18. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือใคร

ตอบ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

แถมท้ายพลวัต วันที่ 22 ตุลาคม 2552

น้องวิวพงศ์ชนก กันกลับ นางสาวไทย 2009 เลือกอะไรระหว่าง นางสาวไทยกับเทคอนโด

ตอบ เลือกนางสาวไทย ไม่ได้แข่งรำเทคอนโด แต่จะไปเป็นกำลังให้เพื่อน

พายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่จะเข้าถล่มฟิลิปปินส์ชื่อว่าอะไร

ตอบ ลูปิค

21 ตุลาคม 2552 ครบรอบวันพระราชสมภพสมเด็จย่าได้กี่ปี

ตอบ 109 ปี

23 ตุลาคม 2552 ครบรอบวันเกิดอายุสมเด็จ ร.5 ได้กี่ปี

ตอบ 99 ปี

การประชุมสุดยอดอาเซี่ยนครั้งที่ 15 ลงนามกันกี่ฉบับ

ตอบ 16 ฉบับ

ประเทศใดบ้างที่เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนของตนเองแล้ว

ตอบ 3 คือ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส(แบบสมัครใจ)

อเสนอ(พ.ศ. 2552-2561) โดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

----------------------------------------------------------------

(ถ้านำตามปี พ.ศ. เราจะนับได้ 10 ปี แต่จริงๆ สภาการศึกษาจะนับการปฏิรูปฯเป็นระยะ "9 ปี" นะครับ การปฏิรูปรอบแรก คือ 2542-2551 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ประกาศใช้ ส่วนรอบสองนี่ น่าจะเริ่มนับวันที่มีข้อเสนอฯรอบสองนี้กระมัง แต่ยังไงก็รอดูระเบียบสำนักฯ ก่อนดีกว่าครับ)

----------------------------------------------------------------

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2552

-----------------------------------------------------------------

คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี 20 คน ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธาน รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางสุเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ

---------------------------------------------------------------

วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

----------------------------------------------------------------

ประเด็นหลัก 3 ประการปฏิรูปฯ

1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย

2. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

------------------------------------------------

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (จะมองที่ “คุณภาพ”)

1. พัฒนาคุณภาพ “คนไทย” ยุคใหม่

2. พัฒนาคุณภาพ “ครู” ยุคใหม่

3. พัฒนาคุณภาพ “สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้” ยุคใหม่

4. พัฒนาคุณภาพ “การบริหารจัดการ” ใหม่

-------------------------------------------------

ข้อเสนอกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุง

1. การพัฒนาระบบการเงิน การคลัง

2. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

3. การปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง

---------------------------------------------

ข้อเสนอเร่งด่วนภายใน 1-3 เดือน

1. มีคณะกรรมการต่อไปนี้ ทำงานใน 5 ปี และยุบเลิกเมื่อครบ 5 ปี คือ

1.1 คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา: นายกฯเป็นประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ

1.2 คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา: รมต.กระทรวงศึกษาฯ ประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ

2. จัดตั้ง

2.1 สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ

2.2 กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

2.3 สถาบันคุรุสภาแห่งชาติ

2.4 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ

3. เร่งทบทวนระบบบริหารโดยองค์คณะบุคคล 3 เรื่อง คือ วิธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่

----------------------------------------------

ประเด็นน่ารู้ในข้อเสนอฯ

+ การบริหารจัดการการเงินและงบประมาณโดยเน้นอุปสงค์หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียกว่า Demand Side

+ การฝึกอบรมผู้ฝึกอบรม เรียกว่า Training the Trainers

+ ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เรียกว่า Performance-Based Budgeting หรือ PBB

+ เรื่องที่ สพฐ.รับผิดชอบในกลไกเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ คือ“ประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน” โดยประเมินผลผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น เป็นการวัดผลระดับชาติ

+ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เรียกว่า “Nation Qualification Framework”

+ คุณวุฒิวิชาชีพ เรียกว่า “Vocational Qualification”

+ สพท. ปรับและพัฒนา “ยุทธศาสตร์เชิงวิชาการ” คือ ลดภาระงานเชิงธุรการและการสั่งการ แต่เน้นการให้คำปรึกษา ส่งเสริมสถานศึกษาในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งขึ้น สร้างกลไกป้องกันการเข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่ชอบธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท